"ชีวิตสุขสบายต้องไม่ไป(ตาย )ก่อน 99 "

สิ่งที่เรามักจะนึกเสียใจก่อนเสียชีวิต
โดย : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร ์
pasu@acc.chula.ac.th



สัปดาห์นี้เปลี่ยนอารมณ์หน่อยนะครับ เพราะพอดีไปเจอบทความเรื่องหนึ่ง โดย Bronnie Ware ซึ่งเป็นนักเขียนอิสระอยู่ที่ออสเตรเลียโดยนักเขียนผู้นี้เคยทำงานดูแลผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าจะเสียชีวิตและกลับไปอยู่ที่บ้านเพื่อรอวันตาย
เธอจะอยู่กับผู้ป่วยเหล่านี้ในช่วงสามถึงสิบสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต โดยในช่วงเวลาดังกล่าว เธอได้มีโอกาสพูดคุย และรับฟังความในใจของผู้ป่วยเหล่านี้ เมื่อถามถึงสิ่งที่เสียใจหรือสิ่งใดๆ ก็ตามที่ถ้าทำได้อยากจะย้อนอดีตไปเปลี่ยนแปลงนั้น เธอพบว่ามีอยู่ห้าประเด็นที่มักจะพบในผู้ป่วยที่กำลังใกล้เสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่ครับ
ประเด็นแรก คือ
ผู้ป่วยเหล่านี้อยากจะมีความกล้าที่จะใช้ชีวิตตามแบบที่ตนเองอยากหรือต้องการจะเป็น
ไม่ใช่ดำรงชีวิตตามความต้องการหรือความคาดหวังของผู้อื่น ซึ่งพบว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยอยากจะเปลี่ยนแปลงมากที่สุดครับ เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยพบว่าชีวิตตนเองกำลังจะสูญเสียไปและมีโอกาสมองย้อนกลับไปในอดีตนั้น จะพบว่ามีความฝันหลายๆ อย่างที่ยังไม่ได้เริ่มต้นทำหรือยังไม่บรรลุและเมื่อใกล้จะเสียชีวิตก็จะพบว่าความฝันของตนเองนั้นจะไม่มีวันบรรลุและส่วนใหญ่ก็มักจะมานั่งนึกเสียใจ เพราะสาเหตุที่ไม่สามารถทำตามความฝันได้นั้นเป็นเพราะตัวเองเลือกที่จะไม่ทำเองตัวเองเลือกที่จะทำตามสิ่งที่ผู้อื่นขีดเส้นทางให้เดิน ถือเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับทุกๆ ท่านนะครับ ที่ในช่วงชีวิตหนึ่ง ถ้ามีโอกาสและเลือกได้ก็ควรจะเดินตามความฝันของตัวท่านเอง เพราะคนเราหนีไม่พ้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อวันนั้นมาถึง เราก็คงจะไม่มีแรงที่จะเดินตามความฝันที่เราต้องการแล้วการมีสุขภาพที่ดีจะช่วยทำให้ท่านเดินตามความฝันได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่สุขภาพท่านเริ่มแย่แล้ว อิสระในการเดินตามฝันของท่านก็จะลดน้อยลง
ประเด็นที่สอง คือ
ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตเหล่านั้น คิดเสียใจว่าในอดีตจะไม่ได้ทำงานหนักเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยชายเกือบทุกคนเลยครั คุณผู้ชายเหล่านี้มักจะเสียใจว่าในอดีตที่ผ่านมาไม่ค่อยได้มีเวลาในการดูแลลูกๆ ของตนเท่าที่ควรรวมทั้งไม่ได้อยู่เป็นคู่ทุกข์คู่ยากภรรยาเท่าที่ควร ผู้ป่วยที่เป็นชายเกือบทุกคนจะรู้สึกเสียดายว่าในอดีตใช้ และให้เวลากับงานมากเกินไป
