ปณิธานผู้ก่อตั้งสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ
เขียนเรียบเรียงโดยนายมนัส ศรีเพ็ญ เลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ

คลิกเปิดข้อมูลกองทุนใช้ไม่หมด

http://www.sammajivasil.net/Funding.html

บทความพัฒนานโยบายการศึกษาประเทศไทย
            จากหนังสือประวัติการก่อตั้งสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ พิมพ์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2512
เขียนโดย สด กูรมะโรหิต ได้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์หลวงปริญญาโยควิบูลย์
คุณหลวงปริญญาโยควิบูลย์ ( ชม รามโกมุท ) เกิดความคิดเรื่องจะพัฒนาการศึกษาของประชาชน  ด้วยขณะที่รับราชการกรมรถไฟ ได้เดินทางไปสำรวจเพื่อวางแนวรถไปในจังหวัดโคราชอุบล พบเห็นความเป็นอยู่ของขาวบ้านทำนาและเก็บรวงข้าวด้วยมือแค่พอเอาไปรับทาน ส่วนที่เหลือก็ทิ้งไว้กับต้นเป็นเหยื่อนก หนูไป.... การหาแหล่งน้ำก็ลำบากต้องไปไกลๆ... ต่างคนอยู่แบบธรรมชาติไม่คิดพัฒนาการทำนาหรือขุดบ่อเป็นแหล่งน้ำ.....
อีกเรื่องทางภาคตะวันออกได้นั่งเรือไปสำรวจทางจากสัตหีบไปจันทบุรีโดยทางเรือ เห็นเรือชนหินแตกสินค้าเสียหาย ชาวบ้านต่างเข้าไปเก็บสิ้นค้าเอาไปเป็นของตน  เจ้าของยากได้เสากระโดงเรือกลับต้องจ่ายเงินค่าไถ่ รู้สึกชาวบ้านแทนที่จะช่วยผู้ทุกข์ยากกลับเห็นเป็นการค้าหาประโยชน์ ด้วยชาวบ้านต่างก็เป็นคนจน ไม่ทำอะไร อยู่ตามธรรมชาติ.......
มาคิดว่านโยบายการศึกษาของประเทศยังบกพร่องอยู่มาก ด้วยการศึกษาวางแนวให้เป็นข้าราชการ ไม่ได้สร้างคนให้รู้จักประกอบอาชีพสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตนเอง..
 ในปี 2470 ได้เขียนบทความหัวข้อว่า “หลักสูตรการศึกษาของประเทศสยาม ” จะส่งไปลงในหนังสือวิทยาจารย์  แต่ผู้บริหารไม่รับ ด้วยกลัวว่าผู้อ่านจะเข้าใจผิดว่าเป็นนโยบายของรัฐ
จุดเริ่มตั้งมูลนิธิ
ต่อมาเมื่อหลังจากมีการเปลี่ยนการปกครอง ในปี 2489 คุณหลวงปริญญาฯ มีโอกาสพบกับพระอร่ามรณชิต ( อ๊อด จุลานนท์ ) และมีเพื่อนชื่อ พระสงครามภักดี ( แม้น เหมะจุฑา ) ทั้งสองท่านสนใจเรื่องการจัดการศึกษาอยู่แล้ว   และยังบอกไม่ต้องคิดพึ่งทางราชการอีก กลัวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีก  ทำเองดีกว่าควรตั้งเป็นรูปมูลนิธิก็แล้วกัน
คุณหลวงปริญญาฯ เคยอยู่ปัปลิคสคูลในประเทศอังกฤษ ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนการกุศล จึงคิดนำมาใช้เป็นรูปมูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไร
ก็เริ่มไปเชิญพระปวโรฬารวิทยา  ( ป๋อ เชิดซี่อ )ซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมด้วยกันและเป็นครูรู้เรื่องการศึกษาอย่างดี  และพระยาอมรฤทธิ์ธำรงค์ ( พร้อม ณ ถลาง )
