แนวทางการเลือกใช้สื่อในการสอน
MEDIA SELECTION GUIDE

เรียบเรียงโดย นายมนัส ศรีเพ็ญ

ขอขอบคุณ ดร.เลิศลักษณ์ ส.บุรุษพัฒน์ ผู้เขียนบทเรียนโสตทัศน์ศึกษา


โสตทัศน์ศึกษาคืออะไร?
(What is Audio Visual)

โสตศึกษา หมายถึง การเรียนรู้หรือประสบการณ์ทางการศึกษา ซึ่งได้รับจากการได้ยิน, รู้สึก
ทัศน์ศึกษา หมายถึง การเรียนรู้หรือประสบการณ์ทางการศึกษา ซึ่งได้รับจากการมองเห็น,สัมผัส
โสตทัศน์ศึกษา คือการนำเอาสื่อทางภาพและเสียงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ
1. โสตทัศน์วัสดุที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการนำเสนอ ( Non-Projected Materials )
2. โสตทัศน์วัสดุที่ต้องการอุปกรณ์ในการนำเสนอ ( Projectable Materials ) ( ดูรายชื่อ โสตทัศนูปกรณ์การสื่อสาร ที่ตอนท้ายนี้ )

ทำไมโสตทัศน์ศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการสอน ? ตัวอย่างคุณค่าที่เห็นได้ชัดก็คือ
- ช่วยนำสิ่งที่โดยปกติเราไม่สามารถได้รู้ ได้เห็นมาแสดงได้ เช่น สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตได้ถูกบันทึกไว้ศึกษาในปัจจุบันด้วยภาพยนตร์และวีดีโอเทป, สิ่งที่อยู่ห่างไกลบนดวงจันทร์ได้นำมาเห็นด้วยภาพ , สิ่งที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไปดังตัวอย่างต่อไปนี้ ภาพพื้นโลกที่ถ่ายจากดาวเทียม, ผึ้งตัวเล็กๆ ได้ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อการศึกษา, เชื้อโรคหรือสิ่งที่มองไม่ด้วยตาเปล่ามาแสดงได้, จรวดที่เดินทางด้วยความเร็วสูงได้ถ่ายเป็นภาพยนตร์ไว้, สิ่งที่เกิดขึ้นช้ามาก เช่นลูกไก่กำลังออกจากไข่, ดอกไม้หรือต้นไม้กำลังเจริญเติบโต ได้ย่นย่อให้เห็นในเวลาอันรวดเร็วบนฟิล์มภาพยนตร์หรือวีดีโอเทป
- ช่วยให้การติดตามวิทยาการที่ก้าวหน้ามากๆทำได้ไม่ยากนักโดยใช้การติดต่อทางอุปกรณ์การสื่อสาร หรือ อินเตอร์เน็ต ( Internet )
- ช่วยทำให้วิชาที่เรียนน่าสนใจยิ่งขึ้น มีศิลป, สีสันและเทคนิดต่างๆ
- ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ทางการศึกษาของผู้เรียน เช่นการศึกษาด้วยตนเอง
- ช่วยทำให้วิชาการที่ยากกลับง่ายและเข้าใจเร็ว จากคำที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพมีความ หมายมากกว่าคำพูดเป็นพันๆคำ"
- ช่วยแปลความหมายของสัญญาลักษณ์ต่างๆ
- ช่วยครูผู้สอนโดยนำเอาผู้เชียวชาญสาขาวิชาต่างๆ เข้ามาเป็นผู้สอนในชั้นเรียน
- ช่วยให้การเรียนรู้ได้ผลดียิ่งขึ้นและช่วยลดเวลาในการสอนของครูให้น้อยลง

จึงสรุปได้ว่าการนำโสตทัศน์ศึกษาที่ได้ผ่านขั้นตอนการวางแผน, คัดเลือก และผลิตที่เหมาะสมแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา และอาจกล่าวได้ว่าโสตทัศน์ศึกษา เป็นวิทยาการแขนงหนึ่ง ที่มีบทบาทเพิ่มพูนประสบการณ์ การเรียนรู้ให้กว้างไกลนั่นเอง.
การที่เราจะตัดสินใจเลือกว่าควรนำสื่อหรืออุปกรณ์อะไรเข้ามาช่วยในการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียน ที่จะใช้ให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย กล่าวคือต้องสอดคล้องกับเนื้อหาในวิชาที่สอนและเหมาะกับกลุ่มนักเรียนนั้นๆ อย่างสมบูรณ์ จะต้องวิเคราะห์หาข้อมูลให้ครบวงจรว่าจะไม่มีปัญหาในแต่ละขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ การกำหนดจุดมุ่งหมาย, การเลือกสื่อ, การจัดทำเนื้อหา, การดำเนินการผลิต, การเตรียมตัวเอง, สถานที่และอุปกรณ์, วิธีการใช้สอน, จนสุดท้ายจะต้องหาวิธีการประเมินผล.
ดังนั้นการที่จะเลือกสื่อการสอนชนิดใดชนิดหนึ่งมาใช้สอนนักเรียน จัดเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องระมัดระวังให้รอบคอบ มิฉนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคและปัญหาต่างๆนาๆ ทำให้ล้มเหลว เสียเวลาและงบประมาณ ซึ่งจะไปโทษว่าสื่อไม่ดีบ้าง อุปกรณ์ไม่ดีบ้าง แต่เป็นเรื่องของตัวบุคคลเองที่เลือกสื่อไม่เป็น

การเลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์เข้ามาช่วยในการสอน จะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
1. การพิจารณาเบื้องต้นก่อนตกลงใจ ( Based on previous decisions)
- ขนาดของกลุ่มนักเรียน เช่น สอนตัวต่อตัว, เป็นกลุ่มเล็กๆ, เป็นกลุ่มใหญ่
- แหล่งข้อมูลที่จะนำมาให้เรียน เช่น จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ, จากกลุ่มนักเรียน, จากความคิดและประสบการณ์ของเราเอง
- ต้องการให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด
- ต้องการให้นักเรียนได้ทดลองปฎิบัติหรือไม่ ( สอนแล้วนักเรียนสามารถทำได้)

2. การพิจารณาเนื้อหาที่ใช้สอน หรือวัตถุประสงค์ ( Based on content or objective)
- ต้องการการรับรู้ทาง การเห็น, การได้ยิน หรือการสัมผัส
- ต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรือไม่
- จำเป็นที่จะต้องแสดงสีสันให้ชัดเจนหรือไม่ เพื่อความเข้าใจในการเรียนวิชานั้นๆ

3. การพิจารณาการผลิตสื่อ และแหล่งสนับสนุน ( Based on availability of your resources and your needs ) - มีงบประมาณในการบริหารในด้านการจัดหาสื่อและอุปกรณ์อย่างเพียงพอตลอดแผนการสอน
- ผู้สอนมีความสามารถผลิตสื่อได้ด้วยตนเอง
- จะต้องมีช่างศิลปเข้ามาช่วยเหลือในการผลิตร่วมกับผู้สอน
- จะต้องจ้างผู้ชำนาญมาผลิตให้
- จะซื้อหาในตลาดได้ หรือยืม, ขอ จากที่อื่นๆ
- จะต้องไช้ไฟฟ้าในการแสดงหรือไม่
- ผู้สอนสามารถใช้สื่อและอุปกรณ์ได้อย่างดีด้วยตนเอง
- ต้องการทดลองเพื่อจะปรับปรุงแก้ไขใหม่ภายหลังได้ง่าย
- สามารถทำสำเนาเพื่อรักษาต้นฉบับได้อย่างดี
- มีบุคลากรและสถานที่ในการใช้ หรือดูแลเก็บรักษาสื่อและอุปกรณ์ได้อย่างดี

ขั้นตอนการเลือกใช้สื่อดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดเพื่อตัดสินใจว่าควรจะนำสื่อประเภทใหนเข้ามาช่วยในการสอนเท่านั้น แต่สิ่งที่นับว่าสำคัญที่สุดก็คือ การจัดหาซื้อหาในตลาดตรงตามวัตถุประสงค์ได้หรือไม่ ? บางครั้งอาจต้อง ซื้อสื่อแล้วมาเขียนแผนการสอน ถ้าไม่มีขายก็ต้องการผลิตสื่อเองให้เป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะยังมีขั้นตอนในการวางแผนการผลิตสื่ออีกมากมายที่จะต้องคำนึงถึงให้มาก วัสดุสื่อที่ดี จะต้องพิจารณาให้ดีก่อนที่จะนำไปใช้สอนนักเรียน สื่อจะต้องไม่เป็นปัญหาในการใช้กับผู้สอนและผู้เรียน สื่อจะต้องช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นกว่าการสอนในปัจจุบัน หรือต้องสามารถเปลี่ยนทัศนะคติ หรือพฤติกรรมของนักเรียนได้สำเร็จ ดังนั้นการจัดหาหรือจัดทำสื่อจึงเป็นหัวใจสำคัญกว่าขั้นตอนใดๆทั้งสิ้น