ข้อสังเกตนี้ก็น่าคิดนะครับว่าในปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับการทำงานมากเกินไปหรือไม่ เราต้องการแสวงหารายได้ ชื่อเสียงเกียรติยศมากเกินไปหรือไม่ สุดท้ายเมื่อเราใกล้ตายเราจะสำนึกเสียใจว่าเราได้พลาดโอกาสดีๆ ในชีวิตที่ไม่มีวันหวนกลับมาหรือไม่การมีรายได้ที่พอเพียงอาจจะเป็นทางออกสำหรับทุกท่านนะครับ อีกทั้งการมีที่ว่างในตารางเวลาและชีวิต ที่ไม่ใช่เรื่องของการทำงานเพียงอย่างเดียวจะทำให้เรามีความสุขขึ้น และเมื่อเราใกล้เสียชีวิตจะไม่มานั่งย้อนนึกเสียใจในสิ่งที่เราพลาดไป
ประเด็นที่สาม คือ
ผู้ป่วยอยากจะกล้าที่จะแสดงอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของตน เนื่องจากคนจำนวนมากจะปิดกั้นอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงของตน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสงบและสันติ ทำให้สุดท้ายแต่ละคนรู้สึกว่าอารมณ์ของตนเองถูกเก็บกด และไม่สามารถเป็นตัวตนที่แท้จริง
ประเด็นที่สี่คือ  
ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตนั้นมักจะเสียใจที่ไม่ได้ติดต่อเพื่อนฝูงเก่าๆเนื่องจากเรามักจะไม่ค่อยเห็นถึงคุณค่าของเพื่อนเก่าๆ จนกระทั่งใกล้เสียชีวิต คนจำนวนมากจะมัวแต่ยุ่งและวุ่นวายกับชีวิตประจำวันจนละเลยต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนฝูง ทำให้เรามักจะไม่ค่อยให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงต่างๆ จนกระทั่งใกล้จะเสียชีวิตก็จะเริ่มนึกถึงเพื่อนฝูงขึ้นมา ดูเหมือนว่าเมื่อคนใกล้จะเสียชีวิต เกียรติยศ เงินทอง หรือสถานะทางสังคมต่างๆ กลับดูไปจะด้อยหรือไร้ความหมายนะครับ สุดท้ายดูเหมือนว่า เรื่องของความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะกลายเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยที่กำลังใกล้ตายนึกถึง
ประเด็นสุดท้าย ซึ่งค่อนข้างน่าแปลกใจ คือ
ผู้ป่วยเหล่านี้กลับสำนึกเสียใจว่าไม่ได้ทำให้ชีวิตที่ผ่านมาของตนเองมีความสุขเท่าที่ควร ผู้ป่วยหลายคนจะไม่เคยนึกถึงมาก่อนนะครับว่าตนเองสามารถที่จะเลือกที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขได้ คนจำนวนมากเลือกที่จะอยู่และปฏิบัติในสิ่งที่คุ้นเคย ความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงทำให้คนเรามักจะหลอกตนเองว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นมีความสุข ซึ่งจริงๆแล้วกลับไม่ใช้ ท่านผู้อ่านจะเห็นได้นะครับว่าเมื่อคนเราใกล้จะตายนั้นเรามักจะนึกย้อนกลับไปถึงอดีต และเริ่มสำนึกเสียใจในสิ่งที่ได้ทำหรือไม่ได้ทำมาในอดีต และเราจะพบว่าเมื่อเราใกล้ตายแล้ว เงินทอง ชื่อเสียง สถานะเกียรติยศต่างๆ กลับไม่มีความหมายสิ่งที่มีความหมายเมื่อใกล้ตาย คือ เรื่องของความรักและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งหลายครั้งกลับกลายเป็นสิ่งที่เราละเลย หรือไม่สนใจในขณะที่เรามีชีวิตอยู่นอกจากนี้ เมื่อใกล้ตาย คนเราจะพบว่าชีวิตในอดีตที่ผ่านมานั้นเรามีสิทธิที่จะเลือก แต่เราดันเลือกในสิ่งที่ไม่ได้ทำให้เรามีความสุข หรือเลือกในสิ่งที่ทำให้เราต้องมาย้อนสำนึกเสียใจเมื่อเราใกล้ตาย

