บันทึกการจัดการสถานศึกษาและประเมินคุณภาพภายใน พ.ศ. ๒๕๔๙ 
โรงเรียนสัมมาชีวศิลป

๗๔๔   ถนนพญาไท  แขวงถนนเพชรบุรี   เขตราชเทวี  กรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร เขต ๑
 ******** โดย นายมนัส ศรีเพ็ญ    ผู้จัดการโรงเรียนฯ  ******


สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
.๑ ชื่อ ที่ตั้ง สังกัด

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔๔ ซอยพญานาค ถนนพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนเอกชน สามัญศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พื้นที่เขต ๑ กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๙๔ ตามปรากฏใบอนุญาตการจัดตั้งเลขที่ ๔๘
/๘๔๙๔ ทั้งนี้ โรงเรียนสัมมาชีวศิลป เป็นโรงเรียนแห่งหนึ่งใน สองโรงเรียน ซึ่งจัดตั้งตามวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งหากเลิกกิจการทรัพย์สินทั้งหมดจะยกให้กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้รับการประกาศจากกระทรวงการคลัง ให้เป็นมูลนิธิทางการกุศลสาธารณะที่ผู้บริจาคจะได้รับการยกเว้นภาษี  โรงเรียนสัมมาชีวศิลปจึงบริหารในรูปแบบโรงเรียนการกุศลไม่มุ่งหากำไรทางธุรกิจเป็นสำคัญ
.๒ ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๙
จำนวนนักเรียนปฐมวัย           ชาย  ๓๙  คน   หญิง ๔๐  คน  รวม  ๗๙   คน
นักเรียนประถมปีที่ ๑ ถึง ปีที่ ๖  ชาย  ๑๐๐  คน   หญิง  ๗๙  คน   รวม ๑๗๙  คน
รวมนักเรียนทั้งหมดจำนวน  ๒๕๘  คน

หลักสูตรที่เปิดทำการสอน
โรงเรียนจัดการเรียนการสอน เน้นความสำคัญทางด้านศีลธรรมและจริยธรรม โดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา ๒ ระดับ ดังนี้
. ระดับก่อนประถมศึกษา(ปฐมวัย)
ใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔  จัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนครบทั้ง ๕ ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา
. ระดับประถมศึกษา
ใช้หลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช ๒๕๔๖ ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ จัดการสอนโดยมุ่งเน้นสอนภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และจริยธรรมเป็นพิเศษ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มุ่งเด็กนักเรียนเป็นสำคัญ คือเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ใฝ่ ศีลธรรม

หลักสูตรเพิ่มเติมจากปกติ
คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษจากสถาบันการศึกษาพิเศษจากภายนอก ๑๖ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา โดยจัดสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย(อนุบาล ๓ ) ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๖
.๓ ข้อมูลครู/บุคลากร
ปัจจุบัน นายสารวิบุล รามโกมุท ประธานอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน         นายมนัส ศรีเพ็ญ เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้จัดการโรงเรียน   นางชลอ  รอดปัญญา เป็นครูใหญ่ มีหัวหน้าบริหาร ๕ ฝ่าย ครูประจำชั้น  ๑๒  คน ครูพิเศษและครูธุรการ, ครูพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่  ๑๑  คน
.๔ ข้อมูลทรัพยากร
. ขนาดพื้นที่โรงเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ใช้งานรวม ๘๓๖  ตารางเมตร โรงเรียนตั้งอยู่ภายในสำนักงานใหญ่สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ในพระสังฆราชูปถัมภ์
. อาคารเรียน/ ห้องเรียน/ห้องพิเศษ
มีอาคารเรียน ๒ หลัง เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นและอาคารตึก ๔ ชั้น มีทางเดินเชื่อมต่อถึงกัน ใช้เป็นห้องเรียน จำนวน ๑๓ ห้องและห้องบริหาร,กิจกรรมพิเศษ. ห้องเด็กเล็กก่อนวัยเรียน รวมแล้วมีห้องเรียนปฐมวัยและประถมศึกษาจำนวน ๑๗ ห้อง นอกจากนี้มีห้องประกอบการอื่นๆ ได้แก่
ห้องวิทยาศาสตร์.  ห้องสมุดและสื่อเทคโนโลยีการศึกษา.  ห้องเรียนคอมพิวเตอร์. ห้องธุรการและพัสดุ ห้องเรียนรวมเอนกประสงค์.  ห้องประชุม.  ห้องวิชาการและห้องพักครู ห้องพยาบาลและห้องพลศึกษา ห้องครูใหญ่ และห้องผู้จัดการและผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน
. อาคารสถานที่อื่น ๆ ได้แก่ อาคารแผนกปฐมวัย มีห้องเรียน  ๓ ห้อง ห้องเด็กเล็กก่อนวัยเรียน และห้องกิจกรรมเครื่องเล่น อาคารห้องประกอบอาหารและโรงอาหาร ฯลฯ
. งบประมาณ ปีการศึกษา ๒๕๔๙  
รายรับ
. งบอุดหนุนรายหัวจากรัฐบาล ๑,๐๘๘,๙๒๗.๕๓  บาท
. รายได้จากค่าธรรมเนียมการศึกษาและอื่นๆ   ๓,๔๙๔,๔๒๔.๗๙  บาท
. เงินยืมทดลองจ่ายและส่งเสริมสนับสนุนจากมูลนิธิ ฯ  ๗๐๐,๙๓๕  บาท( เนื่องจากรายได้ไม่พอรายจ่าย )
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   ๕,๒๘๔,๒๘๗.๓๒ บาท
รายจ่าย
. ค่าสาธารณูปโภค, สาธารณูปการ,ค่าปรับปรุงซ่อมแซม ๖๑๘,๙๙๗.๙๖  บาท
. ค่าบริการและพัฒนานักเรียน,พัฒนาบุคลากร,อุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้  ๑,๕๓๕,๗๐๙.๓๖  บาท
. เงินเดือน/ค่าจ้าง  ๒,๘๒๘,๖๔๕  บาท
๔. เงินยืมทดลองจ่ายจากมูลนิธิฯ ๓๐๐,๙๓๕ บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕,๒๘๔,๒๘๗.๓๒ บาท 

.๕ ข้อมูลชุมชน
โรงเรียนตั้งอยู่ในซอยพญานาค มีอาคารร้านค้า และบ้านเรือนหนาแน่น สถานที่ตั้งอยู่ใกล้โรงแรมเอเชียและสถานีรถไฟฟ้าประมาณ ๒๐๐ เมตร ลักษณะชุมชนโดยทั่วไป เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยตามถนนเพชรบุรีและริมฝั่งคลองแสนแสบ ( ชุมชนมุสลิมบ้านครัวเหนือ ) ตลาดกิ่งเพชร ประชาชนมีอาชีพ ค้าขาย, รับจ้างทำทอง ทอผ้าไหมและลูกจ้าง/รับจ้างทั่วๆไป นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ โรงเรียน
.๖ เกียรติรางวัล ที่ได้รับระหว่างปีพัฒนาการปฏิรูปการศึกษา มีดังนี้

. โล่เกียรติคุณ ตอบปัญหาธรรมะกับเยาวชน จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆปรินายก
เด็กหญิงอัมพิรา ใจเย็น ปี พ.. ๒๕๔๑ และ เด็กหญิงกอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ ปี พ.. ๒๕๔๒
. เกียรติบัตรโรงเรียนสีขาวเฉลิมพระเกียรติ ปลอดยาเสพติด จากกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.. ๒๕๔๒
. เกียรติบัตร การแข่งขันสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย จากกรมการศาสนา ปี พ..๒๕๔๓
. เกียรติบัตร การแข่งขันทักษะวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน   ปี พ.. ๒๕๔๔
. เกียรติบัตร เป็นผู้มีความประพฤติดีและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม จากกระทรวงศึกษาธิการ เด็กหญิงกอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ ปี พ..๒๕๔๒ ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เด็กหญิงอธิติภรณ์ รวดเร็ว และเด็กหญิงสิตาพร มังบุญมอบ             ปี พ.. ๒๕๔๔
. โล่รางวัล ส่งนักเรียนเข้าประกวดการแข่งขันอ่านฟังเสียง โครงการนครหลวงไทย อนุรักษ์เอกลักษณ์ไทย         ปี พ.. ๒๕๔๕
ซึ่งเด็กชายทนันท์ วิศิษฏ์สุขวัฒนา ได้รับรางวัลเกียรติบัตร รองชนะเลิศอันดับ ๑  ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 
 
. เกียรติบัตร การแข่งขันทักษะวิชาสามัญ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปี พ..๒๕๔๕
. โล่เกียรติคุณ สถานศึกษาเข้มแข็งปลอดยาเสพติดจากกรุงเทพมหานคร ปีพ..๒๕๔๖
. โล่รางวัล รองชนะเลิศอันดับ ๑ กลุ่มชมรมแม่บ้านสัมมา ในการแข่งขันแอโรบิกลูกทุ่งไทยต้านภัยยาเสพติด จากสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปี พ..๒๕๔๖
และอื่นๆ อีกหลายเกียติบัตรและโครงการห่วงใยความปลอดภัยถ้วนหน้า ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยแห่งชาติ
๑๐.  ด.ช.ณัฐภูมิ นิ่มเจริญ ชั้น ป.๖ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ๑-๑๒ ประกวดเรียงความโครงการ..คนดี..คิดดี..สังคมดี หัวข้อ คนดีมีอยู่ใกล้คุณ  เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม  ๑๗ สิงหาคม  ๒๕๔๘
๑๑. ได้รับเกียรติบัตรจากการประกวดภาพ  งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  คลอง ๕ เมื่อวันที่ ๑๐  สิงหาคม  ๒๕๔๙ ซึ่งมีนักเรียนที่ได้รับดังนี้        
    ๑. ด.ช.นราธิป     บุญเรือง                     ๒. ด.ญ.มารินา     วิจิตรตระการสม
    ๓. ด.ญ.สุกัญญา   ศิริวรรณสุนทร         ๔. ด.ญ.นัยรัตน์     อารีประยูรกิจ
    ๕. ด.ญ.บัณฑิตา   ดาวพราย                   ๖. ด.ช.ณัฐพล       วันเสาร์     