ได้ร่วมปรึกษากับคณะผู้ก่อตั้งตั้งเรื่องการจดทะเบียนได้หลวงอรรถกมล  ร่างตราสารมูลนิธิ โดยจุดประสงค์ก็มุ่งไปว่าให้มีพระพุทธศาสนาเป็นแกน ที่มี มรรค 8 ประการ เห็นว่าสัมมาอาชีพเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำให้เป็นคนดี แล้วส่วนอื่นเข้ามาประกอบ  จึงตั้งหลักขึ้นสามประการในโครงการจัดการศึกษา  ไม่ใช้หลักสามอาร์คือ อ่าน เขียน และเลขคณิตของฝรั่ง ไม่ใช้หลักว่า พุทธิศึกษา  จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา แต่ตั้งว่า  “ ศีลธรรม  ปัญญา อาชีพ ” สามประการนี้ขาดอย่างไรอย่างหนึ่งเสียมิได้  ผู้ที่ได้รับการศึกษาก็ต้องเป็นผู้มีศีลธรรม มีแต่ปัญญาความรู้ถ้าขาดศีลธรรมก็ไม่ดี  ถ้าคนมีความรู้แล้วเป็นคนโกงก็ยิ่งเบียดเบียนคนอื่นได้มากที่สุด เพราะคนฉลาดมักเอาคนโง่เป็นเหยื่อ เราจะปล่อยให้คนฉลาดขาดศีลธรรมไม่ได้  ศีลธรรมจึงต้องมาก่อน   แล้วตามด้วยปัญญา  เมื่อมีศีลธรรมและปัญญา  หากละเลยเกียจคร้านไม่รู้จักนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ คือรู้แต่ทฤษฎีไม่สามารถนำไปประกอบอาชีพก็ไม่ดี....
ได้ขออนุญาตสภาวัฒนธรรมก่อน จึงไปจดทะเบียนกระทรวงมหาดไทย ในการนี้มูลนิธิจะต้องมีทุนเริ่มก่อตั้งคุณหลวงปริญญาได้ลงเงินหนึ่งหมื่นบาทและอีกสี่ท่านได้ลงอีกท่านละหนึ่งพันบาทร่วมเป็นทุนเริ่มตั้งจำนวน 14,000 บาท ( หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถ้วน )
จดทะเบียนโดยตั้งชื่อว่า “ สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ”  โดยนำเอาคำว่า  “ สัมมา ” มาสนธิกับคำว่า “ อาชีวะ ” และตามด้วยคำว่า “ ศีลป ”
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2492    
การจัดตั้งโรงเรียนฯ     
              ทุนเริ่มต้นเพียง 14,000 บาทจะตั้งโรงเรียนได้อย่างไร ? การประชุมมีการเสนอให้ไปหาผู้บริจาคผู้มีทรัพย์สินที่กรรมการใกล้ชิดอยู่หลายรายใช้เวลาอยู่ 2 ปี ผลคือบางคนก็ไม่เห็นความสำคัญ บางคนก็เสนอขอมีส่วนในการบริหารจัดการ ฯลฯ สิ่งคาดหวังก็ล้มหมด  
            จึงให้เป็นข้อกำหนดว่า ผู้บริจาคต้องมีความจริงใจบริจาคและหากมีกรรมการบริหารก็ต้องไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
                สรุปที่ประชุมว่าคงต้องหาที่เช่าไปก่อน คุณหลวงปริญญาฯ ต้องรับภาระในการหาที่ตั้งโรงเรียน จากเสนอว่ามีที่ดินที่ปากเกร็ด กรรมการไม่เห็นด้วยเพราะอยู่ไกล  เสนอที่แถวถนนราชดำริก็ถูกค้านว่าเป็นที่เปลี่ยว...
                พ.ศ.2494 ได้ที่เช่าเป็นร่องสวนมีเรือนไม้หลังเล็กๆอยู่หนึ่งหลัง ทางเข้าเป็นถนนโรยกรวดกับอิฐหัก เจ้าของให้เช่าเดือนละ 1,300 บาท เป็นอันว่าเริ่มตั้งโรงเรียนชั้นอนุบาลก่อน มีครู 2 คน คือครูสีสลับ เป็นครูใหญ่ ครูพูนสุข เป็นผู้ช่วย มีนักเรียน 6 คน ได้ภรรยาคุณหลวงปริญา ดูแลสถานที่และกรรมการต่างมาช่วยกันดูแลเด็กๆ ร้องไห้กันระงม..
          การจัดการศึกษาวิชาพิเศษ มีพระภิษุสอนธรรมะ ครูพิเศษสอนเปียโน นาฏศิลปและภาษาอังกฤษจากครูต่างประเทศ  การสอนภาษาอังกฤษเป็นที่นิยมด้วยใช้การสนทนา เด็กได้ใช้โสตประสาทในการฟังและหัดพูดจนสามารถสนทนากับครูต่างชาติได้เป็นอย่างดี..

