อนุโมทนาแด่ผู้ศรัทธาบริจาค
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ

เรียบเรียงโดย  นายมนัส  ศรีเพ็ญ กรรมการเลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ

 

                สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จากผู้ริเริ่มประกอบด้วย หลวงปริญญาโยควิบูลย์,  พระยาอมรฤทธิธำรง,  พระปวโรฬารวิทยา,  พระสงครมภักดีและพระอร่ามรณชิต จัดตั้งมูลนิธิชื่อว่า สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ  เมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๒ และได้จัดตั้งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ ที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป ที่ริมอ่างเก็บน้ำบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
             
คณะผู้ก่อตั้งได้ปรารภกันเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศไทย ในช่วง ปี พ.ศ. 2470 รวมกับความวิตกกังวลต่อการสืบพระพุทธศาสนา เนื่องในโบราณกาลวัดเคยเป็นโรงเรียนไปด้วยในตัว เยาวชนที่ปรารถนาจะเล่าเรียนต้องไปอยู่ที่วัด โดยขอเข้าเป็นศิษย์ของพระภิกษุ มีการสอนอ่านและเขียน สอนคำนวณ เป็นลูกมือรับใช้ซ่อมแซม  ถือเป็นการเรียนวิชาช่าง  ฝึกสวดมนต์และฟังธรรมตามโอกาส จึงไม่มีสิ่งชักนำไปในทางชั่ว

ต่อมาเมื่อรัฐจัดการศึกษาตั้งโรงเรียนขึ้น แทนการส่งเด็กไปวัด เราก็ส่งไปโรงเรียน การศึกษาวิชาการได้เพิ่มขึ้น แต่การศาสนาคงทิ้งไว้ในวัด สิ่งแวดล้อมก็มีการยั่วยวนให้ลุ่มหลงไปในทางอบายมุขมาก จึงไม่ สามารถช่วยตัวให้ดำเนินชีวิตไปอย่างดีได้ยาก ทำให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับการศึกษาดีแล้ว กลับมีคุณธรรมต่ำกว่าผู้ไร้การศึกษาในชนบท   ซึ่งความจริงคนชนบทเขาหาได้ไร้การศึกษาไม่ หากเขามีการศึกษาตามแบบเก่า ไม่มีหลักสูตร มีแต่การเรียนและปฏิบัติจริงตามธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ตนอยู่ ซึ่งสร้างคุณธรรมประกอบด้วยคติธรรมตามพระพุทธศาสนาให้เขา  ด้วยถ้าผู้ได้รับการศึกษาสูงเป็นคนโกง ก็ยิ่งเบียดเบียนคนอื่นได้มาก  เพราะคนฉลาดมักเอาคนด้อยการศึกษาเป็นเหยื่อเพื่อประโยชน์ของเขา  ซึ่งสอดคล้องกับสำเนาพระราชหัตถเลขาของ สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ฉบับที่ 52 เรื่อง “ สอนธรรมแก่เด็กนักเรียน ” ที่พระราชทานแก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร ลงวันที่ 24 กรกฎาคม ร.ศ.117 ความว่า  “ เรื่องการศึกษานี้ ขอให้ทรงช่วยดัดให้มากๆ จนถึงรากเหง้าของการศึกษาในเมืองไทย ....... การสอนศาสนาในโรงเรียนทั้งในกรุงและหัวเมืองจะต้องมีขึ้น ให้มีความวิตกว่าเด็กชั้นหลัง จะห่างเหินจากศาสนาจนกลายเป็นคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น...... ต่อไปภายหน้าถ้าจะเป็นคนที่ได้เล่าเรียน คงจะประพฤติตัวดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่าเรียนนั้นหาถูกไม่   คนที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินตาม ......   ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่ใคร่คล่อง หรือ โกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้นและโกงพิสดารมากขึ้น......

 

ด้วยการบริหารประเทศไทยในอดีต  มิได้ให้ความสำคัญเรื่องการจัดการศึกษาให้กับประชาชนที่เป็นชาวบ้านทั่วๆไปมายาวนาน.......