ดังนั้น ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่และยังแข็งแรง เราจะต้องเลือกอย่างมีสติ เลือกอย่างฉลาด เลือกในสิ่งที่ถูก และเลือกในสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขนะครับ...

 

สรุปคำบรรยายจากแพทย์แผนจีน

“เมื่อชีวิตสุขสบาย ต้องไม่ไป (ตาย) ก่อน 99”

            ทุกคนอยากมีชีวิตสุขสบายไร้โรคา ท่านทั้งหลายมาฟังการบรรยายก็มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน ผมขอถามว่า อายุขัยของคนเราสูงสุดคือเท่าไร บางคนบอกว่าสูงสุด 150 ปี ต่ำสุด 120 ปี ซึ่งไม่ถูก มนุษย์เรามีระยะเจริญเติบโต 20-25 ปี อายุขัยเป็น 5-7 เท่าของระยะเจริญเติบโต คือต่ำสุด 100 ปี สูงสุด 175 ปี การจะอยู่ถึงร้อยปีไม่ใช่ฝันอีกแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากอยู่ถึงขนาดนั้นหรือไม่

            จะอยู่ร้อยปีก่อนอื่นต้องมีสุขภาพดี แล้วสุขภาพดีมาจากไหน?  มาจากพื้นฐาน 4 ประการในชีวิตประจำวัน 

ประการแรก คือภาวะจิตที่สงบสุข

ประการที่สอง คือรับโภชนาการที่สมดุล

ประการที่สาม คือออกกำลังกายพอเหมาะ

ประการที่สี่คือนอนหลับเพียงพอ โดยปรกติแล้ว ประการที่สี่ชักจูงให้งดบุหรี่และเหล้า ผมขอแก้เป็นนอนหลับเพียงพอ ดั่งที่โบราณท่านว่า “อดนอนทุกวัน ชีวิตสั้นไป 10 ปี”

             พื้นฐานสุขภาพ 4 ประการ ต้องเรียงตามลำดับ สมัยนี้มีบทความมากมายเขียนถึงเรื่องนี้  แต่ถ้าไม่พูดถึงภาวะจิตใจเป็นประการแรก  แสดงว่าผู้เขียนไม่ใช่มืออาชีพ ไม่ต้องอ่านต่อแล้ว เพราะแพทย์แผนจีนจัดภาวะจิตใจเป็นอันดับหนึ่งในการบำรุงสุขภาพ  กล่าวคือ ภาวะจิตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และผลพวงต่างๆ เกิดจากพฤติกรรม

มองในแง่สรีระ คนเราอยู่ได้โดยอาศัยอวัยวะทั้ง 5 คือ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และไต ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลออกใบมรณะบัตร มักจะระบุสาเหตุการตายว่า หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย เป็น ต้น
                 
ถ้าผู้ป่วยตายด้วยเส้นเลือดหัวใจอุดตัน แสดงว่าเลือดเข้มข้นสกปรก แต่เลือดฟอกมาจากตับ แสดงว่าตับหมดสมรรถภาพในการฟอกพิษหรือกลั่นกรองเลือดให้บริสุทธิ์  ไหลเวียนไม่คล่องตัว ทำให้อุดตันในเส้นเลือด  ผู้ป่วยโรคหัวใจจำนวนมาก ก่อนหัวใจวายมักจะบันดาลโทสะซึ่งเป็นสาเหตุทำลายการทำงานของตับด้วย เพราะฉะนั้น โปรดจำไว้ว่า อย่าโมโหโทโสซึ่งไม่ช่วยแก้ไขปัญหาใดๆ เลย นอกจากทำลายร่างกายท่านั้น ขอฝากคำขวัญให้ทุกท่าน “หัวเราะสามเวลา ห่างไกลโรคและยา หัวเราะสามเวลา หมอต้องผูกคอลา” 

             ทีนี้มาพูดเรื่องโภชนาการ อักษรจีนต้องเขียนตามลำดับก่อนหลัง ภาษาก็เช่นเดียวกัน เราพูดวา “ดุลยภาพแห่งโภชนาการ”หมายความว่า ดุลยภาพต้องมาก่อน โภชนาการจึงตามหลังมา WHO เตือนเราว่า คนเราเกิดโรคมาจากสาเหตุ (1) รูปแบบการดำรงชีวิตไม่เหมาะสม (2) กินอาหารไม่สมดุล หมายรวมถึงมากเกินและขาดแคลน นั่นคือ ไขมันมากเกิน แต่แร่ธาตุและวิตามินขาดแคลน สรุปคือ ไม่รู้จักกิน ทำให้เกิดโรค

           อยากจะถามว่า เรากินอาหารเพื่ออะไร? คำตอบคือ

(1) เพื่อดำรงชีพ

(2) เพื่อป้องกันโรค

(3) เพื่อรักษาโรค บรรดาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เกิดจากการกินทั้งนั้น ในเมื่อกินแล้วทำให้เกิดโรคได้ ก็ต้องกินแล้วรักษาโรคได้เช่นกัน 

            แพทย์แผนจีนเป็นมรดกตกทอด 5 พันปี ให้คนรุ่นหลังใช้รักษาโรค 5 ขั้นตอนขั้นตอน 1 รักษาด้วยอาหาร หมอจะให้สูตรอาหารแก่คนไข้เป็นเวลาหลายเดือน ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 2 กวาดทราย ดูดด้วยสุญญากาศ บีบนวดและดึงดัน ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 3 ฝังเข็ม ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 4  ใช้เหล้าดอง ถ้าไม่ได้ผล ก็จะใช้
ขั้นตอน 5 ใช้ยา ปัจจุบันหมอจะให้ยาทันทีที่คนไข้มาหา เป็นยาย่อมมีพิษ คุณกินยาทั้งเดือนทั้งปี ไม่มีวันที่โรคจะหายขาด

             Socrates บิดาแห่งแพทย์แผนปัจจุบัน เคยกล่าวเตือนว่า “จงกินอาหารให้เป็นยา อย่ากินยาเป็นอาหาร” จีนโบราณก็มีคำกล่าวว่า“ใช้อาหารรักษาโรคดีกว่ายา” แต่ทุกวันนี้มันกลับกันหมด เรากินอาหารวันละ 3 มื้อ กินเพื่ออวัยวะชิ้นไหนกันแน่?