 

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2494 สมเด็จพระสังฆราขเจ้า ทรงเสด็จเปิดป้ายชื่อโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

คลิกบทความ 60 ปี โรงเรียนสัมมาชีวศิลป

http://www.sammajivasil.net/60school.html

      

ในนโยบายจัดการศึกษาในโรงเรียนมีปัญหาขัดแย้งกับทางราชการเรื่องจะหยุดวันพระ แต่ราชการหยุดวันเสาร์อาทิตย์ กรอปกับผู้ปกครองก็มีปัญหาเลยต้องเปลี่ยนเป็นหยุดตามราชการ..
จากปีแรกเปิดอนุบาล 1 ปีต่อๆก็เปิดอนุบาล 2 เมื่อเริ่มรับประถม 1 ก็เห็นว่าสถานที่นี้แคบไปแล้ว...... ต้องขอเช่าเพิ่มอีก 89  ตรว. รวมจ่ายค่าเช่าเดือนละ 1,400 บาท
ปี 2497 มูลนิธิเริ่มมีปัญหาทางงบประมาณ ปลายปีจึงได้อาราชธนาท่านเจ้าคุณ พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์  มาแสดงปาฐกถา  ท่านสนับสนุนให้ผู้มีจิตศรัทธาเห็นความสำคัญการสร้างโรงเรียน จนมีผู้ติดกัณฑ์เทศกันมากได้เงินหมื่นกว่าบาท ก็เริ่มปลูกเรือนไม้ชั้นเดียวสำหรับประถมขึ้นอีกหลัง
              ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2501 ก็ได้ท่านเจ้าคุณ พระปัญญานันทมุนี มาแสดงปาฐกถาธรรมและประกาศให้ผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันอุทิศเงินเพื่อสร้างอาคารไม้ชั้นสองเสริมขึ้นรวมเงินสร้างอาคารที่ได้จากการบริจาครวม 69,000 บาท  อย่างไรก็ดีโรงเรียนนี้ก็เป็นเพียงสถานที่ตั้งชั่วคราวด้วยยังต้องเช่าที่ดินเขาอยู่....?
ช่วงวิกฤตการณ์การดำเนินการโรงเรียนสัมมาชีวศิลป กรุงเทพมหานคร
คุณหลวงปริญญาฯ ได้ยกที่ดินหลักสี่ 6 ไร่ ราคา หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาท ซื่งได้ประสงค์จดทะเบียนบุตร 2 คนได้แก่ ดร.ศรีปริญญา และนายสารวิบุล รามโกมุท ยกให้มูลนิธิ แต่ด้วยประสงค์จะจัดคั้งโรงเรียนอาชีพตามปณิธานในชนบท กรรมการจึงได้ขายที่แห่งนี้ไปซื้อที่ดินปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี 10 ไร 3 งาน 10 ตารางวา
พ.ศ.2503  เจ้าของที่ดินที่มูลนิธิเช่าตั้งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ซอยพญานาค ต้องการขาย ช่วงนั้นเปิดเรียนถึงชั้นประถมปีที่ 4 แล้ว  หากมีผู้อื่นซื่อแล้วไม่ต้องการให้เช่าจะทำอย่างไร...?
คุณหลวงปริญญา เล่าถีงโครงการบนที่ดินปากเกร็ดว่า คุณหลวงยุกคเสวีวิวัฒน์ ได้ออกแบบกะว่าจะสร้างโรงเรียนอาชีพ มีอาคารประถม มัธยม และโรงฝีกอาชีพ
เพื่อแก้ปัญหาจำเป็นต้องขายที่ปากเกร็ดไป ได้เงินเพียงสามแสนบาท เอามาซื้อที่โรงเรียนในซอยพญานาคได้เพียง 235 ตารางวา  ต้องใช้เงิน 399,500 บาท ( สามแสนเก้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน ) ส่วนที่ขาดสัมมาชีวศิลปมูลนิธิต้องทำสัญญากู้เงิน 99,500 บาท โดยเสียดอกเบี้ยและผ่อนชำระกับเจ้าของที่ และได้ขอบริจาคอยู่ห้าปีจนสามารถนำไปชำระได้หมด
พ.ศ.2509 เกิดอุปสรรคขึ้นอีก เจ้าของที่ดินส่วนที่เช่าเพิ่มไว้ 89 ตรารางวาที่สร้างเรือนไม้ไว้ ต้องการขายที่อีกได้ขอซื้อโดยผ่อนชำระภายใน 8 เดือน คุณหลวงปริญญาฯ ต้องใช้ความเพียรพยายามโดยไปแสดงปาฐกถาตามที่ต่างๆ เพื่อขอความกรุณาผู้ใจบุญทั้งหลายให้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินนี้คนละหนึ่งตารางวา โดยวิธีนี้เหละที่เชื่อว่าประชาชนคนไทย ยังมีผู้มีจิตใจเป็นกุศลอยู่มาก จึงได้ช่วยกันสนับสนุนทำให้ได้เงินทันเวลาที่กำหนด
จึงเป็นอันว่าสัมมาชีวศิลปมูลนิธิได้เป็นกรรมสิทธิที่ดินโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ซอยพญานาค กรุงเทพมหานคร จำนวน 324 ตารางวาโดยสมบูรณ์เป็นต้นมาด้วยเงินคุณหลวงปริญญาและครอบครัวร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา บริจาค  