๑๒. วันที่     ๑๒  สิงหาคม  ๒๕๔๙  ด.ญ. ญานิกา     วิศิษฏ์สุขวัฒนา         และ ด.ญ. ลักษณาวดี     โกมลประเสริฐ            ได้รับรางวัล เงินสดคนละ ๕๐๐ บาทและโถแก้วเพ้นท์สี จากการวาดภาพวันแม่แห่งชาติ จากบริษัท เอบี ฟูดแอนด์ เบฟเวอร์เรจส์ (ประเทศไทย) จำกัด (เครื่องดื่มโอวัลติน)
๑๓. ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆปรินายก การเข้าสอบธรรมศึกษาชั้นตรี ปีการศึกษา๒๕๔๙ ดังนี้
     ๑.  ด.ช.นครินทร์          ประวีณเอกสิทธิ์       ๒.  ด.ช.ธนภัทร          สมธนกิจ
     ๓. ด.ช.อัครเทพ           เห็นสุข                      ๔.   ด.ช.สุทธิพร          สุทธิประภา
      ๔. ด.ช.พงศกร            ภูริผล                         ๖.  ด.ช.วรวุฒิ            ทองเรือนดี
      ๕. ด.ช.ธนวัฒน์         แสงก่ำ                         ๗. ด.ญ.บัณฑิตา       ดาวพราย
      ๘.  ด.ญ.อัฏฐพร     สิริกุดตา                           ๙.  ด.ญ. สุพัตรา
        แซ่ลิ้ม

๑๔. วันที่๑๗ พฤศจิกายน  ๒๕๔๙      ตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันการเต้นแอโรบิค ได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับ ๒ได้รับเกียรติบัตร จากโรงเรียนพระมหาไถ่ศึกษา ในงานวิชาการสืบสานภูมิปัญญาไทย
๑๕. ด.ญ.บัณฑิตา ดาวพราย ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นปี ๒๕๕๐ ระดับประถมศึกษา กลุ่มโรงเรียน สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จากนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๐
๑๖.ปีการศึกษา ๒๕๔๙     นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 
“ชวนน้องอ่าน” กับ บริษัท เดอะพิซซ่า คอมพันนี จำกัด ได้รับเกียรติบัตรอ่านครบ  ๑๖ ครั้ง จำนวน๔๕ คน
๑๗.  ด.ญ.อนุตรา วัชรปรียากร ชั้น ป.๖ ได้รับรางวัลชมเชยประกวดเรียงความวันป้องกันโรงพิษสุนัขบ้าโลกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

             จึงสรุปได้ว่าโรงเรียนได้ให้ความสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาภายสถานศึกษา และเปิดโลกกว้างการเรียนรู้จากภายนอกเป็นอย่างดีตั้งแต่ดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนมาตั้งแต่ ปี พ.. ๒๕๓๙

ข้อมูลที่มาของการประเมินคุณภาพของโรงเรียน
โรงเรียนสัมมาชีวศิลป เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เปิดสอนสอน เน้นความสำคัญทางศีลธรรมและจริยธรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาและคำสอนในศาสนาที่ นักเรียนนับถือ เพราะเชื่อว่า หากนักเรียนมีศีลในการปฎิบัติตน จะเป็นคนมีสมาธิและสร้างปัญญาเพื่อสร้างอาชีพ ได้ตามปรัชญาของโรงเรียนที่ว่า มีศีลธรรม นำปัญญา เกื้ออาชีพ โดยยึดวิชาแกนสามัญศึกษาตามหลักสูตกระทรวงศึกษาธิการ มาตั้งแต่ปี พ.. ๒๔๙๔ ได้ดำเนินงานบริหารจัดการตามกรอบยุทธศาสตร์(แผนพัฒนาโรงเรียนเพื่อปฏิรูปบุคลากร, การศึกษาและอาคารสถานที่ ) ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.. ๒๕๓๙ ( ก่อนจะมีการประกาศรัฐธรรมนูญและ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ) ต่อมาได้มีการดำเนินงานตามขั้นตอนของการประกันคุณภาพการศึกษาตามลำดับ กล่าวคือได้ปฏิบัติตามหลักการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษา พ.. ๒๕๔๒ และได้นำมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน ( สมศ.) ที่กำหนดไว้ ในเอกสาร “ มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินการศึกษาภายนอกขั้นพื้นฐานฉบับรอบที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓)”  มาเป็นตัวพิจารณา ปรับการดำเนินการบริหารให้เป็นไปตามแผนพัฒนาโรงเรียนตามมาตรฐานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นไปตามขั้นตอนทุกประการ ซึ่งต้นสังกัดคือสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ  เห็นว่าโรงเรียนมีความพร้อม เหมาะสมเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน (สมศ.)  และโรงเรียนสัมมาชีวศิลปได้ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก รอบแรก         เมื่อ วันที่ ๑๐-๑๒  มกราคม พ.ศ.   ๒๕๔๘

     โรงเรียนได้ดำเนินการบริหารโรงเรียนสัมมาชีวศิลป โดยนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน (สมศ.)  ครั้งแรกมาพัฒนาและประเมินภายในสรุปได้ดังนี้

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน

ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โรงเรียนมีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาพื้นฐาน / มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ดังนี้

มาตรฐานที่ ๑  ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑  โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑. โครงการส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรมและโครงการอนุรักษ์ความเป็นไทย  โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๙ ได้พานักเรียน ชั้น ป.๑-๖      ไปวัดปทุมวนาราม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา โดยนักเรียนได้ร่วมกับคณะครูเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ รับศีล ฟังเทศน์ นั่งสมาธิและร่วมสนับสนุนพระพุทธศาสนาโดยการถวายปัจจัยในการบำรุงพุทธศาสนา และพานักเรียนช่วงชั้น ๒ ไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาในวิสาขบูชาและวันมาฆบูชา ณ ท้องสนามหลวง

๒. กิจกรรม  ๒๑. พานักเรียนไปวัดในวันพระ 1 ครั้ง/เดือน

๒.๒. สวดมนต์ทุกวันศุกร์

๒.๓. นิมนต์พระมาสอนธรรมะทุกวันจันทร์

๒.๔. จัดประกวดหนูน้อยนพมาศ

๒.๕. พิธีไหว้ครู

๒.๖. กราบตักแม่-กราบตักพ่อ

..  นักเรียนชั้น ป.6 เข้าสอบธรรมศึกษาชั้นตรี

๒.๘. พิธีรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในวันปีใหม่ไทย

๒.๙. นั่งสมาธิและแผ่เมตตา ก่อนเข้าเรียนช่วงบ่าย

๓. ผลการดำเนินงาน

๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๘๕ มีระเบียบวินัยมีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามหลักธรรมเบื้องต้น

๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๙ มีความซื่อสัตย์สุจริต

๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙0 มีความกตัญญูกตเวที

๓.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙0 มีเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ

                            ๓.๕ ผู้เรียนร้อยละ ๘๕ ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย                 

สรุปผลการประเมิน
ด้านปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม มีวินัยได้อย่างเหมาะสม การปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ฝึกให้นักเรียนทำตนเป็นแบบอย่างในการเป็นนักเผยแผ่ เพื่อเป็นการฝึกความรู้พื้นฐานการเข้าสู่ชุมชนและครอบครัว

 จุดเด่น
. ผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างระดับชั้น โดยทางสถานศึกษาจัดให้มี ชมรมในโครงการต่างๆ เช่น เยาวชนพุทธมามกะ
. ทางสถานศึกษามีการออกรายการกระจายเสียงข่าวความรู้รอบตัว ทุกเวลาเช้า
. ฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก รู้จักการแนะนำตัว, เล่าประสบการณ์, ตั้งหัวข้อแยกประเด็นฝึกการวางตัวบุคลิกท่าทาง และเวทีคนกล้า
 หมายเหตุ    ทางสถานศึกษามีแนวทางในการกำหนดหลักศีลธรรมและจริยธรรมให้นักเรียนปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทำให้เห็นความสามารถของของนักเรียนได้ตรงตามตัวชี้วัดที่ชัดเจนและมีคุณภาพสูง

มาตรฐานที่ ๒  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม

         ตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ ๒  โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

๑. โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สู่คุณภาพ เป็นการจัดบรรยากาศและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เป็นไปตามธรรมชาติ

๒.กิจกรรม    ๒.๑ จัดห้องเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนอย่างต่อเนื่อง

                        ๒.๒จัดมุมแหล่งเรียนรู้ตามห้องเรียน

                        ๒.๓. การจัดเวรทำความสะอาดห้องเรียนทุกวัน

                        ๒.๔ ซ่อมแซมปรับปรุงอาคารเรียนให้ปลอดภัย

                        ๒.๕ ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในวันสำคัญโดยทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาและชุมชน

๓. ผลการดำเนินงาน

                   ๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๘๕ มีส่วนในการดูแลและซ่อมแซมอุปกรณ์การเรียน ห้องเรียน

                   ๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐ มีส่วนร่วมในการเก็บรักษาบริเวณโรงเรียนให้สะอาดน่าอยู่

                   ๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐ ภูมิใจในการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

         ตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ ๓  โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

๑. โครงการ  ห่วงใยสุขภาพ โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๙ ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะมีความรับผิดชอบร่วมกัน มีความรู้สึกที่ดีต่อกันอันนำไปสู่ความสำเร็จ

๒. กิจกรรม  ๒.๑. กีฬาสี

๒.๒. ลูกเสือ – เนตรนารี เข้าค่าย

๒.๓ ชมรม

๒.๔ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์

๓.  ผลการดำเนินงาน

๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๕  เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสี

๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๕  เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี เข้าค่าย

๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  กล้าแสดงออก

๓.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  มีความเสียสละและรู้รักสามัคคี

จุดเด่น
ได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน พัฒนางานและการทำงานเป็นทีม การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีระบบต่อเนื่อง ดังนี้
. ความสามารถในการทำงาน มีการวางแผน ทำงานตามลำดับขั้นตอนและผลงานมีคุณภาพจากข้อมูลที่ค้นพบ เช่น จากแฟ้มผลงานนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ทำงานได้ดี มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะที่เด่นที่สุด คือ ลายมือ และงานส่วนใหญ่มีบูรณาการเข้ากับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและศาสนาที่ตนนับถือ
- จากรายงานกลุ่ม รายงานเดี่ยวของนักเรียน ในรูปแบบของแบบฝึกหัด รายงานการศึกษาค้นคว้า และจัดทำเป็นรูปเล่ม ผลงานส่วนใหญ่อยู่ในขั้นดีมาก
-งานพิมพ์เอกสาร โดยมีเครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์บริการ สามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นการเสริมทักษะสำหรับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในอนาคต จากการตรวจรายงานพบว่าโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี
. ด้านความสามารถในการพัฒนากระบวนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ระดับประถมปลาย ใช้คอมพิวเตอร์ ในการพัฒนาการนำเสนอรายงาน ผลงาน
. ด้านความขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน พบว่านักเรียนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความขยัน อดทน นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ครู พบว่า นักเรียนมักขอให้ครูจัดหางานพิเศษให้ทำอยู่เสมอ งานต่าง ๆ ที่นักเรียนร่วมรับผิดชอบ ปฏิบัติประจำ เช่น
- การทำความสะอาดห้องเรียน ของตนเอง รับผิดชอบ เครื่องเรียนของตนเอง
- มีระบบมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้นักเรียน ได้แก่ สารวัตรนักเรียน แต่งตั้งนักเรียนชั้น ป.