ขั้นตอนสุดท้ายในการวางแผนการใช้โสตทัศน์ศึกษาในการเรียนการสอนก็คือ
การจัดหาอุปกรณ์ การตกลงใจว่าจะซื้ออุปกรณ์ใดนั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่จะนำมาตัดสินใจเป็นอันดับแรก อย่างที่ทราบว่าคณะผู้จัดโครงการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่ง ได้กำหนดว่าจะต้องซื้ออุปกรณ์เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ ( Overhead Projector ) เนื่องจากครูได้ถูกส่งไปอบรมมา จึงมักกลับจะนำมาใช้สอนนักเรียนโดยไม่ได้วิเคราะห์สิ่งนั้นจะเหมาะสมเพียงใด เช่น จะใช้และบำรุงรักษาได้ดีอย่างไร ? สื่อจะมีเนื้อหาอย่างไร ? จะสามารถจัดหาหรือผลิตสื่อได้ดีเพียงใด ? จะต้องใช้งบประมาณในการจัดทำสื่อและอุปกรณ์ได้อย่างคุ้มค่าเพียงใด? สิ่งเหล่านี้ขอให้ช่วยนำมาพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิ์ผล ก็คือใช้ไม่ได้ผลนั่นเองแล้วก็ไปลงโทษผู้สอนว่าไม่รู้จักใช้ ทำให้เกิดปัญหา จึงควรพิจารณาในการจัดซื้ออุปกรณ์ ซึ่งถ้ามีเงินแล้ว ซื้อเมื่อใด,เท่าใดก็ได้ทันทีดูเป็นเรื่องง่าย.

****************************

โสตทัศนูปกรณ์การสื่อสาร ( TYPES OF COMMUNICATION MEDIA )

โสตทัศนูปกรณ์มีดังนี้
1. เครื่องฉายภาพยนตร์ ( CINE PROJECTORS )
2. เครื่องฉายสไลค์ ( SLIDE PROJECTORS )
3. เครื่องฉายภาพเลื่อน ( FILM-STRIP PROJECTORS )
4. เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ ( OVERHEAD PROJECTORS )
5. เครื่องฉายภาพทึบแสง ( OPAQUE PROJECTORS )
6. เครื่องฉายคอมพิวเตอร์และเทปโทรทัศน์ (COMPUTER & VIDEO PROJECTORS)
7. เครื่องดูไมโครฟิล์ม ( MICROFILM MONITOR )
8. เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ ( VIDEO TAPE RECORDERS )
9. เครื่องบันทึกเสียง ( AUDIO TAPE RECORDERS )
10. เครื่องขยายเสียง ( PUBLIC ADDRESS SYSTEMS )
11. เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ( RADIO RECEIVERS )
12. เครื่องรับโทรทัศน์ ( TELEVISION RECEIVERS )
13. เครื่องคอมพิวเตอร์ ( MICROCOMPUTER SYSTEM )
14. เครื่องเล่นแผ่นเสียง และ เทปโทรทัศน์ ( AUDIO AND VIDEO DISC PLAYER )
15. เครื่องเล่นแผ่น ซี.ดี. ภาพและเสียง ( COMPACT DISC )
16. เครื่องถ่ายทอดสัญญาณภาพ 3 มิติ ( VISUALIZER )

โสตทัศน์วัสดุแบ่งออกเป็นประเภทดังนี้
1. ไม่ต้องการอุปกรณ์ในการฉาย ( NON-PROJECTED MATERIALS )
1.1 ของจริง และหุ่นจำลอง ( SPECIMENS AND MODELS )
1.2 รูปภาพ และภาพถ่าย ( STILL PICTURES AND PHOTOGRAPHS )
1.3 ภาพโฆษณา (POSTER OR CUT-OUT PICTURES )
1.4 แผนภูมิ และกราฟ (CHARTS AND GRAPHS )
1.5 แผนที่ ( MAP )
1.6 ภาพพลิก (FLIPCHARTS )
1.7 กระดานสักหลาด หรือกระดานผ้าสำลี (FLANNEL BOARD,BULLETIN BOARD, HOOK AND LOOP BOARD )
1.8 หนังสือ เอกสารเล่มเล็กๆ แผ่นพับ ใบปลิว (BOOK,HANDOUT,FOLDER, BULLETIN )

2. ต้องการอุปกรณ์ในการฉาย (PROJECTABLE MATERIALS)
2.1 กระจกฉายสไลค์ และภาพเลื่อน ( SLIDE AND FILM STRIPS )
2.2 ฟิล์มภาพยนตร์ ( MOTION PICTURE )
2.3 ภาพโปร่งใส ( OVERHEAD TRANSPARENCY )
2.4 เทปโทรทัศน์ ( VIDEO TAPE )
2.5 เทปเสียง ( AUDIO TAPE )
2.6 ไมโครฟิล์ม ( MICROFILM )
2.7 คอมพิวเตอร์ ( COMPUTER ASSISTED INSTRUCTIONS )
2.8 แผ่นเสียง และ แผ่นเทปโทรทัศน์ ( AUDIO DISC AND VIDEO DISC )
2.9 แผ่น วิดีโอ.ซี.ดี. และ ดี.วี.ดี. ( VIDEO C.D. & D.V.D. )

 

กลับหน้าแรก