โครงการส่งเสริมครอบครัวเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก

สภาพปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงด ....... นโยบายสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ .
วัตถุประสงค์ ............ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อเด็กเริ่มไปโรงเรียน


โรงเรียนสัมมาชีวศิลป

โครงการส่งเสริมครอบครัวเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก
นายมนัส ศรีเพ็ญ ผู้จัดการโรงเรีนและเลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ

นโยบายและเหตุผล

ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สุดของมนุษย์ ที่ประกอบด้วยวิถีชีวิตของสมาชิกของครอบครัวทุกคน วิถีชีวิตนี้รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และจริยธรรม ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของ สังคม ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อกันและกันต่างมีกระบวนการวิวัฒนาการ และ การเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล โดยเฉพาะเด็กๆ
คำว่า “ครอบครัว “ ซึ่งนอกจากมีพ่อแม่ลูกแล้วอาจมีปู่ย่าตายายและญาติ อาศัยร่วมอยู่ด้วย ปัจจุบันได้ ประสบความยากลำบากกับการให้การเลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากสังคมเมืองที่มีพื้นที่ในบ้านพักอาศัยที่จำกัด, ไม่มี ปู่ย่าตายาย และญาติ และพ่อแม่ไม่มีเวลาดูแล


สภาพปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู
1. ในกรณีที่ทั้งบิดาและมารดาต้องทำงาน ทำให้เด็กขาด ผู้ดูแล เด็กอาจถูกทอดทิ้ง นอกจากนั้น บริการรับดูแลเด็กเล็กยังมีไม่เพียงพอ รัฐยังไม่ได้สนับสนุนทั่วถึงและจริงจัง และมีปัญหามาก ในเรื่องขาดผู้ดูแล เด็กที่มีคุณภาพ
2. เนื่องด้วยความกดดันทางเศรษฐกิจครอบครัว ทำให้บิดามารดาไม่มีเวลาดูแลบุตร เด็กจึงถูกปล่อยปละละเลยอันจะทำให้เกิดปัญหาในระดับครอบครัวและสังคมตามมา
3. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ทำให้บิดามารดาส่วนหนึ่ง ส่งเสริมให้ บุตร มีค่านิยมทางวัตถุและบริโภคนิยม และเข้าใจผิดคิดว่าสามารถใช้ วัตถุและเงินทดแทนความรัก ความเอาใจใส่ แก่บุตรได้ โดยการว่าจ้างผู้ดูแลที่ไม่มีความรู้หรือตามใจอย่างผิดๆ
4. บิดาและมารดาขาดความเข้าใจในการเป็นพ่อแม่ที่มี คุณภาพและไม่สามารถเอื้ออำนวยต่อ การพัฒนาของเด็กตามวัย ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทางอารมณ์จนถึงการทำร้าย ทารุณลูกด้วย
5. ครอบครัวยังอบรมเลี้ยงดูลูกโดยใช้วิธีการดั้งเดิม เช่น ลูกไม่มีสิทธิ์มีเสียง ในการแสดงความ คิดเห็นเป็นต้น ซึ่งขัดต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในปัจจุบันเกี่ยวกับการพัฒนาคน พัฒนาสังคม ตลอดจนวิถี ชีวิต และ ความสัมพันธ์ของสมาชิกสังคม ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเด็ก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และชีวิตของเขา รวมทั้งพฤติกรรมที่อยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน
6. สตรีในครอบครัวส่วนใหญ่ต้องรับภาระการเลี้ยงดูเด็ก ทำงานบ้าน ปรนนิบัติคนในครอบครัว และภาระทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น และไม่มีเวลาพัฒนาตนเอง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ จากผู้เป็นสามี ในการเลี้ยงดูลูก ทำให้เด็กมีปัญหาต้องการความเอาใจใส่และความรัก หรือมีอารมณ์ก้าวร้าว

สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จึงมีนโยบายให้โรงเรียนสัมมาชีวศิลป ได้เปิดแผนกดูแลเด็กเล็กขึ้น ตามแผนการพัฒนาสถาบันครอบครัวของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ให้ความสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการการเตรียมความพร้อมในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็ก สถานรับ เลี้ยงเด็กในที่ทำงานและในสถานประกอบการโดยดำเนินการร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และ ครอบ ครัว เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวจากการขาดผู้ดูแลหรือส่งเสริมการพัฒนาเด็ก ซึ่งนับเป็นสิ่งที่จำเป็นและเพื่อเป็นการเริ่มต้นและปูพื้นฐานแก่เด็กในวัยเยาว์ ซึ่ง สัมมาชีวศิลปฯ ได้กำหนดวัตถุประสงค์การศึกษาปฐมวัยและการดูแลเด็กเล็ก ก่อนที่กระทรวงศึกษาธิการจะอนุญาตให้โรงเรียนขั้นพื้นฐานเปิดรับเด็กเล็ก ดังหัวข้อต่อไปนี้
- ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เวลาที่อยู่บ้านคุณแม่อาจจะดูแลประคบประหงม ลูกชนิดไข่ในหิน หรือไม่ก็มีพี่เลี้ยงวิ่งตามดูแลแบบตัวต่อตัว ในพื้นที่บ้านที่จำกัด ลูกไม่จำเป็นต้องช่วยตัวเองมากนัก แต่ที่โรงเรียนจะไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าลูกได้รับการฝึกให้รู้จักดูแลตัวเองเป็นตั้งแต่เนิ่น จะช่วยให้ลูกสามารถปรับตัวในโรงเรียนได้เร็ว เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้โอกาสลูกช่วยตัวเองในสิ่งที่สมควรปล่อยให้ลูกทำได้ เช่น การสวมเสื้อผ้า การกินอาหาร การใช้ห้องน้ำ การเล่นการทำกิจกรรมกับเด็กในวัยเดียวกัน ฯลฯ