          โดยการเสนอชื่อของกรรมการนักเรียน เน้นดูแลความประพฤติ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่สวัสดิการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ห้องโสตทัศนศึกษา และอาคารเรียนทั่วๆไป
. ด้านการทำงานเป็นทีมพบว่า โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนทำงานเป็นทีมได้ดี เช่นกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียน โดยการสมัครรับเลือกตั้งสภานักเรียน ทำงานกันเป็นทีมได้ดี
- ส่วนด้านการเรียนการสอน ครูใช้กระบวนการกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ และจัดทำแบบบันทึกการทำงานกลุ่ม ตามหัวข้อ คือการแบ่งหน้าที่, ขั้นตอนการทำงาน, ความร่วมมือ, ปัญหาอุปสรรค, วิธีแก้ปัญหาและผลการประเมินกลุ่ม
 ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
การประเมินรายบุคคล / รายกลุ่ม ตามสภาพจริงด้านทักษะพิสัย โรงเรียนทำได้ดี และควรขยายผลให้หลากหลายและเข้มข้นมากขึ้น

มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

         ตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ ๔ มีดังนี้

๑.  โครงการ  ส่งเสริมวิชาการสู่งานอาชีพ โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๙ ได้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน มีการจัดตารางค้นคว้าในห้องสมุดอย่างเป็นระบบตามระดับชั้น และมีการคิดวิเคราะห์ผลการเรียนของนักเรียน

๒.  กิจกรรม  ๒.๑ จัดนักเรียนเข้าห้องสมุดเพื่อศึกษาความรู้จากวีดีทัศน์

๒.๒  จัดมุมความรู้ภายในห้องเรียน

๒.๓  แข่งขันตอบปัญหาวิชาการกับภาครัฐและเอกชน

๒.๔  จัดนักเรียนเข้าห้องวิทยาศาสตร์

๒.๕ เวทีคนกล้า

๒.๖ การนำเสนอข่าว

 

๓.  ผลการดำเนินงาน

๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  เข้าห้องสมุดเพื่อค้นคว้าหาข้อมูล

๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  มีส่วนร่วมในการจัดมุมหนังสือในห้องเรียน

๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  เข้าร่วมตอบปัญหาทางด้านวิขาการ

๓.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  ทดลองปฏิบัติการห้องวิทยาศาสตร์

๓.๕ผู้เรียนร้อยละ ๙๐ มองโลกในแง่ดีและมีจินตนาการ

๓.๖ ผู้เรียนร้อยละ ๘๐ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และคิดสังเคราะห์

                               ๓.๗ ผู้เรียนร้อยละ ๘๐ มีความคิดสร้างสรรค์สรุปผลการประเมิน

สรุปผลการประเมิน
ด้านรู้ถึงความถนัด ความสามารถ ความสนใจ ข้อดี ข้อด้อยของตนเองและรู้จักปรับปรุงตนเอง มีความมั่นใจและความสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีวิชาแนะแนวในหลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนรู้จักตนเอง ปรับปรุงตนเองโดยใช้เกมฝึกการแก้ปัญหาจากสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ ให้นักเรียนวิเคราะห์ตนเองว่าตัวจริงอยู่ที่ตรงไหน ถนัดสิ่งอะไร เพื่อนเขามองเราอย่างไร ควรแก้ไขปรับปรุงตนเช่นไร มีสอนทุกระดับชั้น ให้นักเรียนนำผลงานเสนอหน้าชั้น มีแบบฝึกหัดเน้นการยอมรับตนเอง และตระหนักในคุณค่าของตนเอง เพิ่มความมั่นใจในตัวนักเรียน มีเกณฑ์ผลเป็น ผ่าน-ไม่ผ่าน
ด้านความสามารถกำหนดเป้าหมาย แนวทางการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง พบมีโครงการฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ได้ เช่น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ฝึกการสังเกต ให้นักเรียนสรุปข้อค้นพบด้วนตนเอง กิจกรรมเกี่ยวกับบทกวีภาษาไทย นักเรียนคิดผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อเตือนและทบทวนอย่างง่ายได้ มีการจัดทำบันทึกการทำงานกลุ่มของนักเรียน และใบประเมินผลตามสภาพจริง ให้นักเรียนเป็นผู้ประเมินส่งครู
ด้านการรู้จักกาลเทศะในการแสดงออกทางกริยา วาจา และปฏิบัติตนที่ดี มีคณะกรรมการนักเรียนและประธานนักเรียนเข้าดูแลความประพฤติตนที่ดี ถ้าพบความผิดตามกฎของนักเรียนให้มีการพี่ช่วยเตือนน้อง หรือเพื่อนช่วยเพื่อน มีการฝึกให้นักเรียนประถมปีที่ ๖ ทุกคนได้พูดรายงานความประพฤติของนักเรียนแต่ละวันต่อหน้าแถวพร้อมทั้งคำเตือนนักเรียนทำผิดกฎ ระเบียบทุกวัน
 จุดเด่น
. มีการกำหนดกิจกรรม ให้นักเรียนฝึกเขียนตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการทำกิจกรรม โดยพิจารณาถือความถนัดในกลุ่ม ความต้องการความรู้ แหล่งข้อมูล เงินทุน เวลา แหล่งผู้สนับสนุน แล้วจึงนำมาตัดสินใจทำกิจกรรมในรูปต่าง ๆ เช่นกิจกรรม ฝึกค้นคว้า กิจกรรมสร้างชิ้น กิจกรรมภาษาไทยว่าด้วยเรื่องกวีศึกษา ประวัติและผลงานของสุนทรภู่ องค์ประกอบของกวีนิพนธ์ เป็นต้น นักเรียนกำหนดรูปแบบโครงการค้นคว้าโดยวางแผนปฏิบัติงานได้ กำหนดระยะเวลา ผลการปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับลงในรายงาน
. มีการสำรวจปัญหาของนักเรียน ใช้ประโยชน์นำมาพัฒนาสร้างสรรค์ด้านตัวนักเรียน จะมีรายละเอียดประวัติและภูมิหลังของนักเรียน ความรู้สึกต่อบุคคลรอบข้าง และต่อสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๕  ผู้เรียนมีความรู้ทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร  โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑.  โครงการ ส่งเสริมวิชาการสู่งานอาชีพ โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โรงเรียนมีการดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการทดสอบ แข่งขันระดับชาติ มีการอ่านบทความ สำนวนภาษา รวมทั้งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เช่น ด้านคอมพิวเตอร์ การตัดสติกเกอร์บนกระจก การเรียนภาษาอังกฤษ การเรียนภาษาจีนและชมรมเทควันโดโดยวิทยากรจากชุมชน

๒.  กิจกรรม  ๒.๑ การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งด้านพฤติกรรมและวิชาการ

๒.๒ การประเมินผลวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประเทศ ( N.T.)

๒.๓ กิจกรรมรักการอ่าน

๒.๔ การใช้สื่อด้านเทคโนโลยี

๒.๕ การเข้าชมรม

.๖ ตอบปัญหาวิชาการ

๓.  ผลการดำเนินงาน

๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์

๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐ มีการทดสอบรวมยอดระดับประเทศชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์

๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๘๐  สื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ และ

   ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ

๓.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
                          
.๕ ผู้เรียนร้อยละ ๘๐  มีความคิดสร้างสรรค์

สรุปผลการประเมิน
ด้านผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์วัดผลและประเมินผลตามหลักสูตร พบว่านักเรียนระดับประถมปีที่ ๓  สามารถสอบผ่านเกณฑ์ของสถานศึกษาคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ จากนักเรียนจำนวน  ๓๐  คน ของปี พ.. ๒๕๔๙
นักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ ๖  สามารถสอบผ่านเกณฑ์ของสถานศึกษาคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ จากนักเรียนจำนวน ๓๑  คน ของปี พ
.. ๒๕๔๙  จากการติดตาม ให้คำปรึกษา แนะแนวการศึกษาต่อ โรงเรียนพบว่านักเรียนที่จบระดับชั้น ป.๖ ในแต่ละปีได้เข้ารับการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ ๑๐๐ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๕  
          ด้านผู้เรียนมีทักษะการดำรงชีวิต และการปฏิบัติตัวเหมาะสมตามวัย พบร่องรอยจากกิจกรรม  "เยาวชนพุทธมามกะ " โดยนำนักเรียนชั้น ประถมปีที่ ๔ - ๖ เดินทางไปวัดปทุมวนาราม เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบ วันพระ และนักเรียนได้พบเห็นสิ่งแวดล้อมระหว่างทางเดินประมาณ ๒ กิโลเมตร เพื่อนำไปซักถามวิทยากรในวัดหลังจากได้สวดมนต์ ฟังธรรมะ ให้นักเรียนค้นพบและนำสภาพความเป็นอยู่ในชีวิตจริงมาเชื่อมโยงเข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนา เช่น หลักอริยสัจ ๔ มีการฝึกให้นักเรียนวิเคราะห์ สิ่งแวดล้อม และข้อมูลข่าวสาร เข้ามาเชื่อมโยงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดย พระสงฆ์, วิทยากรพิเศษและครู ใช้แบบประเมินซึ่งจัดกระบวนการสอดแทรกกับการวัดพฤติกรรม ๓ ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ( รู้, เข้าใจ)
ด้านจิตพิสัย (ความตระหนักในจิตใจ ) ทักษะพิสัย (รู้จักการนำไปเปรียบเทียบและเลือกใช้ในชีวิตจริงได้ )
ด้านความสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดเวทีคนกล้า อภิปรายวาทีในโอกาสวันเทศกาลสำคัญ ซึ่งฝึกวาทศิลป์ ให้นักเรียนนำเสนอเรื่องราวต่อผู้ฟังจำนวนมาก ให้ความสำคัญต่อการเขียนเรียงความ วันสำคัญต่างๆ นำมาพิจารณาให้รางวัล จากผลที่นักเรียนแต่ละชั้นชอบสูงสุด
ด้านความสามารถจำแนกข้อมูล เปรียบเทียบ และสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้ มีการกำหนดโครงงาน แบบฝึกหัด ที่วัดด้านการเปรียบเทียบต่อสังคมปัจจุบันและอดีตจากการจัดทำโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมในวันสำคัญแห่งชาติ โครงงานวิทยาศาสตร์ และศิลปะ นักเรียนนำผลการทดลองไปศึกษาเปรียบเทียบสิ่งที่นอกเหนือบทเรียนได้ วิชาภาษาไทย-นักเรียนมีการวิจารณ์ นวนิยาย, งานประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน สามารถเขียนสรุปมุมมองของเรื่องโดยการวิเคราะห์ได้ ระบุจุดสุดยอดของเรื่องได้
ด้านสามารถประเมินค่าความน่าเชื่อถือของข้อมูล เลือกประยุกต์ใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและนำไปแก้ปัญหาได้ นักเรียนสร้างผลงานได้ เช่น การฝึกทำน้ำมันหอมพิมเสน มีการกำหนดข้อสอบที่วัดการแก้ปัญหาที่นักเรียนคิดวิเคราะห์ร้อยละ ๕๐ ความจำร้อยละ ๕๐
ด้านความสามารถคาดการณ์ และกำหนดเป้าหมายโดยใช้แนววิธีการใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานการดำรงชีวิตได้อย่างเหมะสม มีการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการวางแผนทำโครงงานโดยระบุผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา แผนปฏิบัติการ ผลที่คาดว่าจะได้รับลงในโครงงาน มีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกพื้นที่ ฝึกให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับชาวต่างประเทศใน หลายๆชาติ ( ที่ผ่านไปมาหน้าโรงเรียนในซอยพญานาค จากผู้พักในโรงแรมเอเชียที่อยู่ข้างโรงเรียน ) เพื่อได้สัมผัส และเป็นแรงกระตุ้นให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน การติดต่อกับคนในสังคม สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
 จุดเด่น
. ทางสถานศึกษาสามารถสร้างให้นักเรียนมีความสามารถประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่นที่นักเรียนนับถือ เพื่อให้เกิดสามัคคีระหว่างศาสนิกชนที่ต่างศาสนา ให้รู้จักเคารพซึ่งกันและกัน ยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมปัจจุบันซึ่งชุมชนมีทั้งศาสนาพุทธและศาสนามุสลิมได้อย่างกลมกลืน
. มีการส่งเสริมความรู้ด้านหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา และความรู้ในสายสามัญ ที่สามารถสอดสอดแทรกหลักการดำรงชีวิตที่มีความสอดคล้องกันทั้ง ๓ ด้านได้อย่างดี ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
. วิชาภาษาต่างประเทศ จะมีการจัดสอนพิเศษ โดยใช้เกณฑ์ของโรงเรียนเอง และต้องผ่านเกณฑ์ระดับ ๑
. มีการออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงเน้นพฤติกรรมด้านทักษะ อารมณ์ สังคม
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
. ผลงานนักเรียนควรเพิ่มการประเมินผลงานด้วยตนเอง และให้นักเรียนเลือกชิ้นงานที่ชอบและภูมิใจนำมาเขียนเหตุผลสิ่งที่ได้และประโยชน์รวบรวมไว้
. ควรจัดทำการวิจัยชั้นเรียนเพื่อเน้นการซ่อมเสริมความรู้ที่ถูกต้องนักเรียนรายบุคลที่อยู่ในเกณฑ์ปรับปรุง
. แฟ้มสะสมงานอาจให้นักเรียนจัดรวมชิ้นงานที่ชอบแล้วเขียนเหตุผลประโยชน์ จากชิ้นงานรวมเข้าเล่มไว้
. ควรเพิ่มการใช้ Mind Mapping ให้นักเรียนโยงความคิดเพื่อฝึกการจำแนกข้อมูล การลำดับ

มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๑.  กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โรงเรียนมีการดำเนินการส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่าน เพื่อตอบคำถามอย่างมีเหตุผล เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และใช้แหล่งความรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งใน และนอกสถานที่

๒.  กิจกรรม ๒.๑ เวทีคนกล้า

๒.๒ เสียงตามสาย

๒.๓ ประกวดแข่งขันทางวิชาการ

.  ตอบปัญหาทั่วไปในวันพฤหัสบดี

๒.๕ ชวนน้องอ่าน (โครงการของเดอะพิซซ่าคอมพันนี)

๓. ผลการดำเนินงาน

              ๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๘๐  มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆรอบตัว

            ๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๘๐  เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและสนุกสนานกับการเรียนรู้

            ๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  ใช้ห้องสมุด ใช้แหล่งความรู้และสื่อต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา

            ๓.๔  ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  ศึกษาข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ เอกสารต่างๆ และสื่อโทรทัศน์

สรุปผลการประเมิน
ด้านมีความกระตือรือร้น สนใจเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ และรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
มีการนำนักเรียนไปศึกษายังแหล่งเรียนรู้ใน แหล่งวิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์, ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีสำคัญต่าง นักเรียนมีการตั้งคำถามไปเพื่อค้นหาคำตอบแล้วกลับมาเขียนรายงานพร้อมนำเสนอ

ด้านมีนิสัยรักการอ่านและสามารถใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือใช้สื่อต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน พบมีระบบการบันทึกการอ่านของนักเรียนแต่ละคน เพื่อทำสถิติ ผู้ผ่านการอ่านได้ก่อนหลัง นอกจากนี้มีการทำบัตรประจำตัวนักเรียนเพื่อใช้เป็นบัตรยืมหนังสือในห้องสมุดและใช้เก็บข้อมูลรายตัวได้อย่างถูกต้อง และยังเปิดให้ผู้ปกครองหรือบุคคลภายนอกเข้าใช้และมีสิทธิยืมหนังสือได้ นอกจากการทำห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อเข้าใกล้กลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น
ด้านการเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องในการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทางโรงเรียนส่งเสริมความรู้ในโอกาสต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน นอกจากนี้ยังให้มีการฝึกการเป็นผู้นำเยาวชน โดยให้นักเรียน เป็นผู้สื่อข่าวแถลงข่าวในช่วงเวลาเช้าก่อนเข้าเรียนทุกวัน และเป็นผู้สอดส่องดูแลสภาพแวดล้อม สร้างแนวทางแก้ปัญหา นำมาเสนอหน้าแถวในช่วงเวลากลางวัน เป็นผู้นำเข้าฝึกโครงการผู้นำเยาวชนรักษ์ความปลอดภัย ของกองทัพบก เพื่อเป็นผู้นำการพัฒนาคุณชีวิตนักเรียนและชุมชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา
ด้านความสามารถสรุปประเด็นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง จากแฟ้มสะสมงานของนักเรียน
 จุดเด่น

. มีการได้สวดมนต์ทุกวันศุกร์หลังเลิกเรียนและวันพระขึ้น ๑๕  ค่ำและกล่าวบทแผ่เมตตา ให้ฝึกทุกวันถือเป็นการเรียนรู้โดยการเป็นผู้ให้ ไม่เห็นแก่ตนเอง มีจิตแจ่มใส ก่อนการเรียนภาคบ่าย
. กิจกรรมรักการอ่าน โดยครูร่วมกับนักเรียน อ่านในใจทุกวันๆ ละ ๑๐ นาที  และห้องสมุด มีบันทึกการเข้าใช้ของนักเรียน ในช่วงพักระหว่างคาบเรียน ส่งเสริมโดยให้นำหนังสือแลกเปลี่ยนอ่านบทความรู้ จากบัตรคำ พลัดกันเป็นผู้ถาม ผู้ตอบ และตอบคำถามจากสื่อคอมพิวเตอร์
. มีการจัดทำโครงสร้างการการบริหาร, ป้ายคำคม, พุทธสุภาษิตประจำเดือน มงคลชีวิตติดบริเวณโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
. เพิ่มกิจกรรมทายปัญหาสารานุกรมโดยให้นักเรียนตั้งคำถาม- ตอบกันเอง มีการให้รางวัล
. ควรเพิ่มโครงการรักการอ่านในห้องสมุด ให้มีการบันทึกเรื่องที่อ่านสะสมสถิติผู้อ่านสูงสุดในแต่ละเทอม และมอบเป็นเกียรติบัตรตามที่โรงเรียนได้ให้ในกิจกรรมประกวดเรียงความภาษาไทย
. ควรติดแผนภูมิสถิติผู้มาใช้ห้องสมุดแต่ละเดือนเป็น Chart ที่ชัดเจนติดประชาสัมพันธ์ในห้องสมุดแยกส่วนของนักเรียนและบุคคลภายนอก

มาตรฐานที่ ๗ ผู้เรียนมีสุขนิสัย  สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี

ตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ ๗ โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

๑. โครงการห่วงใยสุขภาพ โดยจัดให้มีการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด หลีกเลี่ยงสภาวะที่ เสี่ยงต่อความรุนแรง  โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ  มีความมั่นใจกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และรักการมาโรงเรียน

 ๒.กิจกรรม           ๒.๑การเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพทุกเช้า(การออกกำลังกาย)

๒.๒. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

๒.๓ การตรวจสุขภาพประจำปี

๒.๔ การประกันอุบัติเหตุ

๒.๕ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคจากศูนย์สาธารณสุข 2 ราชปรารภ

๒.๖ การจัดนิทรรศการป้องกันสิ่งเสพติด

๒.๗ การเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจพญาไทมาให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและกฎจราจร

๒.๘ มีการเรียนเทควันโด ทุกวันพุธหลังเลิกเรียน โดยชมรมเทควันโด

๓. ผลการดำเนินงาน

๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๕  มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง

๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  มีน้ำหนักและส่วนสูงตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน

๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๑๐๐  รู้จักป้องกันตนเองให้พ้นจากยาเสพติด

.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๖  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครูและผู้อื่น

๓.๕ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  กล้าแสดงออกต่อที่ประชุม