เราอยู่ได้เพราะอาศัยพลังงานจากอวัยวะทั้ง 5 พลังงานของอวัยวะได้มาจากการกิน แต่ทุกวันนี้เรากินตามใจและปาก ชอบอะไรก็กินมันทุกวัน
          
อวัยวะทั้ง 5 ก็เหมือนกับคน มีรสนิยมแตกต่างกัน

· ตับชอบกินสีเขียว
· หัวใจชอบกินสีแดง
· ม้ามชอบกินสีเหลือง
· ปอดชอบกินสีขาว
· ไตชอบกินสีดำ

คำว่าดุลยภาพหมายถึงกินหลากหลายชนิด

             แพทย์แผนจีนใช้วิธี มอง ฟัง ดม ถาม แมะ ก็สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ในที่นี้ก็รวมทั้งการมองดูสี ทั้ง 5 บนใบหน้านั่นเอง ตัวอย่างเช่น

· ตับมีปัญหา สีหน้าจะออกเขียว
· หัวใจมีปัญหา สีหน้าจะออกแดง
· ม้ามมีปัญหา  สีหน้าจะออกเหลือง
· คนไข้หอบหืด สีหน้าจะออกขาว
· คนไข้ไตเสื่อม สีหน้าจะออกดำ

ดังที่กล่าวแล้ว

·      ถั่วเขียวเหมาะสำหรับบำรุงตับ  เพื่อให้ตับขับพิษออกจากร่างกาย แต่ก็ต้องกินให้ถูกวิธี คนทั่วไปมักจะต้มถั่วเขียวจนเละซึ่งไม่ถูกต้อง
วิธีที่ถูกคือ ต้มให้น้ำเดือดประมาณ
5-6 นาทีก่อนที่ถั่วจะแตกเม็ด รินเอาน้ำออกซึ่งจะได้น้ำถั่วเขียวที่มีสีเข้มข้นที่สุด ดื่มแล้วมีสรรพคุณขับพิษสูงสุด จากนั้นเอาถั่วเติมน้ำต้มต่อจนเละกินเป็นอาหาร

· หัวใจชอบสีแดงให้กินถั่วแดง
· ม้ามชอบสีเหลืองให้กินถั่วเหลือง
· ปอดชอบสีขาวให้กินถั่วขาว
·ไตชอบสีดำให้กินถั่วดำ

ทำไมถึงให้กินแต่ถั่ว? เพราะตำรายาจีนมีคำว่า“คนเรากินถั่วทั้ง 5 จะสมบูรณ์พูนสุข” โภชนาการแผนจีนก็เน้นว่า“กินไม่พ้นถั่ว”ขอยกตัวอย่างไม่ค่อยสุภาพ ในชนบทเขาใช้ถั่วดำเลี้ยงปศุสัตว์ ทำให้ไตแข็งแรงมีกำลังวังชา สามารถทำงานหนักเตะปี๊บดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุภาพสตรีควรบริโภคถั่วตลอดชีวิต เพราะนอกจากเป็นประโยชน์ต่ออวัยวะทั้ง 5 แล้ว ในถั่วยังมีสารที่กระตุ้นการทำงานของรังไข่

ต่อไปจะพูดถึงรสชาติ

· เปรี้ยวบำรุงตับ
· ขมบำรุงหัวใจ
· หวานบำรุงม้าม
· เผ็ดบำรุงปอด
· เค็มบำรุงไต

หมายความว่า ต้องกินให้ครบทุกรสชาติอย่างละนิด ให้เกิดสมดุล เช่น
 รสเปรี้ยวบำรุงตับ กินมากตับพัง จีนเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคตับมาก ในจีนเองต้องยกให้มณฑลซันซีครองแชมป์โรคตับ เพราะคนที่นั่นชอบกินน้ำส้มสายชู
รสเผ็ดบำรุงปอด กินมากปอดพังเช่นกัน สถิติกระทรวงสาธารณสุขจีนปีที่แล้วระบุว่า ชาวเสฉวนและชาวหูหนันที่อพยพจากจีนใต้ไปอยู่ภาคเหนือ นำเอานิสัยชอบกินพริกติดตัวไปด้วย นานวันเข้าเป็นโรคมะเร็งในปอดตามๆ กัน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ภาคใต้อากาศชื้น กินเผ็ดป้องกันความชื้นได้ แต่ภาคเหนืออากาศแห้ง กินเผ็ดมากจะทำลายปอด พึงจำไว้ว่า ใครอยู่ถิ่นไหนให้กินของถิ่นนั้น ไม่ใช่ว่ากินของได้ทั่วทุกถิ่น