.......... นโยบายของคณะผู้ก่อตั้ง ที่ส่งเสริมการศึกษาควบคู่ไปกับพระพุทธศาสนา จนถึงปัจจุบันนี้

นับจากที่ก่อตั้งสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จนปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่าหกสิบกว่าปี ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 14,000.00 บาท ปัจจุบัน ณ.ปี พ.ศ.2555  สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 169,565,178.79  บาท
( หนึ่งร้อยหกสิบเก้าล้านห้าแสนหกหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบแปดบาทเจ็ดสิบเก้าสตางค์ ) แบ่งออกเป็นมูลค่าที่ดินและอาคาร 139,205,000.00 บาท และเงินสดมูลค่า 30,360,158.79 บาท  

                อะไรเป็นปัจจัยทำให้สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ  ได้รับการรับรองจากกรมสรรพากร ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์กรสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7) (ข) ด้วยในระเบียบองค์กรสาธารณกุศล มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นมูลนิธิที่ดำเนินการไม่แสวงหาผลกำไร และจะต้องนำรายได้ไม่น้อยกว่า 80 เบอร์เซ็น ใช้จ่ายออกไปเพื่อด้านสาธารณกุศลเท่านั้น จะเอาไปใช้ด้านบริหารหรือเก็บสะสมมิได้ แต่ด้วยที่ตั้งสำนักงานสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ก็คือพื้นที่โรงเรียนฯ พนักงานก็คือเจ้าหน้าที่โรงเรียน จึงกล่าวได้ว่า รายจ่ายทั้งหมด 100 เบอร์เซ็น จ่ายไปตามวัตถุประสงค์ในตราสารทั้งสิ้น แต่ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาตลอด คือ  

                1. คณะผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้บริหารที่ผ่านมาจำนวน 30 กว่าคณะ ได้เข้ามาร่วมบริหารด้วยความเสียสละทั้งความสามารถและทรัพย์ส่วนตัว โดยไม่รับค่าตอบแทนไดๆทั้งสิ้น จากตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินกิจการ ( ตามตราสารมูลนิธิฯ ) ทำให้ประหยัดเงินค่าบริหารจัดการได้หลายล้าน.......

                2. หลวงปริญญาโยควิบูลย์และทายาท ได้เป็นกำลังหลักในการบริหารและให้การบริจาคที่ดินส่วนตัวและสร้างอาคารชมอุทิศที่จังหวัดชลบุรี เพื่อใช้เป็นสถานที่ดำเนินการ ด้วยปัจจุบันกรมสรรพากร มีระเบียบการแสดงงบดุล ให้ทรัพย์สินส่วนของอสังหาริมทรัพย์ สามารถให้บริษัทรับอนุญาตเป็นผู้ประเมินทรัพย์สินใหม่ตามมูลค่าการซื้อขายในแต่ละพื้นที่  ขึ้นต่อความเจริญทางธุรกิจได้  จึงทำให้มูลค่าทรัพย์สิน ส่วนที่เป็นที่ดินและอาคารของโรงเรียนสัมมาชีวศิลปทั้งสองแห่ง ได้รับการประเมินใหม่และมีมูลค่าสูงขึ้นจากราคาซื้อปัจจุบัน..

             3. ผู้ศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1 บริจาคเพื่อสนับสนุนการบริหารโดยตรง จัดเป็นการบริจาคให้นำไปใช้ทั้งสิ้น เและกลุ่มที่ 2 การจัดตั้งเป็นกองทุนบุญญนิธิ ฯ   ไว้เป็นอนุสรณ์ส่วนตัวหรืออุทิศบุญกุศลให้แก่บุพการี  ตามนโยบายสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ฯ เงินส่วนนี้มูลนิธิฯ ได้นำเอาเพียงดอกเบี้ยไปเป็นค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์มูลนิธิ