การสร้างอาคารตึกสามชั้นชั้นโรงเรียนฯ      
พ.ศ.2510 คุณหลวงปริญญาฯ มีโอกาสได้พบกับพระบำราศนราดูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านสนใจกิจการของมูลนิธิและโรงเรียน ต่อมาในเดือนกันยายน 2510 พระบำราศนราดูร โทรแจ้งว่า ม.ล.ปิ่นมาลากุล รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะให้การสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียนสัมมาชีวศิลป
มูลนิธิออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนตึก 3 ขั้นมีด่านฟ้า ได้รับความช่วยเหลือจากคุณ สง่า วรรณดิษฐ์ ดูแลออกแบบและคำนวณราคา  เป็นเงินหนึ่งล้านสามแสนบาท ต้องส่งไปให้สถาปนิกและวิศวกรกรมวิสามัญพิจารณาเห็นชอบก่อนส่งไปสำนักงบประมาณ สรุปได้รับอนุมัติเพียง ห้าแสนบาท เมื่อกรมวิสามัญเรียกประมูล ผลได้บริษัท เอ.อี.ซี.ซี. โดยคุณวรชาติ สุวรรณโชติ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซี่งมีใจการกุศล ด้วยราคาเพียง หนึ่งล้านกว่าๆ ไม่รวมการติดตั้งสายไฟฟ้า ซึ่งต่อมาเสียค่าติดตั้งไฟฟ้าได้เงินจากดอกเบี้ยธนาคารเงิน39,316.9 มาจ่าย
             งานนี้ต้องใช้เงินผู้บริจาคให้มูลนิธิ ประมาณหกแสนบาท เสร็จเอาในปี 2514 ซึ่งอาคารเรียกว่า “ วิทยาคารสงเคราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ ”  โรงเรียนต้องเสียค่าเช่า
ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา มาทำพิธีเปิดอาคาร
ตึก 4 ชั้น ชั้น 4 เป็นด่านฟ้าเดิมจะเป็นที่เรียนพลศึกษา ภายหลังต้องกั้นเป็นห้องเรียนมาจนปัจจุบัน
              ต่อมาได้รับหนังสือจากกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่าเนื่องจากมูลนิธิได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างสูงกว่าของรัฐและมูลนิธิก็มีวัตถุประสงค์จะยกให้กระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว จึงขอยกอาคารนี้ให้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ เป็นที่ตั้งโรงเรียนสัมมาขีวศิลป ซอยพญานาค เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร อยู่ในปัจจุบัน.
พ.ศ. .2517 สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ เริ่มมีผู้ศรัทธาบริจาค พอจะมีทุนเพิ่มขึ้น คุณหลวงปริญญาฯจึงได้เสนอว่าตามปณิธานที่ตั้งไว้จะสร้างโรงเรียนในชนบท แต่ต้องขายที่นนทบุรี 10 ไร่ไป  และอยากให้เป็นผลสำเร็จ จึงขอเงินไปซื้อที่ตำบลหนองรี ชลบุรี 29 ไร่ เงิน 39,860 บาท แต่เป็นที่กันดารไม่มีน้ำ  ต่อมาก็ได้ขายไปซื้อที่ติดถนนเลี่ยบอ่างเก็บน้ำบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ จังหวัดชลบุรี 
เนื้อที่ 57 ไร่ เหมาะการขยายงานการเกษตรและด้านอาชีพอื่นๆ 
19 มีนาคม 2517 ได้เปิดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จและจัดตั้งโรงเรียนมัธยมแบบผสม โดยสอนวิชาสามัญและวิชาชีพและที่สำคัญคือให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา  รวมทั้งประสบการณ์ชีวิต ได้รับอนุมัติจากกรมวิสามัญศึกษา ให้รื้อถอนอาคารเรียนเก่าแห่งหนึ่งในส่วนกลางมาสร้างในที่นี้
15 มิ.ย.2520 รับอนุญาตตั้ง โรงเรียนสัมมาชีวศิลปบางพระ
เนื่องจากมูลนิธิมีเงินสำรองจำกัด จึงต้องประหยัดและหารายได้เพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียน  โดยบอกบุญไปยังผู้มีจิตศรัทธาในโอกาสต่างๆ  จัดการทอดผ้าป่าสามัคคี เป็นที่หน้ายินดีที่ได้รับความอนุเคราะห์ ทั้งจากราชการและประชาชน ด้วยดี เช่น วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2532 ได้พระกรุณาจากสมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราช มาเป็นประธานทอดผ้าป่า
    