        จุดเด่น
โรงเรียนตระหนักและให้ความสำคัญต่อผู้เรียนให้มีสุขนิสัย สุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีโดยมีร่องรอยความพยายามและสัมฤทธิผล ดังนี้
. โรงเรียนจัดให้นักเรียนทั้งหมด ช่วยกันตรวจสอบดูแลซึ่งกันและกัน มีคณะกรรมการชมรมเยาวชนรักษ์ความปลอดภัย นักเรียนได้ไปเข้าค่ายจากกองทัพบกและได้ไปเป็นผู้แทนเยาวชนรักษ์ความปลอดภัยเพื่อแสดงความเห็นทางสถานีวิทยุกองทัพบกซึ่งออกอากาศทั่วประเทศ โรงเรียนได้จัดทำโครงการ ห่วงใยความปลอดภัยถ้วนหน้า รวม ๔โครงการ ซึ่งโรงเรียนได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกและได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ กรมการกิจการพลเรือน ทหารบก ตามนโยบายการรณรงค์ด้านความปลอดภัยประจำปี ๒๕๔๘ รับจากข้อมูลพบว่า นักเรียนซึ่งเข้ามาเรียนในโรงเรียน มีพัฒนาการทางด้านร่างกายแตกต่างกัน แต่จากการได้รับการฝึกเพื่อดูแลตัวเองให้ถูกหลักโภชนาการ ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายที่ดีทั้งน้ำหนักและส่วนสูง
. ด้านการฝึกฝนให้ผู้เรียนรักษาความสะอาดนั้น มีการฝึกสอนวิธีล้างมืออย่างถูกต้อง จากโครงการ มือสะอาดสุขภาพดี และจัดเวรดูแลรักษาความสะอาด เก็บกวาดบริเวณห้องเรียน และ มีกิจกรรมร่วมกันพัฒนาโรงเรียน ทำให้บริเวณโรงเรียน, อาคารเรียนมีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
. ด้านการป้องกันรักษาสุขภาพ การเจ็บป่วย ภายในโรงเรียนมี ห้องพยาบาล เครื่องเวชภัณฑ์ มีเตียงพยาบาล จากการสอบถามข้อมูลพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรง การเจ็บป่วยมีน้อย และถ้ามีอุบัติเหตุก็มีระบบประกันอุบัติเหตุกับบริษัท AIA.และสามารถนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเอกชนที่มีการจัดให้บริการพิเศษใกล้โรงเรียนได้รวดเร็ว
- การชั่งน้ำหนัก และส่วนสูงภาคเรียนละ ๒ครั้ง, มีการตรวจสุขภาพทั่วไปนักเรียนทุกคนปีละครั้ง พร้อมทั้งตรวจปัสสาวะกับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ ๒ (ป.๔-๖ ) เพื่อหาสารเสพติด จากแพทย์เครือข่ายของบริษัท AIA.
- บริการฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน คอตีบหยอด บาดทะยัก กับนักเรียนชั้น ป.๑ และ ป.๖ พร้อมทั้ง หยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอแก่เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปีและเวชภัณฑ์พื้นบ้านทั่วไปแก่ชุมชน จากศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ  พบว่านักเรียนมีปัญหาเรื่องสุขภาพน้อย หรือโรคประจำตัวมีน้อยมาก
. โรงเรียนมีการตรวจสอบวุฒิภาวะของนักเรียน โดยใช้แบบตรวจสอบปัญหา และจำแนกข้อมูลรายบุคคลตามลักษณะสุขภาพกาย,จิต   มีระบบพี่เลี้ยงและครูกัลยาณมิตร คอยดูแลทั้งด้านอุปนิสัย, พฤติกรรมและการระมัดระวังสุขภาพและเรื่องยาเสพติด
. นักเรียนเป็นผู้มีสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเหมาะสมกับวัย ทางโรงเรียนมีบริการวีดีทัศน์คอมพิวเตอร์ และInternet เพื่อสาระความรู้และผ่อนคลาย ร่างกาย อารมณ์ จิตใจให้เมื่อเวลาช่วงพัก

 

มาตรฐานที่ ๘  ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้าน ศิลปะ ดนตรี และกีฬา

         ตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ ๘  โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

๑. โครงการห่วงใยสุขภาพ โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม และผลงานด้าน  ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬาและนันทนาการด้วยความชื่นชม

๒. กิจกรรม  ๒.๑ เข้าร่วมแข่งขันวาดภาพกับภาครัฐและเอกชน

                 ๒.๒ ออกกำลังกายทุกเช้าก่อนเข้าเรียน

                 ๒.๓ ชุมนุมตามความถนัด

           - ศิลปะ

           - ดนตรี / นาฏศิลป์

           - กีฬา

     ๓. ผลการดำเนินงาน

๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  มีความชื่นชมในศิลปะ วาดภาพ

๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐   กล้าแสดงออกด้วยความยินดี

๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐  มีความชื่นชมในการเล่นกีฬา

สรุปผลการประเมิน
ด้านการมีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ในด้านศิลปกรรม มีการพัฒนาทำความสะอาดห้องเรียน และบริเวณโรงเรียน โดยการแบ่งความรับผิดชอบบริเวณตามลำดับชั้นเรียน มีการใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นการร่วมกิจกรรมร้อยละ ๘๐ จึงถือว่าผ่านเกณฑ์ มีการแสดงกิจกรรมการแสดง ร้อง รำ การแต่งกายตามวัฒนธรรมไทยในงานโรงเรียน เช่น งานวันแม่ วันพ่อ งานกีฬาสี งานขึ้นปีใหม่ งานทำบุญประจำปี และวันสำคัญต่างๆ    มีการฝึกระเบียบการเข้าแถว และโครงการมือสะอาดสุขภาพดี และรู้วิธีรักษาอานามัยช่องปากด้วยตนเอง
 จุดเด่น
ทางสถานศึกษาได้ยึดหลักนโยบายของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ส่งเสริมงานด้านแนวอาชีพที่สามารถนำไปเป็นความรู้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ จากโครงงานในชั้นเรียน เช่น การทำน้ำมันหอม การทำงานด้านประดิษฐ์ดอกไม้แห้งเป็นงานด้านศิลป์
ข้อค้นพบ
สามารถกำหนดให้ผู้เรียนเกิดสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยที่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ในด้านดำรงตนตามคำสอนในศาสนาได้ชัดเจน

มาตรฐานด้านการเรียนการสอน

มาตรฐานที่ ๙  ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี และมีครูพอเพียง

         ตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ ๙  โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

๑. โครงการส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม โตรงการพัฒนาบุคลากรสู่ความสำเร็จ โครงการสายสัมพันธ์ชุมชนท้องถิ่น และงานสัมพันธ์ชุมชน โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๙ มีการส่งเสริมบุคลากรให้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา นิมนต์พระสงฆ์มาให้ความรู้ทางด้านศีลธรรม ด้านพุทธศาสนา มีการส่งเสริมบุคลากรให้เข้ารับการอบรมทางด้านการเรียนการสอน ให้ตรงกับเนื้อหาที่ตนสอน เชิญวิทยากรจากชุมชนมาให้ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพมีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลหรือข่าวสาร การเข้าร่วมกิจกรรมกับสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากร ผู้ปกครอง เกิดความมั่นใจในการเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งอุทิศตน และพัฒนาเพื่อหาความรู้ ยอมรับฟังความคิดเห็น และพัฒนาตนเองให้ได้รับการศึกษาเพื่อจะได้สอนตรงตามความถนัด

๒. กิจกรรม  ๒.๑ การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญทางศาสนา

๒.๒ มีการอบรมบุคลากรและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนให้อยู่ในคุณธรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ จากผู้บริหาร

๒.๓ บุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนและแสวงหาความรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวิชาที่ตนสอน

๒.๔ การเชิญตัวแทนชุมชนและผู้ปกครองมาให้ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ

๓. ผลการดำเนินงาน

๓.๑ บุคลากรในสถานศึกษาร้อยละ ๘๐ เข้ารับการอบรมและพัฒนาตนเอง

.  บุคลากรในสถานศึกษาร้อยละ ๘๐ ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมและมีคุณธรรม

๓.๓ บุคลากรในสถานศึกษาร้อยละ ๘๕ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ปกครองและชุมชน

จุดเด่น
. ครูโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ร้อยละ ๘๐ มีวุฒิปริญญาตรี จึงเป็นผู้มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างดี และได้รับการฝึกอบรมทางด้านพุทธศาสนาจากนโยบายของสัมมาชีวศิลป ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ผู้บริหารโรงเรียนมาตลอดเวลายาวนานหลายสิบปี จึงมีความรู้ดีทั้งทางด้านศาสนาและวิชาทางโลกสามารถเป็นตัวอย่างให้การสอนเปรียบเทียบการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ในสังคมรอบด้าน อย่างมีความสุขได้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาปัจจุบันและปรัชญาของโรงเรียนด้าน มีศีลธรรม, นำปัญญา เกื้ออาชีพ
. ครูส่วนใหญ่ได้ผ่านการศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลก จึงเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสูงและมีบุคลิกภาพที่ดี
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
. เนื่องจากโรงเรียนขาดครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น วิชาคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์และ ดนตรีไทย เป็นต้น จึงสมควรบรรจุครูเหล่านี้ให้เพียงพอ หรือหาสถาบันบริการนอกโรงเรียนเข้ามาเสริมสอนเพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่ครบถ้วนตามหลักสูตรและสิ่งที่คาดหวัง
. ครูควรเป็นที่รักและเป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น บุคลิกภาพ คุณธรรมจริยธรรมทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา  ดั่งคำศึกษาภาษิตที่ ศาสตราจารย์ฐะปะนีย์  นาครทรรพ อดีตประธานสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯและผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนได้ประพันธ์ไว้ดังนี้

                               ครูรักศิษย์ศิษย์รู้ว่าครูรัก                    จะคึกคักแข็งขยันหมั่นศึกษา
                               เติบโตไปได้ดีมีหน้าตา      ไม่ลืมว่ารักของครูชูชีวิต
                               ศิษย์รักครูครูรู้ว่าศิษย์รัก   จะคึกคักแข็งขยันด้วยมั่นจิต
                              เมตตาธรรมบำเพ็ญอยู่เป็นนิจ     ยามเห็นศิษย์ดีได้ชื่นใจแท้.  

