พระปวโรฬารวิทยา ( ป๋อ เชิดชื่อ )

พระปวโรฬารวิทยา ( ป๋อ เชิดชื่อ ) เกิดเมื่อ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2439 เป็นบุตร นายหงิมและนางกลีบ เชิดชื่อ เกิดที่บ้านตำบลสะพานดำรงสถิตย์ ( สะพานเหล็กบน ) อำเภอจักรวรรดิ์ จังหวัดพระนคร ครั้งแรก พระปวโรฬารวิทยา ได้ สมรสกับคุณถนอม ควรแสวง แต่ไม่มีบุตรกัน ต่อมา พ.ศ. 2483 คุณถนอม ได้ถึงแก่กรรมลง จึงได้สมรถกับคุณแถว ขำเสถียร มีบุตร 3 คน คือ
1 เด็กชายปุ๊ ปวโรฬารวิทยา 2 เด็กหญิงปิยวดี ปวโรฬารวิทยาี 3 เด็กชายโป๊ะ ปวโรฬารวิทยา

ความรู้็เดิม
พ.ศ. 2455 สอบไล่ได้ชั้นมัธยมสูง ( มัธยมแปด ) จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2456 สอบชิงทุนเป็นนักเรียนสอนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ( นับเป็นการเข้ารับราชการ )
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 สอบชิงทุนกระทรวงธรรมการได้ไปศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ ในมหาวิทยาลัย บริสตอล
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ได้รับปริญญาบัตร บี.เอส.ซี
วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2463 ได้เป็นอาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ได้รับหน้าที่เป็นผู้รั้งตำแหน่งอาจารย์ใหญ๋โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ได้เป็นอาจารย์ใหญ๋โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เข้ารับราชการในกรมสามัญศึกษา
วันที่ 1พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 เป็นอาจารยใหญ่์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ได้เป็นพนักงานครวจการศึกษาแขวงมัธยม
วันที่ 1 พฤศภาคม พ.ศ. 2476 ได้ออกจากราชการ เมื่อออกจากราชการแล้วได้ไปเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและเป็นเจ้าคณะ เรียกว่า คณะปวโรฬารวิทยา ปัจจุบันเรียกว่า คณะเด็กเล็ก ประจำอยู่ 3 ปีก็ลาออก และได้ไปทำการสอนโรงเรียนต่างๆ ในวิชาคำนวนและวิทยาศาสตร์ เช่น โรงเรียนราชินีบน, โรงเรียนราชินี, โรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนวัดราชาธิวาส ฯลฯ

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2482 - 2508 เป็น อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนอำนวยศิลปทั้งพระนครและธนบุรีมีอาจารย์จิตร ทังสบุตร เป็นเจ้าของและผู้จัดการ

พ.ศ.2489 ได้ตั้งโรงเรียนอนุบาลการกุศลขึ้นชื่อว่า โรงเรียนปวโรฬารวิทบา เลข ที่ 878 ถนนพระรามสี่ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีแนวการสอนให้นักเรียนสนุกและเข้าถึงศาสนาพุทธ เช่น นักเรียนสามารถอาราธนาศีลและถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์

ยศ

เป็นผู้กำกับตรี กองลูกเสือที่ 60
เป็นรองผู้ตรวจการลูกเสือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

บรรดาศักดิ์

ครั้งที่ 1 เป็นหลวงปวโรฬารวิทยา เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2464
ครั้งที่ 2 เป็นพระปวโรฬารวิทยา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472

ราชอิสสริยาภรณ์

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 ได้เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ได้ จตุรถาภรณ์มงกุฏสยาม
วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ได้ จตุถาภรณ์ช้างเผือก

พระปวโรฬารวิทยา มีโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูง ตั้งแต่อยู่ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุมากเข้าบางครั้งมีอาการแน่นในท้องมากจนต้องใช้ยานอนหลับ ต่อมา พ.ศ.2495 เส้นโลหิตแตกเป็นอัมพาสและได้รักษาจนหาย ต่อมาปี 2498 รุ้สึกชาและอ่อนแอลงมาก ครั้นถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2499 เดินเล่นไปรอบไบ้าน เวลาประมาณ 19.00 น.ก็มีอาการพูดไม่ได้ จนต้องเข้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เวลาประมาณ 20.00 น.และคุณหลวงประกิตฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้รีบมาดู แต่เนื่องจากเส้นโลหิตใหญ่ในสมองแตก จึงสุดความสามารถของนายแพทย์ที่จะช่วยไว้ได้ คุณพระปวโรฬารวิทยา จึงถึงแก่กรรมเมื่อเวลา 1.15 น. ของวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2499 ด้วยอาการสงบ คำนวนอายุได้ 59 ปี 11 เดือน กับ 5 วัน

ได้พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกฏกษัตริยาราม เมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2499

----------------------------------------------------------------------------------

 

แหล่งที่มา หนังสือพระราชทานเพลิงศพ พระปวโรฬารวิทยา