รวมทั้งฝ่ายฆราวาสผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่า ได้แก่นายอินทรี จันทรสถิตย์ ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ คุณบุญชื่น รามโกมุท  หม่อมราชวงค์หญิงรสลิน คัคนางค์ คุณมาลี.รัชชุศิริ ท่านผู้หญิงยุภา อายุรกิจโกศล นายจำนง โพธิสาโร อาจารย์อวยพร เปล่งวานิข คุณหญิงยสวดี อัมพรไพศาล
วันที่จัดงานทำบุญโรงเรียนบางพระ ตามรายงานของคุณดุสิต พานิชพัฒน์ ประธานสัมมาชีวศิลป กล่าว่า คุณสารวิบุล รามโกมุท และพี่น้องได้ร่วมใจกันสร้างอาคาร “บ้านชมอุทิศ ” พร้อมทั้งส่วนควบ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ ศาสตราจารย์ ดร.หลวงปริญญาโยควิบุลย์  เป็นมูลค่าล้านกว่าบาท  มอบให้เป็นสมบัติของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ และในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2533 ศาสตราจารย์ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ รองประธานเป็นผู้แทนมูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ นอกจากนี้   ศาสตราจารย์ ดร.หลวงปริญญาโยควิบุลย์ ยังได้ตั้งทุนส่งเสริมกิจการโรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลปบางพระอีก หนึ่งล้านบาท มีคุณศรีนคร โกมลภิส กรรมการอำนวยการรับหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงเรียน
ปี 2550  จากรัฐก็มีนโยบายสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยจัดการศึกษา
          โดยจัดตั้งสถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาเอกชน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาของภาครัฐในส่วนที่รัฐจัดไม่ได้ หรือจัดได้ไม่ทั่วถึง

แต่ทุกวันนี้ จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ จาก พรบ.การศึกษาเอกชน พ.ศ.2550  ที่รอนสิทธิ์เจ้าของให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล  จากสถานการณ์เลวร้ายที่สถานศึกษาเอกชนกำลังประสบพบเจอ ทำให้มีตัวเลขของ "โรงเรียนเอกชน" ในกรุงเทพฯ ที่ต้องทยอยปิดลงในช่วงที่ผ่านมา มากกว่า 200 แห่ง จากทั้งหมด 800 กว่าแห่ง แต่โรงเรียนสัมมาชีวศิลป ก็ยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยการอุปการะจากผู้ศรัทธาบริจาคให้สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ

วัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ เป็นไปตามปณิธานและอุดมคติของคุณหลวงปริญญาและคณะผู้ก่อตั้งแล้วหรือยัง... ?
                คุณหลวงปริญญา ฯ ตอบว่ามีความตั้งใจอยู่สองอย่างคือ ปรับปรุงโรงเรียนปัจจุบันให้กว้างขวาง แต่กิจการของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิในอุดมคติจะสร้างขึ้นในชนบท มีนโยบายการเกษตรแต่ไม่ใช่เกษตรอย่างเดียว ต้องสร้างให้เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน เป็นอุตสาหกรรมที่เกิดจากพีชผลเกษตรโดยตั้งแนวไว้ สามขั้นตอน
              ขั้นแรก ตั้งโรงเรียนเพื่อสร้างเยาวชน มุ่งให้การอบรมบ่มนิสัยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มี
“ ศีลธรรม ปัญญา  อาชีพ ”  ให้ความรู้ความสามารถในวิชาอาชีพเฉพาะสัมมาอาชีพตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา สามารถเลือกวิชาชีพที่ถูกกับอุปนิสสัยที่ตนรักตนชอบ เป็นผู้มีจิตเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล
                ขั้นกลาง สนับสนุนส่งเสริมบุคคล อบรมพัฒนาความรู้ในวิชาชีพสาขาต่างๆ จนสามารถรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ของชุมชน  
                ขั้นสุดท้าย มูลนิธิจะอุปการะโดยมีกองทุนให้ยืม การประกอบอาชีพที่ตนถนัด  ก่อตั้งสหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์เกษตรกรรม  สหกรณ์อุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้ชุมชนมีเครื่องอุปโภคบริโภคของตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งภายนอก
              ทั้งสามขั้นตอนขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ที่ได้รับจากผู้บริจาค จนสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ มีทรัพย์สิน
เพียงพอเสียก่อนและในที่สุดสัมมาชีวศิลปมูลนิธิจะเป็นแกนอยู่กลายเป็นพุทธนิคม ซึ่งมีพุทธมามกที่มีจิตใจดี มีสัมมาอาชีพพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ตั้งอยู่ในเบญจธรรมมีความมุ่งหมายที่จะบำเพ็ญมรรคอันประกอบด้วยองค์แปด ให้สมบูรณ์ต่อไป ...
          ในเรื่องการบริหารจัดการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ คณะผู้ก่อตั้งมีความเห็นกันว่า หากจะเชิญผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลมาเป็นกรรมการบริหารหรือสนับสนุน ก็จะทำให้สังคมผู้บริจาคเข้าใจว่ามูลนิธิต้องตกเป็นพวกกับกลุ่มคนเหล่านั้นไปด้วย วัตถุประสงค์ของมูลนิธิก็จะกรายเป็นหน้ากากเท่านั้นเอง จะทำให้มหาชนคนในชาติก็จะไม่รู้จักพัฒนาให้ยืนบนขาของตัวเอง คอยแต่แสวงหาคนช่วยเสมอไป ควรให้ประชาสังคมต่างคนต่างช่วยกันเอง จะได้เกิดความรักสามัคคีเข็มแข็งขึ้นในชาติ และองค์กรนั้นก็จะอยู่ได้ชั่วกาลนาน.
ตามปณิธานของผู้ก่อตั้ง
กรรมการทั้งหมดที่เป็นผู้บริหารงานของมูลนิธิฯ เกิดขึ้นจากผู้ศรัทธา มีความเห็นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จะไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ เป็นการตอบแทน ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญ มูลนิธินี้จะมีผู้ศรัทธาบริจาคทรัพย์ช่วยเหลือหรือไม่ต้องเป็นที่ยอมรับ ถ้ากรรมการยอมรับผลประโยชน์ตอบแทน มูลนิธิก็จะกลายเป็นองค์การบังหน้าเพื่อหาประโยชน์เลี้ยงตน จะเรียกว่าองค์การกุศลสาธารณะได้ไม่สนิทนัก จะเปลี่ยนจากองค์การที่น่าศรัทธา ไปตรงข้าม เท่ากับคนที่ไม่เคยเสพสุรา แล้วไปเสพเข้าจนเมามายปราศจากสตินั่นเอง."
                ปัจจุบันประชาชนคนไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาโศกเศร้าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัฐกาลที่ 9 ได้สวรรคต เหล่าพสกนิกรไทยต่างน้อมเกล้าน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ โดยต่างนำเอาพระราชปณิธานมาปฏิบัติ เช่นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
               พระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก ที่ทรงมอบเป็นคติสอนพสกนิกรของพระองค์นั้นในเรื่องพระมหาชนกเสด็จไปในสวนสาธารณ พบต้นมะม่วง  ต้นหนึ่งออกผลเต็มต้น แต่อีกต้นใหญ่กว่ากลับไม่มีผล..พระมหาชนก ชิมผลมะม่วงแล้วบอกว่ารสดีมาก  หลังจากนั้นประชาชนเลยแย้งกันจะเก็บ แต่ชาวบ้านธรรมดาทั่วๆไปไม่สามารถปีนขึ้นไปเก็บผลได้..
               ส่วนชาวบ้านที่มีปัญญาความรู้ก็นำอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงเข้าไปตัดโค่นกิ่งและต้นเพื่อเอาผลมะม่วงไปได้ ....?   แต่ต้นที่ไม่ออกผลก็รอดจากคนที่มีปัญญาไม่สนใจเข้าทำลาย..?
จึงคงอยู่เป็นประโยชน์ใช้เป็นที่อยู่อาศัยให้พวกสัตว์เล็กๆ เช่น นกกา ลิงกระรอกกระแตและอีกหลายชนิด  แม้แต่คนก็ได้ประโยชน์จากอากาศสิ่งแวดล้อมและเป็นร่มเงาได้พักอาศัย..