มาตรฐานที่ ๑๐  ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

         ตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ ๑๐  โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

๑. โครงการ พัฒนาบุคลากรสู่ความสำเร็จ โดยจัดส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมตรงกับวิชาที่สอน เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน เข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล และจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๒. กิจกรรม  ๒.๑  จัดระบบสารสนเทศไว้ในคอมพิวเตอร์

๒.๒  จัดส่งครูไปอบรมสัมมนาตรงตามหลักสูตร

๒.๓ การประเมินผลการเรียนทั้งด้านวิชาการและด้านพฤติกรรมของผู้เรียน

๒.๔ การทำวิจัยหน้าเดียว

๓. ผลการดำเนินงาน

๓.๑ ครูร้อยละ ๘๐  ใช้เทคโนโลยีพัฒนาการเรียนการสอน

๓.๒ ครูร้อยละ ๘๕  ปฏิบัติตามขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการ

    เรียนรู้

๓.๓ ครูร้อยละ ๘๐ เข้ารับการอบรมตรงตามเนื้อหาที่ตนสอน

๓.๔ ครูร้อยละ ๘๐ นำผลการวิจัยมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียน

 

จุดเด่น
. ครูทุกคนจัดทำแผนการสอนที่มีนักเรียนเป็นสำคัญได้ครบ ทั้งได้รับการนิเทศติดตามการนำไปใช้จากผู้มีบริหารทางวิชาการตลอดเวลา
. ครูมีความรู้ทั้งทางด้านศาสนาและการศึกษา จึงทำให้การเรียนการสอนสำเร็จสมความมุ่งหมายทุกประการ
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
. มีครูบางส่วนยังใช้วิธีสอนแบบเดิมควรได้รับการพัฒนา เช่น การส่งเข้าอบรม หรือฝึกการทำแผนการสอน ตลอดทั้งสื่อและนวัตกรรมให้เหมาะสมกับวิชาที่ตนสอน
. ควรจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ตลอดถึงการจัดทัศนศึกษาแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญเพิ่มจากที่ได้จัดอีกอย่างน้อยภาคละ ๑ ครั้ง
๓.  ควรจัดให้นักเรียนได้รู้จักการศึกษาด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาให้มากขึ้น แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและเหมาะสมแก่กาลเทศะ เป็นต้น

 

มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ ๑๑  ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา

          ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๑  โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑. โครงการ  พัฒนาบุคลากรสู่ความสำเร็จ โดยผู้บริหารมีหลักการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพทางด้านความรู้ สังคม จริยธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านบริหาร ได้รับการอบรมสัมมนา ศึกษาต่อ เพื่อนำเทคโนโลยีมามาบริหารโรงเรียน และพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

๒.  กิจกรรม  ๒.๑ อบรมสัมมนา

                        ๒.๒  ประชุมครู

๒.๓ ส่งเสริมพัฒนาหลักสูตร

๒.๔ จัดการเรียนการสอน และกิจวัตร เน้นหลักธรรมของพุทธศาสนาให้แก่ครู และนักเรียน

.๕ การนิเทศการสอน

๓. ผลการดำเนินงาน 

                  ผู้บริหารมีนวัตกรรมใหม่ๆ และสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา  นำมาพัฒนาสถานศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการเรียนรู้และการบริหาร ได้จัดติดตั้งคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตไว้ให้ครู ได้ค้นหาข้อมูลต่างๆ ทางการศึกษาได้อย่างกว้างขวางและ มีแผนควบคุมการใช้อย่างมีคุณค่า ได้จัดทำข้อมูลมูลนิธิฯ และโรงเรียนทั้งสองแห่งไว้ในเวปไซต์  www.sammajivasil.net  เพื่อประกาศนโยบายและการจัดการศึกษา นอกจากนี้ได้ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาและจัดเก็บข้อมูล ทะเบียนประวัติครูและนักเรียน โปรแกรมระบบบัญชีและการเงินและคุรุภัณฑ์ ฯลฯ การจัดห้องสมุดหนังสือมีโปรแกรมเพื่อการค้นหาได้รวดเร็ว  
                      บุคลากรมีการแบ่งงานกันทำและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน มีการส่งเสริมด้านจริยธรรม

จุดเด่น
. คณะผู้บริหารมีความเป็นผู้นำสูง และมีความเป็นประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน และนำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงงานส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
. คณะผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถประสานความสามัคคี ระหว่างนักเรียนและชุมชนที่นับถือพุทธศาสนาและมุสลิม อย่างมีความสุขมาช้านาน เช่น มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทั่วได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน มีการบริจาคอุปกรณ์การสอนและอื่นๆ เป็นต้น
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไปที่ต้องพัฒนาและได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก
. เนื่องจากโรงเรียนสัมมาชีวศิลป มีนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่นับถือต่างศาสนา การจัดกิจกรรมบางอย่างที่ขัดต่อพระพุทธศาสนา หรือขัดแย้งกับศาสนาอื่นที่นักเรียนนับถือไม่สามารถปฏิบัติได้ หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ จึงมีข้อจำกัดในเรื่องนี้อยู่บ้าง  โดยส่งเสริมให้ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ เช่น เมื่อนักเรียนพุทธเข้าวัดประกอบพิธี เพื่อนนักเรียนมุสลิมเข้าร่วมสังเกตและเรียนรู้เป็นต้น
. ด้านงบประมาณไม่พอแก่การบริหารการเรียนการสอน เพราะสถานศึกษามีข้อจำกัดไม่สามารถสนองค่านิยมธุรกิจในสังคมเมืองได้ หรือกลุ่มประชากรในชุมชนที่ไม่ให้ความสำคัญทางพุทธศาสนา จึงทำให้จำนวนนักเรียนน้อย  เป็นเหตุให้ได้งบประมาณรายหัวจากรัฐบาลน้อยลงด้วย ผู้มีอำนาจทางรัฐควรมาตรวจวิเคราะห์และให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจากโรงเรียนเอกชนสามัญทั่วๆไป  
. โรงเรียน สัมมาชีวศิลป ควรเปลี่ยนสังกัดเป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล จะทำให้ได้งบประมาณรายหัวเต็ม ๑๐๐ % ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ หากยังเป็นอย่างเดิมก็คงได้งบประมาณไม่เพียงพอเช่นปัจจุบัน ในอนาคตอาจจะมีปัญหาด้านการบริหารเกิดขึ้น นอกจากจะต้องทำกิจกรรมบริการพิเศษอื่นๆ จากทรัพยากรและบุคลากรที่มีอยู่ให้ได้มาซึ่งรายได้นอกเหนือจากการจัดการศึกษาปกติ  

มาตรฐานที่ ๑๒  สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหารงาน และพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบครบวงจร

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๒  โดยการดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑. โครงการพัฒนาบุคลากรสู่ความสำเร็จ

          ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ ได้จัดโครงสร้าง องค์กร ระบบบริหารงานที่มีความคล่องตัวสูงขึ้น ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง จัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างครอบคลุมและทันต่อการใช้งาน มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

๒. กิจกรรม  ๑. จัดทำแผนภูมิโครงสร้างการบริหารงาน

๒. จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ

๓. ส่งครูอบรมและดูงาน

๔. รางวัลขยันหมั่นงาน

๓. ผลการดำเนินงาน

                สถานศึกษามีการจัดระบบการบริหารงาน และพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๕ 
จุดเด่น

. คณะผู้บริหารทั้งโรงเรียนและมูลนิธิฯ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาครูและบุคลากรอย่างมาก เช่นการเพิ่มพูนวิทยฐานะของครู โดยเฉพาะด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ ดังนี้
-
มีการทำโครงการอบรมยุทธศาสตร์การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคณะวิทยากรจากศึกษานิเทศและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
-
โครงการวิจัยในชั้นเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย,จากวิทยากรพิเศษจัดโดยคณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชน กลุ่ม ๔
-
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการปฏิรูปการศึกษา จากสำนักงานการศึกษาเอกชน และเขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรพัฒนาการศึกษาหลายแห่งเป็นประจำ
. ด้านการศึกษาดูงาน โดยพาคณะครูไปศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา เช่น ที่โรงเรียน แสนสนุก ศึกษา, โรงเรียนโชติมา   และโรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นต้น
. โรงเรียนกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับครูอาจารย์ที่ไปศึกษาอบรม และให้งบประมาณ ปีละ ๒,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี ตามความต้องการของบุคลากร นอกเหนือค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงอบรมนอกสถานที่รายวันตามระเบียบแต่ต้องจัดทำรายงานสรุปเนื้อหาสาระและรวบรวมไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเผยแผ่ ค้นคว้าให้บุคลากรอื่น ๆ ต่อไป
. โรงเรียนส่งเสริมด้านสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของครู โดยบริการอาหารกลางวัน โรงเรียนได้โอนรายได้จากส่วนบริการพิเศษต่างๆ ที่โรงเรียนได้ให้เป็นทุนสวัสดิการบุคลากร เพื่อช่วยเหลือเป็นส่วนตัวและกิจกรรมสังสรรค์ทั่วๆไป ที่สำคัญทางสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ได้ให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำและผ่อนส่งระยะยาวเพื่อปลดหนี้นอกระบบที่ต้องส่งดอกเบี้ยสูง หรือสงเคราะห์ครอบครัว พัฒนาการศึกษาเพิ่มวุฒิ    ได้ให้เงินกู้ไปแล้ว เพื่อสร้างขวัญกำลังใจความมั่นคงในอาชีพและชีวิตส่วนตัว  จากการสัมภาษณ์ครูและพนักงาน พบว่าพอใจที่โรงเรียนได้ดำเนินการเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เช่น การจัดให้มีสวัสดิการการรักษาพยาบาล  การประกันสังคม การจัดสวัสดิการออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร และกู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนระยะสั้น หรือให้เปล่าหากมีอุบัติเหตุโดยฉุกเฉิน  ปัจจุบันครูมีขวัญกำลังใจดี มีการดำรงชีพพอเพียง และอยู่มายาวนาน ไม่มีครูลาออกจากอันเนื่องจากความไม่พอใจในการบริหาร
. โรงเรียนจัดครูสอนตามความถนัดและความสามารถ พิจารณาจากการแต่งตั้งครูสอนพบว่า ครูสอนได้ตรงวิชาที่ตนถนัดและพอใจ สำหรับวิชาที่ขาด โรงเรียนแก้ปัญหาโดยจัดส่งครูไปรับการอบรมตามวิชาที่รับผิดชอบ  มีการว่าจ้างครูพิเศษจากสถาบันที่ชำนาญ เข้ามาช่วยสอนเสริม เช่น คุณสารวิบุล ฯ ประธานสัมมาชีวศิลปมูลนิธิและผู้รับใบอนุญาต ได้จัดบรรยายธรรมะสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง พระสงฆ์ ๓ รูป จากวัดปทุมวนารามและวัดพระยายัง เข้ามาสอน ศีลธรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ บริษัท สยามคอมพิวเตอร์ จำกัด จัดการสอนคอมพิวเตอร์ สถาบันภาษาอังกฤษ Discovery Education System นำคณะโดย Mr. Ben Benhar โดยมอบหมายให้ Mr. Fernando เข้ามาสอนเสริมภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมงทุกระดับชั้น โดยมีครูประจำวิชาร่วมกิจกรรมเพื่อนำไปเสริมต่อเป็นต้น มีการนิเทศติดตาม ประเมินและสนับสนุนการปฏิบัติงานของครูอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการนิเทศการสอนโดยอ้อม เช่น ใช้ พูดคุยซักถามอยู่เป็นประจำ ประชุมอภิปราย ให้ความรู้ คำแนะนำ รวมถึงการสรุปผลการอบรมสัมมนาด้านวิชาการสำหรับครู   ครูส่วนใหญ่เป็นผู้รู้จักมักคุ้นเป็นส่วนตัวกันมาก่อน และรักสามัคคีกันดี มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัวสูง มีความศรัทธาในวิชาชีพครูสูง รวมถึงการมีคณะผู้บริหารที่ดีมีคุณธรรมทำให้การทำงานเป็นไปด้วยดี
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
-
ครูผู้สอนทุกคนควรจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน โดยเน้นผลงานการเรียนการสอน คุณภาพของผู้เรียน พัฒนาการ นวัตกรรม การวัดและประเมินผล เป็นสำคัญ ควรมีการวัดประเมินก่อนเรียนของบทที่ หน่วยการเรียน หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ให้มากขึ้น 