กินอาหารอย่างไรจึงจะเหมาะ?

ง่ายนิดเดียว มีหลักการจำดังนี้ “สีสัน หยาบ-ละเอียด ดิบ-สุก คาว-เจ”หมายความว่า กินอาหารต้องคละกันหลากสีและรสชาติ หยาบแข็งควบคู่กับละเอียดนิ่ม สุกควบคู่กับดิบ คาวควบคู่กับเจ ขอแนะนำว่า แต่นี้ไปให้กินผักดิบผลไม้สดแต่ละมื้อ ถ้าเปลือกกินได้ก็กินทั้งเปลือกจะยิ่งดี เพราะแพทย์แผนจีนถือว่า กินของดิบลดอาการร้อนใน แพทย์แผนปัจจุบันก็ถือว่า ผักผลไม้สดดิบให้วิตามินดีกว่า

 สุดท้ายจะพูดถึงยาบำรุง

เราไม่ต้องเสียเงินมากมายซื้อยามาบำรุงร่างกาย ผักและผลไม้มีวิตามินสูง ถ้ากินให้ถูกวิธี ก็สามารถดูดซึมวิตามินเพียงพอต่อร่างกาย  สิ่งที่ต้องการคือแคลเซียม ผู้หญิงควรกินแคลเซียมวันละ 3000 มก. ขึ้นไป ผู้ชายกินวันละ 4000 มก. ขึ้นไป พร้อมกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ คนทั่วไปมักเข้าใจผิด คิดว่าแคลเซียมใช้สำหรับรักษาโรคไขข้ออักเสบ ที่จริงแล้วแคลเซียมช่วยกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียน นอกจากนั้น ยังป้องกันเส้นโลหิตแข็งตัว ดังนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรกินแคลเซียมให้เพียงพอ เพื่อให้เส้นโลหิตอ่อนตัว ความดันก็จะลดตาม ยาลดความดันก็ไม่ต้องกินมาก
          ขอฝากคำขวัญให้ทุกท่าน “อยากให้ร่างกายดี กินอาหารถูกวิธี อยากให้สุขภาพเยี่ยม อย่าลืมกินแคลเซียม” อย่าลืม อาหารต้องมาก่อนยา เป็นโรคอย่าพึ่งแต่ยา พึงใช้ยาในยามวิกฤติเท่านั้น
             
ขอส่งท้ายด้วย 4 ประโยคดังนี้
“หมอที่ดีที่สุดคือตัวเรา โรงพยาบาลที่ดีที่สุดคือห้องครัว ยาที่ดีที่สุดคืออาหารมีคุณค่า การรักษาที่ดีที่สุดคือเวลา” หมายความว่า ตัวคุณเองต้องรู้จักรักษาตัวเอง ห้องครัวในบ้านคุณเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุด ยากับอาหารมีความหมายเดียวกัน กินอาหารให้ถูกต้องก็คือยาที่ดีที่สุด การรักษาต้องต่อเนื่อง ไม่ใช่ทดลองแล้วก็หยุด หรือเปรียบเสมือนใช้อวนจับปลา 3 วัน แล้วก็ตากอวนหยุดจับปลา 2 วัน ต้องใช้เวลาเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี

             ท้ายที่สุด ผมขอแนะนำดังนี้

            1.    หลังจากฟังคำบรรยายแล้ว นำไปเผยแพร่แก่ญาติมิตร เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี และเป็นการทบทวนในตัว

            2.    เขียนข้อความ “ก่อนถึงเก้าสิบเก้า ห้ามเข้า(โลง)เด็ดขาด”ติดไว้หน้าเตียง เพื่อเตือนตัวเองกินให้ถูกวิธี

 ก่อนลาจาก ขอให้เราทุกคนตะโกน
“ ยืนหยัดไม่ไป (ตาย) ก่อนอายุ 99 ”

 