ทำให้มีกองทุนเงินสดสะสมเพิ่มขึ้นทุกๆปี และปัจจุบันกองทุนบุญญนิธิ ฯ   ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 มีเงินสะสมทั้งสิน 14,923,453.04 บาท  และเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ  ได้นำเงินสดจำนวน 20 ล้าน ไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง อัตราดอกเบี้ยร้อยละ3.99 ต่อปี  ซึ่งเงินสดในชื่อกองทุนจะยังคงจารึกไว้ตลอดไป  

4. บุคลากรสัมมาชีวศิลป ทุกระดับต่างล้วนให้ความร่วมแรงร่วมใจอาสา ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักเมตตาธรรม และควบคุมการดำรงชีพแต่พอเพียง ไม่เรียกร้องค่าตอบแทน ด้วยการสร้างความสุขจากการทำงานตามคำสอนในพระพุทธศาสนามายาวนานตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง

คณะกรรมการอำนวยการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารการศึกษาอันนับเป็นพลังสำคัญหลักเพื่อเข้ามาช่วยการบริหารจัดการพัฒนาโรงเรียนทั้งสองแห่ง มายาวนานกว่า 60 ปี 
             แต่ปัจจุบัน
ได้กำหนดให้มีพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550  ออกมาบังคับให้การบริหารโรงเรียนเอกชน ว่าต้องเป็นนิติบุคคลและจัดให้มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนขึ้นมาใหม่ มีผลตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2553  ทำให้โรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ  จะต้องมีการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550  และต้องมีการตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษาทางวิชาการโดยคณะกรรมการจากกระทรวงศึกษาธิการ และตรวจประเมินคุณภาพในแต่ละระดับตามมาตรฐานการบริหารโรงเรียน  จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  ( สมศ. )  ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายนอกได้ตรวจรับรองอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย ................  

ผลกระทบอันมาจากพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550  ถือเป็นการรอนสิทธิต่อเจ้าของโรงเรียนเอกชนที่ได้ดำเนินการมาก่อนทั้งหมด ในการที่เคยได้เป็นผู้รับอนุญาตให้บริหารจัดการโรงเรียนฯ โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่เก่า  กลับถูกรอนสิทธิการบริหารส่วนตัวเดิมไปเป็นนิติบุคคล และจะต้องจัดหาเงินทุนสำรองให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนได้ใช้จ่ายให้เพียงพอตลอดในการดำเนินกิจการ อีกทั้งต้องโอนอำนาจใช้ทรัพย์สินส่วนที่เป็นพื้นที่โรงเรียนทั้งหมดไปเป็นโรงเรียนนิติบุคคลตามกฎหมายใหม่ ไม่น้อยกว่า 10 ปี  ( ปัจจุบันมี พรบ.ฉบับืั้ 2 แก้ยกเลิกการโอนทรัพย์สินแล้ว สรุปคือมูลนิธิต้องใช้เงินไปปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่โรงเรียนสัมมาฯ ทั้งสองแห่งมาลอด ) ซี่งในช่วงแรกนั้นจึงเป็นเหตุให้โรงเรียนเอกชนเก่าๆ หลายโรงเรียนต้องปิดตัวลง  เช่น ตัวอย่างต่อไปนี้

เรียน ศิษย์เก่า ศ.น.ทุกท่าน

             โรงเรียนศึกษาสมบูรณ์อนุสรณ์ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี๒๔๐๔ ด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้าของ อาจารย์ พรรณี อินทรางกูร ณ อยุธยา(คุณยายแหม่ม)ผู้ก่อตั้ง ที่ได้ทุ่มเทเสียสละ กำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาส และคุณภาพทางการศึกษาแก่เด็กๆในย่านนี้ รวมระยะเวลาประมาณ ๕๐ปีแล้ว โรงเรียนได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพ มาตรฐานระดับดีมาก สอดคล้องกับอุดมการณ์และหลักการจัดการศึกษาตามพัฒนาการของเด็ก ดำเนินการตามมาตรฐานของความรัก ความเมตตามากกว่าเหตุผลทางธุรกิจมาโดยตลอด ศิษย์ทุกรุ่นมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีจริยธรรมอันดี

             แต่ในระยะหลังๆนี้   โรงเรียนได้รับผลกระทบมากมายขึ้นหลายด้าน ทั้งจากกฎหมาย และนโยบายของรัฐ และจากการสภาพการแข่งขันในด้านการศึกษาที่เกินพอดี โดยเฉพาะปัญหาจากทางภาครัฐ เช่น เงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้ของพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.๒๕๕๐ นโยบายเรียนฟรี๑๕ปี นโยบายเเจกฟรีของโรงเรียนสังกัด กทม. นโยบายการให้เปิดโรงเรียนใหม่ในบริเวณที่มีโรงเรียนเดิมหนาแน่นอยู่แล้ว นโยบายการรับครูเข้ารับราชการระหว่างปี ปัญหาขาดแคลนครูและลดโอกาสในการประกอบวิชาชีพครู เป็นต้น และปัญหาการแข่งขันอย่างรุนแรงของโรงเรียนเอกชน และปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้โรงเรียนประสบปัญหาสภาวะจำนวนนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่อง และยังมีปัญหาสุขภาพของผู้บริหารอีกด้วยจากเหตุผลดังกล่าว จึงเห็นว่าควรจะปิดกิจการตั้งแต่จบปีการศึกษา๒๕๕๔เป็นต้นไป

 

ดร. วีรวัฒน์ วรรณศิริ อุปนายกฝ่ายบริหารสมาคม สภาการศึกษาเอกชน และ นาย สมศักดิ์ อัมพรวิศิษย์โสภา ประธานชมรมผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชน กล่าวว่า กลุ่มครู ผู้บริหาร และผู้ได้รับผลกระทบจากพระราชบัญญัติโรงเรียน พ.ศ.2550 กว่า 1,500 คน ซึ่งได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเร่งรัดให้ที่ประชุมสภานำร่างแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาอย่างเร่งด่วน
       ดร.วีรวัฒน์ กล่าวว่า สมาคม ร.ร.เอกชน พยายามให้การแก้ไข พ.ร.บ.ร.ร.เอกชน เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เพราะหากไม่ทันอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของ ร.ร.เอกชน   

นาย สมศักดิ์ อัมพรวิศิษย์โสภา ประธานชมรมผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชน กล่าวว่า        “มีโรงเรียนเอกชนที่ได้รับความเสียหายจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้กว่า 4,000 โรง ผู้ประกอบการมีความรู้สึกไม่มั่นคงขอปิดกิจการไปแล้ว 13 โรง และมีจะขอปิดตัวในปีการศึกษาหน้าอีก 100 กว่าโรง เพราะไม่มั่นใจใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ หากไม่มีการแก้ไขอาจส่งผลให้คนตกงานเพิ่มขึ้น” นายสมศักดิ์ กล่าว

ทำไมโรงเรียนสัมมาชีวศิลปทั้งสองแห่งยังสามารถดำเนินการอยู่ได้ ?  เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกราบเรียนมายังท่านผู้มีพระคุณได้ทราบ คือ

1 การกำหนดให้โรงเรียนฯ เป็นนิติบุคคล ไม่มีปัญหาต่อโรงเรียนสัมมาชีวศิลป เพราะมิได้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ใด แต่เป็นของประชาชนผู้บริจาคทั่วไปอยู่แล้ว  และสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ก็อยู่ในฐานะผู้รับใบอนุญาต จึงได้เป็นผู้จัดทำตราสารนิติบุคคลโรงเรียนฯ ทั้งสองแห่งโดยให้มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปเขียนไว้เป็นหลักสำคัญ

2 การบริหารโรงเรียน ฯ มีประธานมูลนิธิฯ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตเป็นประธานกรรมการบริหารแล้ว ก็ได้แต่งตั้งกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เข้าไปร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และได้เขียนกำหนดไว้ในตราสารโรงเรียนฯ ให้กรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงเรียนฯ , ให้กรรมการกิตติมศักดิ์ฯ เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนฯ และให้เจ้าของทุนบุญญนิธิ หรือ ทายาทเป็นผู้อุปการะโรงเรียนฯ