มาตรฐานที่ ๑๓  สถานศึกษามีการบริหาร และจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๓ โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑. โครงการส่งเสริมวิชาการสู่งานอาชีพ ในปีการศึกษา ๒๕๔๙  ได้มีการบริหารโดย สถานศึกษามีการกระจายอำนาจการบริหารงาน เป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์ ใช้หลักการมีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียน โดยรูปแบบการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

๒. กิจกรรม  ๒.๑ การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษา

๒.๒ การปฐมนิเทศผู้ปกครอง

๒.๓ การจัดตั้งหัวหน้าช่วงชั้น

๒.๔ การประชุมประจำเดือน

๓. ผลการดำเนินงาน

                  บุคลากรทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน การจัดการเรียน การสอน การแก้ไขปัญหาภายในสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๘๕

มาตรฐานที่ ๑๔  สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๔  โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑. โครงการส่งเสริมวิชาการสู่มืออาชีพและโครงการสานสัมพันธ์ชุมชนท้องถิ่น โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๙ ได้มีการใช้หลักสูตรสถานศึกษาซึ่งมีสาระวิชา หรือกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะสมให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุขและเลือกเข้าชมรมตามความสมัครใจ โดยมีตัวแทนชุมชน/ผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งทางสถานศึกษามีการส่งเสริม พัฒนาสื่อ อุปกรณ์การเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งมีการนิเทศการเรียนการสอน เพื่อนำผลไปปรับปรุงการสอน และมีส่วนร่วมกับแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๒. กิจกรรม  ๒.๑ นิเทศการสอน

                  ๒.๒ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                        ๒.๓ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

                        ๒.๔ ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา

                        ๒.๕ การจัดทำแผนจัดการเรียนรู้

๓. ผลการดำเนินงาน

                 สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับสถานศึกษา บุคลากรภายในสถานศึกษา ผู้แทนชุมชน/ผู้ปกครองและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมด้านต่างๆ ร้อยละ ๘๐

จุดเด่น
. โรงเรียนกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาโรงเรียน โดยการปรับกระบวนการการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนเป็นสำคัญ และกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำ ได้แก่ ส่งเสริมการสัมมนาและฝึกอบรมครู ติดตามวิเคราะห์ผลการเรียน
จากการวิเคราะห์เอกสารพบข้อมูล ดังนี้
-  ครูผู้สอนจัดให้มีการประเมินผลก่อนเรียน (Pretest) โดยเฉพาะในเนื้อหาวิชาสำคัญโดยพิจารณาจากแผนการสอน เป็นการสำรวจความรู้พื้นฐานผู้เรียนทั้งรายบุคคลและชั้นเรียน แต่ยังมีกิจกรรมนี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการประเมินหลังเรียน (Posttest) ส่วนข้อมูลนักเรียนรายบุคคลสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บข้อมูล
นอกจากนี้การที่ครูเกือบทั้งหมดมีความใกล้ชิดเป็นเสมือนญาติกับชุมชน ที่พักอาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนทำให้มีความใกล้ชิดและทราบข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครองและผู้เรียนค่อนข้างดี
- มีการสำรวจความต้องการของบุคลากรและผู้ปกครองและนักเรียน สำหรับนักเรียนมีการสำรวจว่าต้องการศึกษาแหล่งเรียนรู้หรือทัศนศึกษาที่ใด รวมถึงมีการประเมินผลว่า หลังทัศนศึกษาแล้วนักเรียนได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ?  และมีข้อเสนอแนะอย่างไร ?
-  ด้านแผนการสอน ครูมีการวิเคราะห์หลักสูตรกำหนดการสอน พัฒนาหลักสูตร และทำแผนการสอน ครูทุกคนทำแผนการสอนล่วงหน้า ประจำสัปดาห์ และแผนการสอนในแต่ละภาคเรียน  โดยมีผู้บริหารคอยติดตามให้คำแนะนำ  จากการตรวจสอบพบว่า แผนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดี กิจกรรมการเรียนการสอนมุ่งการแบ่งกลุ่มและบูรณาการเข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนา เช่น วิชาภาษาไทยกับวิชาประวัติศาสตร์ เน้นอภิปรายซักถาม กิจกรรมโครงงาน การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า เช่น ให้เปรียบเทียบ ความแตกต่างการปฏิบัติของบุคคลดี ไม่ดีอย่างไรนอกจากนี้แผนการสอนส่วนใหญ่มีบันทึกหลังการสอน
. กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้มีมาก โดยให้มีรายงานเดี่ยวรายงานกลุ่มและเน้นทักษะการเขียนได้ดีมาก เช่น
- ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ฝึกการค้นคว้า เช่น การทำบรรณานุกรมหรือหนังสืออ้างอิงโดยอาศัยแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือห้องสมุดและสื่อเทคโนโลยีการศึกษา จากรายการดาวเทียมทางธรรมะและการศึกษาทางไกล
- การใช้ประโยชน์จากภายในบริเวณโรงเรียน มีการทำป้ายสุภาษิต คำพังเพย คติพจน์ พุทธสุภาษิต ติดไว้ตามที่ต่าง ๆ
- โครงการเรารักหนังสือ
- จัดการศึกษาด้วยตนเองตามโครงการติวตนเอง เตือนตนเอง
. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนพบว่า มีการใช้สื่อเทคโนโลยีจำนวนมาก เช่น วีดีทัศน์, ซีดี ดาวเทียม  อินเตอร์เน็ต แผ่นพลิก รูปภาพ หุ่นจำลอง  มีการนำบุคลากรที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ โครงการส่งเสริมสุขภาพ ออกกำลังกายแอโรบิก มาช่วยกิจกรรมหน้าแถวทุกวัน  เป็นต้น นอกจากนี้ ครูมีการผลิตสื่อ, อุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมมีจำนวนพอควร
. ด้านการประเมินพัฒนาการผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายนั้นพบว่า กรอบการประเมินมีการวัดทั้ง ๓ ด้าน คือ พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย โดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการประเมิน ได้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง (ให้ครูกัลยาณมิตรร่วมประเมิน) และนักเรียนประเมินเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ส่วนด้านข้อสอบ มีการใช้ข้อสอบอย่างหลากหลายและนักเรียนทำได้ดี
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
- ครูควรใช้สื่อการเรียนรู้ให้มากและหลากหลาย เพื่อประโยชน์ต่อกระบานการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง
- รวมถึงการหาทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อแสดงผลงานจริงของครู

มาตรฐานที่ ๑๕  สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๕  โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑.โครงการส่งเสริมวิชาการสู่งานอาชีพ โครงการส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม โครงการอนุรักษ์ความเป็นไทยและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยจัดการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนกล้าคิดกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างมีเหตุผล

๒. กิจกรรม  ๒.๑ กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ

๒.๒ วันงดสูบบุหรี่โลก

๒.๓ เยาวชนรักความปลอดภัย

๒.๔ การเลือกประธานนักเรียน

๒.๕ เวทีคนกล้า

๒.๖ การแข่งขันวาดภาพระบายสีกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

๒.๗ การประกวดหนูน้อยนพมาศ

๒.๘ การทำบุญประจำปีของโรงเรียน

๓. ผลการดำเนินงาน

๓.๑  ผู้เรียนร้อยละ ๙๕ อ่านได้คล่องแคล่วชัดเจน และสามารถใช้ภาษาไทยในการ              สื่อสารได้ถูกต้อง               

                        ๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐ ร่วมรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก

                        .๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข

มาตรฐานที่ ๑๖  สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อม และการบริหาร ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติ เต็มศักยภาพ

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๖   โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้

๑. โครงการส่งเสริมวิชาการสู่งานอาชีพ  โครงการห่วงใยสุขภาพ โดยในปีการศึกษา 2549 ได้มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของผู้เรียน มีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และเรียนรู้ด้วยตนเอง ในห้องเรียนห้องสมุด การเรียนคอมพิวเตอร์มีห้องปฏิบัติการ ซึ่งจัดและใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานที่

๒. กิจกรรม  ๒.๑ การค้นหาหนังสือโดยคอมพิวเตอร์ 

                        ๒.๒ การเรียนรู้ผ่านบทเรียนสำเร็จรูป

                        ๒.๓ การหาความรู้ทั้งภายในภายนอกสถานศึกษา

                        ๒.๔ การตรวจสุขภาพประจำปี

๒.๕ การเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยด้านการจราจร

๒.๖ การเรียนคอมพิวเตอร์โดยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์สยามคอมพิวเตอร์

๓. ผลการดำเนินงาน

                                ๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๘  ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี

                                ๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๕  ได้รับความรู้จากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

                                ๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๑๐๐ ได้รับความรู้และลงมือปฏิบัติจริงจากระบบคอมพิวเตอร์

                                .๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๘  ได้เรียนรู้ผ่านสื่อทางเทคโนโลยี่

 

มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๑๗  สถานศึกษามีการสนับสนุน และใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๗ โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

๑. งานความสัมพันธ์ชุมชน เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนการใช้ภูมปัญญาท้องถิ่น และการใช้แหล่งเรียนรู้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน

        ๒. กิจกรรม   ๒.๑ การสอนภาษาญี่ปุ่น

                                ๒.๒ การสอนภาษาจีน

                                ๒.๓ การสอนการตัดสติกเกอร์บนกระจก

                                ๒.๔ การสอนภาษาอังกฤษ

๓. ผลการดำเนินงาน 
                                บุคลากร ผู้แทนชุมชน ผู้แทนผู้ปกครองและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ ๘๕โรงเรียนมีการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ภายใต้มาตรฐานและการดำเนินงานได้ผลพอสมควร จากตัวชี้วัดที่  ๒ ส่วนตัวชี้วัดที่    ยังตัองพัฒนาต่อไป เนื่องจากยังจัดทำหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นยังไม่ชัดเจนว่าควรเป็นอย่างไร แต่ก็ได้มีความพยายามให้คณะครูได้ประสานกับกลุ่มผู้ปกครองและชมชุนในเรื่องความต้องการจัดการศึกษาและบริการชุมชนให้มากยิ่งๆขึ้นมาเป็นลำดับ
จุดเด่น
. โรงเรียนได้จัดสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น การตัดสติกเกอร์บนกระจก และให้นักเรียนได้ฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษอย่างได้ผลและต่อเนื่องถือเป็นความต้องการท้องถิ่น ในสังคมเมืองส่วนหนึ่ง 
. โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น มีห้องสมุดหนังสือที่หายากทางพระพุทธศาสนาและการศึกษาที่สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ผู้ก่อตั้งของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ และโรงเรียน มีบรรณารักษ์ประจำและนอกนี้
ยังมี อุปกรณ์และสื่อทางเทคโนโลยี สนับสนุนครูและผู้เรียนอย่างเพียงพอกับการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานเป็นอย่างดี
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
. สถานศึกษาควรจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับ บริเวณโรงเรียนและหลักสูตรท้องถิ่นให้หลากหลายยิ่งขึ้น
. จัดแหล่งความรู้ในสถานศึกษาให้มากขึ้น ควรจัดทำเอกสารสรุปเนื้อหาแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่งไว้ เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ศึกษาหาความรู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
ข้อเสนอเพื่อดำเนินการต่อไป
เนื่องจากโรงเรียนสัมมาชีวศิลป เป็นโรงเรียนเก่าที่ก่อตั้งจากผู้มีคุณวุฒิและเป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชน พ่อค้า คหบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก สมควรเชิญชวนให้บุคคลดังกล่าวได้ร่วมบริจาคเพื่อจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ภายในบริเวณของโรงเรียน จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนและการจัดโรงเรียนเป็นอย่างมาก 

มาตรฐานที่ ๑๘  สถานศึกษามีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการ และองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน

         ตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๑๘  มีดังนี้

๑.  งานความสัมพันธ์ชุมชน โดยสถานศึกษาเป็นแหล่งวิชา วิทยาการ ในการแสวงหาความรู้ และให้บริการชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

๒. กิจกรรม  ๒.๑ การให้บริการห้องสมุดกับชุมชน

๒.๒ การให้สถานศึกษาเป็นสถานที่เลือกตั้งทางการเมือง

๒.๓ การให้สถานที่ชุมชนเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ

๒.๔ การให้สถานศึกษาเป็นที่ฝึกสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวไลยอลงกรณ์

๓. ผลการดำเนินงาน

                        ๓.๑ ผู้ปกครอง/ชุมชนร้อยละ ๒๐ เข้าใช้บริการห้องสมุด

                        ๓.๒ภาครัฐขอใช้สถานที่ในการเลือกตั้งทางการเมือง

                        ๓.๓ ผู้ปกครอง/ชุมชนร้อยละ ๕๐ เข้าใช้บริการลานกีฬาในการออกกำลังกาย

                จุดเด่น
. โรงเรียนได้รับการควบคุมการบริหารจากคณะกรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางการบริหารการศึกษาและพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่น รองประธานซึ่งเป็นนักเรียนเก่าของโรงเรียนฯ ได้ดำรงต่ำแหน่งอดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นับได้ว่านักเรียนเก่าของโรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางศีลธรรมและจริยธรรมตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียน อีกทั้งยังได้รับแรงศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน ชุมชน ผู้ปกครองเป็นอย่างดี ทั้งจากประชาชนบริเวณใกล้เคียง ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารโรงเรียนสัมมาชีวศิลป มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ดี มีวิสัยทัศน์ และเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหลักสูตรศีลธรรม จริยธรรม มาบูรณาการร่วมวิชาสามัญศึกษาได้ทุกระดับ ซึ่งพบว่าบุคคลภายนอก, องค์กรต่าง ๆให้การสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของโรงเรียนทั้งในแง่วิชาการ การบริหารจัดการ รวมถึงบริจาคทุนทรัพย์ และอุปกรณ์การศึกษา ทำให้โรงเรียนพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมมีดังนี้
-
มีการจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งต่างมีภารกิจมากปีละ ๑ ครั้งนอกเหนือการได้พบรายวันเมื่อมารับ ส่งนักเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และให้ผู้ปกครองร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมโรงเรียน
-
กรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ และกรรมการสถานศึกษา จำนวน ๙ คน มีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนและกำหนดนโยบาย, เป้าหมาย โดยกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง
-
ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูบาอาจารย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ต่างเสียสละและอุทิศตนเพื่อการศึกษาและพระพุทธศาสนา เช่น สมัครเป็นอาจารย์พิเศษสอนเป็นวิทยาทานในการอบรมสัมมนาครู, และช่วยเป็นที่ปรึกษาชี้แนะการบริหารด้วยความเอาใจใส่ตลอดเวลา
-
มีการจัดทำระบบข้อมูลศิษย์เก่า เพื่อประสานความร่วมมือในการส่งเสริมกิจการของโรงเรียน มีศิษย์เก่าเข้ามาเป็นผู้บริหารฯ

-         โรงเรียนมีโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ชุมชน โดยการจัดงานทำบุญประจำปี และบรรยายธรรมให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกปี หรือในวันสำคัญทางศาสนา มีผู้ปกครองและชุมชนบริเวณใกล้เคียงต่างมาร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ
. ในด้านการบริการด้านแหล่งการเรียนรู้ ข่าวสารต่อชุมชนนั้น โรงเรียนจัดนิทรรศการให้ความรู้ในวันสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี เพื่อกระตุ้นจิตวิญญาณชุมชน จัดทำข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชน และศูนย์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
-
บริการด้านแหล่งเรียนรู้โดยเฉพาะห้องสมุดประชาชน
-
หน่วยงานราชการและชุมชนมาขอรับบริการด้านอาคารสถานที่        

 

บทสรุป

         หลักสูตรการเรียนในอดีตแม้แต่ในปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่ก็ยังยึดติดกับการสอนด้านวิชาการตามเนื้อหาที่ บังคับให้นักเรียนต้องเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด  เนื่องจากโรงเรียนส่วนใหญ่ได้แปลความประสงค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่ม ออกมาเป็นตัวเนื้อหาทางวิชาการ เป็นตำราและแบบฝึกหัด  ให้ครูนำไปสอนนักเรียน จนครูและนักเรียนต่างก็เกิดความเครียดไม่ต่างกัน  เนื่องจากครูก็ต้องสอนให้หมดทุกเนื้อหาและนักเรียนก็ต้องผ่านการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเนื้อหาที่กำหนดไว้  นี้คือปัญหาใหญ่ที่ไม่ได้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ( Child Centre ) เพราะสังคมผู้ปกครองก็ต้องการ?
         ปัจจุบันโรงเรียนหลายๆแห่งนำเอาเทคนิคการจูงใจและวิธีการกระตุ้นแรงสร้างสรรค์ จากกิจกรรมโครงงาน
หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เป็นปรัชญาการพัฒนาการเรียนรู้ ไปเป็นการสอนเสริมพิเศษที่ทำบ้าง ไม่ทำบางโดยกำหนดเป็นเพียงวิชาส่งเสริมการเรียนรู้เท่านั้นทั้งๆ  นี้คือการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญเบื้องต้นเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง ค้นพบความสามารถ ตามความพร้อมและความถนัดของตนเองเพื่อการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ รู้จักบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย เห็นคุณค่าในการเรียนรู้ การบำเพ็ญประโยชน์ให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และวิธีดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข   

              เพื่อให้โรงเรียนสัมมาชีวศิลปสามารถจัดบริการทางการศึกษา    ได้ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ   จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการ  ให้โรงเรียนมีความมั่นคงในระยะยาว และการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   พร้อมทั้งต้องจัดทำระบบข้อมูลการวางแผน ให้สามารถดำเนินการ เพิ่มรายได้ และจัดสรรงบประมาณสนองความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นของโรงเรียน และบุคลากร ได้ตามเกณฑ์ความพอเพียง   ด้วยการดำรงชีพอย่างเป็นสุข  บนหลักความเสมอภาค และความยุติธรรม โดยการเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคลากร, กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มผู้ที่ให้การบริจาค ที่มีความศรัทธาต่อวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและโรงเรียนฯ    เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียน   โดยเฉพาะการร่วมวางแผน  และควบคุมการบริหารจัดการด้วยความเสียสละ  จะทำให้เขาเหล่านั้นได้มีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจปัญหา ความจำเป็นต่างๆ  อันจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนความต้องการเป็นผู้รับมาเป็นผู้ให้ ปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างมีความสุข และประการสำคัญผู้บริหารโรงเรียนต้องไม่เป็นเพียงนักบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์เท่านั้น  หากต้องเป็นผู้ เสียสละไม่เรียกร้องค่าตอบแทนเกินกว่าการดำรงชีพพอเพียง และเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ชั้นยอด สามารถระดมทรัพยากร บุคคลอาสาสมัครพัฒนาที่มีคุณค่ายิ่งในแต่ละสาขาวิชา   กับทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น  บุคลากรของหน่วยงานราชการ   หน่วยงานพัฒนาเอกชน   องค์กรและสถาบันทางสังคมต่าง ๆ รวมทั้งวัด   และแม้แต่บิดา   มารดาหรือผู้ปกครอง เข้ามาช่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ให้แก่นักเรียนสัมมาชีวศิลปให้มากที่สุด   ด้วยค่าจ้างเพียงเล็กน้อย    จึงคาดว่าวิธีการเช่นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้  ค้นคว้า และค้นพบความรู้ต่างๆ  จากกลุ่มบุคคลต้นแบบที่มีคุณธรรมสูง  ในความรู้สึกแบบญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวตามสภาพแวดล้อมใกล้ตัว     และจะช่วยให้นักเรียนของสัมมาชีวศิลป  เกิดความภาคภูมิใจในการได้รับความเมตากรุณาจากสังคมด้วยตนเอง เป็นการพัฒนานักรียนให้มีทักษะชีวิต และ ล่อหอมให้เขาเหล่านั้นได้ฝังความรู้สึกกตัญญู กตเวที ต่อโรงเรียนและเป็นบุคคลที่ให้ความรัก ตามปรัชญาของโรงเรียน ที่ว่า “ มีศีลธรรม   นำปัญญา  เกื้ออาชีพ “ อย่างมั่นคงยั่งยืนตลอดไป

*************************************