******************************** 

ป้องกันไตเสื่อม


อย่าเข้าใจว่า ขอบตาดำ เกิดจากนอนน้อย นอนดึก เท่านั้น ร่างกายจะมีสัญญาณบอกความผิด ปกติ ที่เกิดขึ้นเสมอ แต่เราไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่า ร่างกายต้องการบอกอะไร
คนที่ขอบตาดำ พึง
ระวังไว้ครับ ว่าร่างกายกำลังเตือนว่า ไตกำลังจะเสื่อม !  
ไม่ว่าอายุแค่ไหน หนุ่มสาว หรือ แก่ชรา ล้วนมีสิทธิไตเสื่อมด้วยกันทั้งนั้น ผมพูดถึงไตเสื่อมนะครับ ไม่ใช่โรคไต ไตทำหน้าที่กรองของเสียในร่างกาย ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในหน้าที่หลายๆ อย่างของไต จึงสรุปสั้นๆว่า ไตเปรียบเหมือน GM หรือ ผจก. ของร่างกาย คนยุคปัจจุบัน ทำร้ายไตตัวเองโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่ากินอาหารที่ปรุงแต่งมากเกินไป ( เค็ม-มัน- เผ็ด มาก ฟาสฟู้ด-อาหารสำเร็จรูป – แช่แข็ง-อาหารอุตสาหกรรม ฯลฯ ) ร่างกายเสียสมดุล อีกทั้งการใช้ชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับเวลาที่ถูกต้อง นอนน้อยเกิน นอนมากเกิน นอนไม่เป็นเวลา ไม่ออกกำลังกาย ( รวมถึงออกกำลังไม่เหมาะกับสภาพร่างกายตัวเอง) เครียดมาก กดดันมาก รีบเร่งมาก ฯลฯ  


คนยุคปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะไตเสื่อมมากขึ้น และให้สังเกตร่างกายตัวเองดังต่อไปนี้

1. อ่อนเพลียบ่อย ขาดความกระตือรือร้น

2 . นอนไม่ค่อยหลับ หรือ หลับไม่สนิท

3. ปัสสาวะบ่อย หรือ กะปริดกะปรอย
4. ปวดตามตัว เป็นตะคริวบ่อย
5. จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
6. ซึมเศร้า ปวดหัวง่าย ขี้ลืม ขี้วิตกกังวล
7. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว ประจำเดือนไม่ปกติ
8. ขอบตาดำคล้ำ ผมหงอก ผมร่วงก่อนวัย

จริงๆมีเยอะกว่านี้ เอาแค่นี้เช็คตัวเองก่อนแล้วกัน ไม่ได้หมายความว่าต้องมีอาการแบบนี้ทั้งหมด แต่โดยรวมแล้วมีปรากฎให้เห็นกับตัวเอง

อะไรบ้างที่ทำให้ไตเราเสื่อม


1. ใช้ชีวิตขาดสมดุล : น้อยไม่พอ ทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ เที่ยวกลางคืนหนัก หมกมุ่นความบันเทิง ฯลฯ
2. เพศสัมพันธ์ : มีเพศสัมพันธ์มากเกินควร และหลั่งอสุจิมากเกินควรทำให้ร่างกายเสียพลังโดยเปล่าประโยชน์ และไตจะอ่อนแอลง
3. การทานยารักษาโรคนานๆ หรือปริมาณที่มาก : ทั้งยาแก้ปวด ยาคุมฯ ยาแก้หวัด แก้ไอ แก้เครียด ซึ่งแม้โรคจะหายแต่ไตจะมีเคมีของยาตกค้างอยู่ ยังมีอีกเยอะครับ แต่แค่นี้คงครอบคลุมแล้วลองดูตัวเองว่าเป็นอย่างไร มีอาการตามที่ว่าหรือไม่

การแก้ไข

ง่ายสุด คือ ปรับพฤติกรรมตัวเอง ทั้ง การนอน การกิน การอยู่ หนึ่งวันมี 24 ชม. ให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนละ 8 ชั่วโมง ทำงาน
8 ชั่วโมง ส่วนตัว 8 ชั่วโมง (เที่ยว พักผ่อน ดูทีวี สันทนาการ ออกกำลังกาย) นอน 8 ชั่วโมง หมอจะกำไรมากขึ้นจากการรักษาคนป่วย แต่คนป่วยจะไตพังกันมากขึ้น จากการกินยา แล้ววนมาให้หมอรักษาไตอีก
ดังนั้น ต้องตัดสินใจเองว่าจะบริหารจัดการชีวิตตนเองอย่างไร ที่ไม่เสียงาน ไม่เสียสุขภาพ