3 การบริหารงบประมาณ  มีปัญหาต้องจัดทำประมาณการงบประมาณประจำปีในรูปขาดดุล ในระยะต้นๆ นี้  ด้วยพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542   เพื่อปฏิรูประบบการศึกษาใหม่ กับ พ.ร.บ. การศึกษาเอกชน พ.ศ. 2550 ทำให้การบริหารโรงเรียนต้องมีงบประมาณในการพัฒนาปรับปรุงใหม่ เช่น  ด้านการบริหารจัดการ, การเรียนการสอน, การพัฒนาคุณวุฒิบุคลากรและปรับเงินเดือนตามวุฒิ, การพัฒนาครุภัณฑ์สื่อการสอน , การพัฒนาอาคารสถานที่ ฯลฯ  ซึ่งต้องใช้จ่ายงบประมาณสูงกว่ารายได้จากเงินอุดหนุนและค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต่ำกว่าโรงเรียนเอกชนทั่วๆไป ด้วยเป็นโรงเรียนการกุศลที่ไม่แสวงหากำไรทางธุรกิจ ...............    

สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ  ได้โอนเงินสดเป็นทุนสำรองให้โรงเรียนๆ ละ 3 ล้านบาท ตามตราสารโรงเรียนฯ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมโครงงานพิเศษต่างๆ ของการเรียนการสอนด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมประจำชาติ ให้เป็นไปตามแผนที่โรงเรียนกำหนด  ซึ่งในปีการศึกษา 2553, 2554, 2555 ภายหลังจากโรงเรียนได้แยกการบริหารเป็นนิติบุคคลแล้ว ปรากฏรายได้จากค่าธรรมเนียนและเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ยังไม่เพียงพอต่อการบริหารและพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่กฎหมายต้องการได้   แต่ด้วยบุญกุศลจากกองทุนบุญญนิธิที่ท่านทั้งหลายได้บริจาคสะสมให้ไว้ ถ้าจะเปรียบได้กับกองมรดกเก่าที่บุพการีได้สร้างสมไว้ให้ และส่วนนี้เองที่ทำให้สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ สามารถให้การสนับสนุนโรงเรียนสัมมาชีวศิลปได้ดำเนินอยู่จนปัจจุบันด้วยดี และได้รับการประเมินคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาทั้งสามรอบ ให้อยู่ในระดับ ดี เกือบทุกตัวบงชี้

จึงสรุปได้ว่าการดำเนินกิจการโรงเรียนสัมมาชีวศิลปทั้งสองแห่ง จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จากเพียงลำพังในการเก็บค่าธรรมเนียมและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเท่านั้น  หากขาดเสียจากพลังผู้ศรัทธาทท่านได้ให้การสนับสนุนทุกด้านดังกล่าวทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตต่อไป..... 

สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ขอแสดงมุทิตาและอนุโมทนาแด่ท่านผู้ศรัทธาบริจาคดังรายชื่อกองทุนที่ได้จารึกในนามทุนต่างๆ อีกทั้งคณะกรรมการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ทั้งในอดีตและปัจจุบันไว้ ณ ที่นี้ด้วย  ดังพุทธศาสนสุภาษิตบทที่ว่า “ สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ” แปลความว่า “ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง" เช่นเดียวคือ “การให้ความรู้ทางการศึกษาเป็นกุศลสูงสุด ”
และจากบทประพันธ์ของท่านศาสตราจารย์ ฐะปะนีย์  นาครทรรพ อดีตประธานสัมมาชีวศิลปไห้ไว้ดังนี้

กุศลกรรม

เมื่อถึงวันชีวินต้องสิ้นสูญ

ทรัพย์มากมูลใครเล่าเอาไปได้

คงมีแต่กุศลกรรมอันอำไพ

ที่ติดตามไปในปรภพ.

--------------------------------------------------------------------------------------