พื้นที่ดินตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลปในปัจจุบัน
เปรียบต้นมะม่วงใหญ่ที่ไม่มีผลให้ใครเข้ามาแย่งกันเก็บกินหรือถูกโค่นล้ม จึงดำเนินการคงอยู่มานานกว่า50 ปี ยังไม่บรรลุปณิธานที่ผู้ก่อตั้งวางไว้ ในเรื่องสร้างพุทธนิคม

กำลังรอผู้ ศรัทธาบริจาค และผู้ มีปัญญาจิตอาสาพัฒนาสร้างบุญกุศลที่จะได้เห็นพื้นที่โรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป บางพระ ที่เปรียบกับมะม่วงต้นใหญ่นี้สามารถออกผลเป็นตันตอขยายพันธ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงต่อไปในอนาคต เพื่อสาธารณะคนยากจน ผู้ด้อยโอกาสได้บริโภคดำรงชีพ ...?

ขอนำบทความบางตอนจากหนังสือ " การศึกษาเพื่อสันติภาพ "

คำปราศรัยของพระธรรมปิฏก ( ป.อ.ปยุตฺโต ) ที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก ปี 2537

มนุษย์มีความฝักใฝ่โนมเอียงไปในทางที่จะก่อความขัดแย้งและความรุนแรง มากกว่าจะสร้างสรรค์สันติภาพ เห็นได้ชัดว่าการทำลายสันติภาพง่ายกว่าการรักษาสันติภาพ.. สภาพเช่่นนี้มิใช่สิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ ?

ด้วยความขัดแย้งเกิดขึ้นที่ใจ... และที่นั่นแหละเราจะแก้ไขความขัดแย้งได้....

โดยที่แท้แล้วคือใจของเรานั่นเอง เมื่อเราอยากได้ผลประโยชน์ในทางวัตถุโดยไม่ควบคุม เราจะเห็นเพื่อนมนุษย์เป็นปฏิปักษ์ และเห็นสิ่งต่างๆในธรรมชาติ เป็นวัตถุที่จะเอามาใช้หาประโยชน์ เพื่อบำรุงบำเรอความสุขทางเนื้อหนังพัฒนาชีวิตแบบวัตถุนิยมสุดโต่งขึ้น ทำให้มีการแข่งขันและการบริโภคกลายเป็นแบบแผนของการใช้ชีวิตของสังคม กลายเป็น " นักบริโภค " ชีวิตแบบนักบริโภคก็ทำให้เกิดปัญหากับสภาพแวดล้อม เมื่อไม่มีความสุขอยู่ข้างใน ต่างก็พยายามแสวงหาความสุขจากภายนอก ด้วยการบังคับควบคุมและข่มขี่ครอบงำผู้อื่น ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น แต่ความสุขกลับลดน้อยถอยลง.... ?

ในทางตรงข้ามการศึกษาที่เป็นกุศลและมีดุลยภาพ จะฝึกฝนมนุษย์ให้เป็นผู้พัฒนาความสามารถมิใช่เพียงวิธีการแสวงหาวัตถุมาเสพเท่านั้นแต่ให้เขาพัฒนาความสามารถที่จะมีใจที่เป็นสุขด้วย...

คนที่มีความสุขอยู่ที่ใจ ความต้องการวัตถุก็จะลดน้อยลงไป ทำให้ทัศนคติในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวพลอดลดน้อยลงไปตาม คนที่มีความสุขอยู่ข้างในแล้วก็มีจิตใจโน้มน้อมไปในทางที่จะช่วยทำให้ผู้อื่นมีความสุข เมื่อวัตถุที่ใช้บำรุงบำเรอตนเองต่างๆ มิใข่ช่องทางเดียวที่ทำให้เขามีความสุข เขาก็สามารถแบ่งปันวัตถเหล่านั้นให้ผู้อื่นได้

ความสุขที่เมื่อก่อนนี้เป็นแบบแก่งแย้งช่วงชิงก็เปลี่ยนมาเป็นความสุขแบบเผื่อแผ่และประสานกลมกลืน