นอกจากนี้ ผมมีข้อแนะนำ ดังนี้ครับ
1. ปรับวิธีการออกกำลังกาย แอโรบิคก็เป็นการออกกำลังที่ดี แต่ช่วงที่ร่างกายขาดสมดุล จึงไม่แนะนำให้เล่นต่อ เพราะอาจทำให้คุณสูญพลังมากขึ้น อยากให้คุณฝึกโยคะกับครูผู้ชำนาญ ซึ่งหาเรียนได้ไม่ยากในเวลานี้ ( ห้ามฝึกเองจากหนังสือ หรือ
ซีดีเด็ดขาดนะครับ จะเสียมากกว่าได้ )

การฝึกโยคะ ไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เรื่องความสวยงาม แต่เป็นการปรับสมดุลของระบบภายในร่างกาย ช่วยฟื้นฟูสภาวะที่ผันแปรต่างๆให้เข้าที่ แต่ต้องฝึกอย่างมีวินัย และมีสมาธิ นอกจากนี้ หากมีฝึก ชี่กง ควบคู่ไปด้วย จะเห็นผลดี และเร็วขึ้น หากรู้สึกว่า ยากหรือห่างตัวเกินไป ก็ให้เลือกการว่ายน้ำ โดยว่ายอย่างเบาๆ แต่ต่อเนื่อง ในเวลาที่พอสมควร ( เหนื่อยให้หยุดพัก ห้ามฝืนต่อ ) คุณไม่ได้ไปแข่งกับใคร คุณกำลัง
บำบัดตัวเอง

2. ปรับอาหาร : งดเนื้อสัตว์ย่อยยาก วัว หมู ไก่ เป็ด ของเผ็ด ของเย็น (ไอสครีม น้ำแข็ง ) ของมัน ของทอด ให้ทานปลาทดแทน และทานผักสด ที่ปรุงน้อย (เช่นสลัด)มากขึ้น ทานพวกถั่วแดง งาดำ ข้าวโพด ข้าวกล้อง ดื่มน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติ (ห้ามดื่มน้ำเย็น) และงด
เครื่องดื่มของมึนเมา น้ำอัดลม นม น้ำอุตสาหกรรม (ชาเ ขียว ชาขาว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง)

3. อยู่ห้องแอร์ให้น้อยลง อยู่หน้าจอคอม จอโทรทัศน์ให้น้อยลง หาเวลาอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น (เดินเท้าเปล่าในสนามหญ้าได้จะดีมาก)
จะเห็นว่าที่แนะนำไป ดูเบสิคมากเลยใช่มั้ยครับ แต่ทำยากมากเลย นี่ล่ะครับ ผมถึงบอกว่าคน ในยุคนี้ป่วยกันมากขึ้น เพราะมีพฤติกรรมทำลายวงจรธรรมชาติของตัวเอง อาการผิดปกติที่แสดงออกทางร่างกาย ไม่ว่าพฤติกรรม หรือความรู้สึก ล้วนสัมพันธ์กับไต

ไตเหมือนแบตเตอรี่ที่มีค่ายิ่งของมนุษย์ เป็นผลึกแก้ววิเศษที่มีค่ามหาศาล แต่ก็เปราะบางยิ่งนัก และง่ายต่อการแตกร้าว วิธีการดูแลรักษาไม่ยากสำหรับคนในยุคก่อน แต่ยากยิ่งสำหรับคนยุคนี้ นั่นคือ "คล้อยตามธรรมชาติ" คนสมัยก่อน ตื่นเช้า นอนแต่หัวค่ำ
ทานอาหารสดใหม่ไม่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม ดื่มน้ำบริสุทธิ์ ใช้กำลังกายมากกว่าพึ่งพา สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ในขณะที่คนยุคนี้ นอนดึกเป็นกิจวัตร (ทำงาน , ดูบอล , ดูโทรทัศน์ , เที่ยวกลางคืน) ทานอาหารปนเปื้อน แปรรูป ดื่มน้ำอัดลม พึ่งพาเทคโนโลยีจนเกิน
ความจำเป็น ฯลฯ

อาการไตเสื่อมจะเกิดใน 2 ลักษณะ แยกเป็น ไตหยิน กับ ไตหยาง  


อาการไตหยาง หรือ ไตหดตัวแน่น
- นอนไม่หลับ หรือ หลับๆตื่นๆ
- นอนกัดฟัน ฝันร้ายบ่อย
- อสุจิเคลื่อนตอนนอน
- เป็นเหน็บชาบ่อย ฯลฯ

โดยมีสาเหตุมาจาก
1. กินรสเค็มจัด หรือ เนื้อย่าง ปิ้งไฟ หรือ พวกเนื้อแห้ง แดดเดียวบ่อยๆ
2. การทำงาน หรือ การใช้ชีวิตที่ขาดระเบียบ
3. การนั่งทำงานหรือนั่งรถนาน