พื้นฐานสังคมด้านจริยธรรมใดก็ตามที่ต้องใช้ความกลัวและความจำเป็นจำใจจำยอม แบบห้ามสั่งบังคับนั้นเป็นจริยธรรมที่มิอาจวางใจได้ ในทางตรงข้าม จริยธรรมที่แท้จริงต้องมีพื้นฐานมาจากการประสานกลมกลืนและความสุขที่เป็นอิสระ ชนเหล่านั้นย่อมไม่ลุ่มหลงเอาทรัพย์และอำนาจเป็นเครื่องบำรุงบำเรอเสริมความยิ่งใหญ่ของตน แต่ทรัพย์และอำนาจนั้นจะกลายเป็นเครื่องมือสำหรับใช้สร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่เพื่อนมนุษย์ จริยธรรมในทางสร้างเสริมเช่นนี้แหละคือสิ่งที่ต้องการในยุคสมัยปัจจุบัน

การให้การศึกษาของเราส่วนใหญ่มักเป็นไปในทางสนับสนุนให้เกิดความอยากได้อยากเอา เรียนเพื่อหาวัตถุมาบำรุงบำเรอเป็นจุดหมาย กลายเป็นความสุขจากการแก่งแย้งแบ่งพวก ในการหาประโยชน์ให้แก่ตน

การพยายามหาความสูขทางวัตถภายนอกนี้ ย่อมต้องมีความเครียดและความทุกข์แฝงมาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าเราเอาความเพียรพยามเข้ามาใช้ข้างในให้มากขึ้น โดยบำเพ็ญข้อปฎิบัติต่างๆ เช่น การรู้จักมนสิการและการทำจิตภาวนา ก็จะได้พบกับความสุขแบบที่ประณีตและเป็นอิสระมากกว่า ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจากจิตอันนิ่งสงบและปัญญาที่รู้ความจริง แล้วความสุขแบบนี้ก็จะช่วยให้เราหลุดพ้น

ไปจากการกระทำทั้งหลายที่เป็นการเบียดเบียนและเห็นแก่ตัว...

เนื่องจากการให้เป็นการสนองต่อความต้องการของเราที่อยากเห็นคนอื่นมีความสุข สรุปว่าการให้ซึ่งธรรมดามองว่า " เป็นการเสีย " แต่ด้วยผู้ให้ได้ความสุขทางใจ ผู้รับได้ความสุขทางกาย ดังนั้น

ทั้งเราและเขา ทั้งผู้ให้และผู้รับ จึงต่างก็เป็น " ผู้ได้ " และมีความสุขด้วยกัน

จะต้องปรับการศึกษาให้สมดุลในเรื่องนี้ โดยการศึกษาทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยปลูกฝังจิตสำนึก ให้เป็นผู้รู้จักให้ เด็กจะรู้สึกความสุขที่เป็นผู้ให้ และก่อให้เกิดเมตตาธรรม หมายถึงความปรารถนาที่จะให้คนอื่นมีความสุข ด้วยการศีกษาแบบนี้เราจะรู้จักมองคนอื่นเป็นเพื่อนมนุษย์ ที่จะต้องร่วมสุขร่วมทุกข์ ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเช่นเดียวกัน ...

 

            ( ดูแนวทางพัฒนาที่ดินมูลนิธิ 57 ไร่ ตำบลสุรศักดิ์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี  )

 http://www.sammajivasil.net/cbland.htm

 

                 ผลจากได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตกุศลดังกล่าว นี้คือจุดเริ่มต้นของนโยบายการขอทุนบริจาคโดยตั้งกองทุนปุญญนิธิสัมมาชีวศิลป มีนโยบายว่า ผู้ประสงค์จะบริจาคตั้งเป็นกองทุนเพื่อเป็นอนุสรณ์ มูลนิธิจะนำเพียงดอกเบี้ยมาใช้ในการบริหาร ส่วนเงินต้นจะยังคงอยู่ตลอดไป ( กองทุนใช้ไม่หมด  )
                  ณ โอกาสนี้ขอแสดงมุทิตาแด่ทุกๆ ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยเหลือส่งเคราะห์ให้วัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิได้ก้าวหน้า ขอให้มีสุขภาพสุขสมบูรณ์ทั้งกายและใจ สำหรับท่านที่ล่วงลับไปแล้วก็ขออานิสงส์แห่งคุณความดีอันบริสุทธิ์ที่ได้ถือปฏิบัติมา จงเป็นพลวปัจจัยให้ดวงวิญญาของท่านประสบแต่ความสุขสงบในสัมปรายภพตลอดกาลนานด้วยเทอญ.

***********************