ส่วนอีกลักษณะคือ ไตหยิน หรือ ไตคลาย

- เฉื่อย ชา เกียจคร้าน
- ความต้องการทางเพศต่ำลง
- ปวดเมื่อหลัง เอว
- ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน
- นอนตื่นสาย ไม่อยากตื่น
- อารมณ์อ่อนไหวง่าย
- ขี้หูมาก
- เหงื่อออกเยอะผิดปกติ
ตามปกติแล้ว กลางคืน ไต ซึ่งเป็นอวัยวะธาตุน้ำ หรือ "หยิน" จะทำงานมากกว่ากลางวัน
 
( สังเกตว่าตื่นเช้าเราจะปวดปัสสาวะก่อนเป็นอันดับแรก)

ดังนั้น เมื่อเราใช้ชีวิตที่เพิ่มปัจจัย "หยิน" ในชีวิตประจำวันมากจนเกินดุล ไตจึงยิ่งทำงานหนักขึ้น (อาการหยินที่เกิด เช่น ขี้เกียจ อยากนอนตลอดเวลา ปัสสาวะบ่อย เซื่องซึม สีหน้าซีดเซียว ขอบตาคล้ำ หงุดหงิดขี้รำคาญ เป็นต้น)

การใช้ชีวิตที่ไปเพิ่มปัจจัยหยินได้แก่

- การดื่มน้ำเย็นเป็นนิสัย รวมทั้ง น้ำแข็ง ไอสกรีม หวานเย็น และอาหารลักษณะนี ้
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
- การสวมใส่เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ ซึ่งมีไฟฟ้าสถิตย์
- การอาศัยอยู่ในที่เย็นนานๆ เช่น ห้องแอร์ ดังนั้น คนที่ทำงานในออฟฟิศที่เปิดแอร์ทั้งวัน ควรหาเวลาเดินไปข้างนอกเปลี่ยนอากาศบ้าง หรือ ใส่เสื้อแจ็คเก็ต ( ควรเป็นผ้าธรรมชาติ เช่น คอตตอน ) และ หาโอกาสอกกำลังกายกลางแจ้งบ้าง สำหรับคนนอนห้องแอร์ ควรสวมเสื้อผ้า ห่มผ้าให้อบอุ่น
- การนั่งรถนานๆ โดยเฉพาะบนเส้นทางที่รถติดมากๆ ยิ่งเพิ่มปัจจัยหยินมากขึ้น
- นอนไม่เป็นเวลา ทำงานไม่เป็นเวลา นอนน้อย หรือ นอนผิดเวลา

สำหรับคนที่นอน และ ทำงานผิดเวลา

ตามหลักวงจรธรรมชาตินั้น กลางวัน คือ เวลาสำหรับทำงาน เรียนหนังสือ
กลางคืน คือ สำหรับพักผ่อน นอนหลับ (หยางเคลื่อนไหว หยินสงบนิ่ง)
การใช้ชีวิตที่ผิดวงจรนั้น จะส่งผลถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจ อย่างแน่นอน แม้จะยังไม่แสดงตัวออกมาอย่างเต็มที่ นั่นเพราะ ตัวคุณมี "ทุน" ที่ยังค้ำยันอยู่ แต่ ทุนจะหมด เพราะการใช้ชีวิตที่ผิดสะสม

อาหารที่ควรเลือกรับประทานเป็นหลัก ได้แก่

1. ข้าวกล้อง
2. สาหร่ายทะเล
3. ถั่วแดง ผักสด ผลไม้ไม่หวานและ น้ำน้อย
4. เต้าเจี้ยว

หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิต ดังนี้

1. การใส่รองเท้าส้นสูง
2. การนั่งหรือนอนบนเก้าอี้ที่แข็ง หรือ นุ่มเกินไปผิดรูปกายภาพ (เก้าอี้ หรือ เตียง ดีไซน์เก๋ๆ ที่
นิยมกันในหมู่คนรุ่นใหม่) ควรเลือกแบบที่ไม่แข็ง ไม่นุ่ม กำลังดี อย่างที่นอนใยมะพร้าว

การใช้ชีวิตที่ควรปรับเพิ่ม

1. พยายามอย่านั่งหลังงอ
2. อย่านั่งนานๆ หรือ อย่าอยู่อย่างเฉื่อยชานานๆ นึกขึ้นได้ให้ขยับตัว เคลื่อนไหว เปลี่ยน อิริยาบถ 

**********************************