- ฝึกทักษะทางการสื่อสาร การสื่อสารในที่นี้หมายถึง การฟัง การพูด ซึ่งลูกจำเป็นต้องใช้มากเมื่อเข้าสู่สังคมโรงเรียน เพื่อสื่อความต้องการของตัวเองให้คนอื่นรับรู้ เพราะถ้าลูกสามารถบอกถึงความต้องการ ความรู้สึกของตัวเองได้เหมาะสมกับวัย จากผู้ดูแล คุณครูและคนอื่นๆ ที่โรงเรียนสามารถตอบสนอง เด็กๆ ให้มีความสุขกับการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยตนเอง และถ้าลูกสามารถฟังและรับรู้ได้ดี ลูกก็จะเข้าใจและเรียนรู้ได้รู้เรื่อง เกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนสืบเนื่องกันไป เด็กๆจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าให้พวกเขารู้สึกว่าการเรียนรู้เป็นเรื่องของความสุข สนุกสนาน และอยากเรียนรู้อย่างไม่จบไม่สิ้น และนี้คือเป้าหมายปฏิรูปการศึกษาตลอดชีวิต
- เรียนรู้ที่จะรอคอย เวลาที่ลูกไปโรงเรียน ลูกต้องอยู่กับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน มีพัฒนาการและความรู้สึกที่ใกล้เคียงกัน ทั้งยังยึดตัวเองเป็นใหญ่เหมือนๆ กัน ในขณะที่ผู้ดูแลไม่ได้มีจำนวนเท่ากับเด็ก ของเล่นก็ไม่ได้มีเท่าจำนวนคน กินอาหารก็อาจจะต้องมีระเบียบ เพราะฉะนั้นลูกต้องรู้จักรอคอย รู้จักอดทน รู้จักแบ่งผู้ดูแลให้เพื่อนคนอื่นบ้าง ไม่ใช่ต้องกอดเอาไว้คนเดียว ฯลฯ ฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากการรอคอยแบบสั้นๆ จะเป็นบทบาทเป็นผู้รอที่ดีให้ลูกเห็นก่อน จะช่วยให้ลูกเข้าใจพ่อแม่ในการต้องรอคอยได้ดีขึ้น
- ยอมรับการพลัดพราก เด็กถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมเลย อาจจะมีปัญหามากในช่วงเริ่มไปเข้าระบบของโรงเรียนได้ เพราะลูกวัยนี้กลัวถูกทิ้ง กลัวการแยกจาก ตั้งแต่ลูกยังอยู่บ้าน เวลาคุณพ่อคุณแม่จะออกไปทำงานไม่ควรใช้วิธีหลอก แล้วหนีลูกไปเพราะกลัวลูกร้องตาม แต่ควรบอกลูกตรงๆ ว่า "แม่ไปทำงานนะลูก ตอนเย็นจะกลับมาหาลูกจ้ะ" ทั้งลูกและแม่อาจจะน้ำตาท่วมไปบ้าง แต่ถ้าคุณแม่ทำสม่ำเสมอ ไม่มัวอาลัยอาวรณ์แล้วตอนเย็นก็กลับมาตามคำพูด ลูกจะค่อยๆ รับรู้และเคยชินในที่สุด อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ อย่าขู่ว่าจะทิ้งลูก ไม่ว่าลูกจะเกเรหรืองอแง เพราะจะทำให้ลูกกลัวการถูกทิ้งจริงๆ และไม่ควรออกไปไหนด้วยวิธีหนีลูก ทำทุกอย่างให้ปกติให้ลูกได้รู้ว่าคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ต้องทำ เมื่อเสร็จหน้าที่แล้วจะกลับ เมื่อลูกต้องเข้าโรงเรียนลูกก็จะค่อยๆ เรียนรู้เองว่า ลูกก็มีหน้าที่ต้องไปโรงเรียน เย็นลงก็กลับมาพบกันพ่อแม่ลูกเหมือนเดิม ใช้เวลาและความสม่ำเสมอเป็นหลัก ลูกจะค่อยๆ เรียนรู้ไปเอง
- สร้างทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน เมื่อลูกรู้จักคำว่าโรงเรียน ช่วงปรับตัวเป็นช่วงสำคัญของลูก แกอาจจะร้องไห้งอแง อ้อนมากกว่าปกติ อย่าไปดุว่าหรือแสดงความหงุดหงิดหรือแม้กระทั้งแสดงความสงสาร อาลัยอาวรณ์ลูกมากจนเกินไป ยิ่งจะทำให้ลูกกลัวและหมดกำลังใจในการไปโรงเรียน ทางที่ดีควรมีท่าทีอบอุ่น เข้าอกเข้าใจ ปลอบใจและให้กำลังใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสเพื่อสร้างบรรยากาศ ชื่นชมลูกในวันที่แกร้องไห้น้อยลง พูดคุยถึงเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ต้องรักษาเวลาและรักษาคำพูดอย่างสม่ำเสมอ เช่น บอกว่าจะไปรับลูกกี่โมง ก็ต้องไปตามนั้น ไม่เช่นนั้นลูกที่กลัวการถูกทอดทิ้งอยู่แล้วจะยิ่งใจเสีย เกิดความลังเลกับคำสัญญาของเราในคราวต่อๆ ไป ส่งผลให้ไม่อยากไปโรงเรียนในที่สุด ข้อสำคัญอย่าขู่ลูกโดยใช้โรงเรียนเป็นสัญลักษณ์ของการลงโทษ เช่น "ดื้ออย่างนี้จะพาไปไว้ที่โรงเรียนให้ครูจัดการซะให้เข็ด" หรือ "ซนเหลือเกิน จะเอาไปโรงเรียนให้ครูจัดการซะที" คำพูดเหล่านี้จะปลูกฝังความกลัวโรงเรียนให้ลูก เรียกว่าไม่อยากไปตั้งแต่ยังไม่ได้ไปเลยทีเดียว เราควรช่วยให้ลูกมองเห็นโรงเรียนในด้านดี พูดคุยถึงความสนุกที่ลูกจะได้รับเมื่อไปโรงเรียน พูดถึงของเล่นสนุกๆและสื่อการเรียนอย่างที่บ้านไม่มี มีที่วิ่งเล่นกว้าง(กว่าที่บ้าน) มีที่เด็กเล่นร่วมกับเพื่อนๆ มีสื่อนิทานให้ดู มีเสื้อผ้าชุดใหม่และของใช้ใหม่ของหนูเอง อาจเล่าถึงความสนุกที่ลูกจะได้รับจากโรงเรียน เมื่อลูกเริ่มรู้สึกดี รู้สึกสนุก ความกังวลใจจะลดลงไปครึ่งหนึ่งแล้ว
- ฝึกให้ลูกอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ การมีโอกาสพาลูกเดินทางออกนอกบ้าน ไปเล่นกับเพื่อนๆ ซึ่งลูกจะได้พบเห็นผู้คนมากมาย ได้ฝึกหัดการอยู่ร่วมกับคนอื่น พบกับกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปในแต่ละที่ เพื่อเตรียมตัวลูกก่อนเข้าไปสู่วินัยในโรงเรียน
ในการส่งเสริมพัฒนาการดังกล่าวนั้นจะเป็นเครื่องมือ สำคัญที่จะส่งเสริมความคิดสร้างสรรคจินตนาการ ทักษะและความสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่ผู้ดูแลไม่สนใจ หรือผู้ปกครองไม่สามารถสรรหาให้ได้เหมาะสม เพราะไม่มีเวลา และขาดความรู้การพัฒนาตามวัย ด้านการดูแลบุตรหลาน เด็กมากมายเหล่านี้จึงขาดโอกาส ที่จะได้รับการพัฒนาการไปในทางที่ดี และตรงข้าม กลับได้รับการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมตามยถากรรม เด็กเหล่านี้จึงต้องตกเป็นเด็กที่สร้างปัญหาแก่สังคม โดยที่ตัวเองไม่ได้ตั้งใจในที่สุด
สัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ และโรงเรียนฯ จึงมุ่งหมายจะพัฒนาเด็กให้พร้อมที่จะก้าวสู่โลกอันกว้างใหญ่ โดยคำนึงถึงการพัฒนาความพร้อมทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ และมุ่งให้เด็กเรียนรู้วิธีการ มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิสัมพันธ์ สามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ภายใต้บรรยากาศของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยครูและผู้ดูแลจะต้องเข้าใจในความรู้สึก และเปิดใจกว้างต่อความคิดเห็นของเด็ก นอกจากนี้โรงเรียนฯ ยังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปลูกฝังศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าและเกิดความรัก ภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย อีกทั้งยังได้มีการเตรียมความพร้อมทางวิชาการเพื่อให้เด็กสามารถเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีความสุข สิ่งสำคัญ คือ โรงเรียนฯ ได้ตระหนักถึงความร่วมมือระหว่างบ้านโรงเรียนและชุมชน ดังนั้น เด็กของโรงเรียนสัมมาชีวศิลปจึงเป็นทั้ง “คนดีมีศีลธรรม นำสู่ปัญญาทีเรียกว่าคนเก่งและมีความสุข”


วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมและดูแลเด็กเล็ก
1. เป็นการช่วยผู้ปกครองดูแลเด็ก ช่วงอายุระหว่าง 2 – 3 ปี โดยการจัดผู้เลี้ยงดูและดูแลความปลอดภัย
2. เป็นการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ ตามวัยด้วยกิจกรรม
3. เป็นการพัฒนาเด็กให้มีเจตคติที่ดีในการเรียน การคิดและการแก้ปัญหา
4. เป็นการช่วยดูแลเด็ก โดยให้ครอบครัวสามารถ ไปทำธุรกิจและอาชีพอย่างเป็นสุข

อัตราค่าบริการ
1. ค่าบริการ สำหรับบุคลากรเลี้ยงดู, สถานที่ห้องปรับอากาศ, เครื่องเล่นและเครื่องนอน, ค่าซักรีด
2. ค่าอาหารกลางวัน, นมเสริมพิเศษนอกเหนือจากนมที่ดื่มประจำตัว และอาหารว่างช่วงบ่าย
3. กรณีผู้ปกครองมีปัญหาการเลี้ยงดู และประสงค์ฝากเด็กไว้เป็นระยะเวลาสั้นๆ จะคิดอัตราเป็นรายวันก็ได้ ตามแต่จะตกลงกับทางโรงเรียนฯ เป็นรายๆไป

ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อเด็กเริ่มไปโรงเรียน: [ ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.planpublishing.com ]
การที่เด็กมาโรงเรียนในระยะแรกนั้น เด็กต้องการเวลาในการปรับตัวอย่างมาก อันทีจริงเด็กๆ จะมีความรู้สึกหนึ่งคือ ต้องการมีเพื่อนเล่นในวัยเดียวกัน อยากมาเล่นเครื่องเล่น อยากมาสนุกกับกิจกรรมของคุณครูมาฟังนิทาน ร้องเพลง และระบายสี แต่อีกความรู้สึกหนึ่งที่รุนแรงกว่า คือ ยังติดความอบอุ่น ความใกล้ชิด คนที่รู้ใจ ความรู้สึกไม่มั่นคง
เหงา ว้าเหว่ ต้องอยู่กับคนที่ไม่คุ้นเคย อึดอัดต่อกติกาส่วนรวม เพราะคุ้นเคยกับการทำตัวตามสบายเมื่ออยู่บ้าน
ดังนั้นจึงเกิดปฏิกิริยาในระยะเริ่มต้น ซึ่งเรียกว่าระยะปรับตัว ลูกจะมีอาการอิดออดต่าง ๆ เมื่อลูกรักรู้ว่าการมาโรงเรียน ไม่ใช่การมาเที่ยวเล่นเสียแล้ว ลูกจะหาทางออกที่จะไม่ต้องมาโรงเรียนด้วยความไม่สบายใจของเด็ก ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ นานา เช่น ไม่ยอมลุกจากที่นอน ไม่ลืมตา ทำเป็นหลับ “ ยังง่วงอยู่เลย ” อ้างว่าปวดท้อง ปวดหัว “ไม่สบาย ไปโรงเรียนไม่ได้ ” อาละวาดโวยวาย ทำร้ายคุณพ่อคุณแม่, โมโห หงุดหงิด ขี้อ้อน ซึม น้ำตาลไหล

เพื่อแก้ปัญหาระยะวันแรกๆ ควรมีผู้ที่เด็กคุ้นเคย เข้าไปอยู่ร่วมกันด้วย เพื่อแนะนำการดูแลต่างๆ และเพื่อให้เด็กได้รู้จักคุ้นเคยกับเพื่อนๆ ผู้ดูแลทางโรงเรียนฯ และสถานที่ จะทำให้เด็กมั่นใจว่าจะไม่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว.

--------------------------------------------------------

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป http://www.sammajivasil.net/
744 ซอยพญานาค ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร: 02 2159002, โทรสาร 02 0177317


 

อินเตอร์เน็ตเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของไทย

ศีลธรรม

แวดวงพระไทย
สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
ลานธรรมศึกษาพระไตรปิฎก
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พุทธทาสศึกษาศึกษาเพื่อสืบสานปณิธานพุทธทาส
สำนักงานพระพุทธศาสนา
รวมข่าวพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม
ปัญญานันทะอมตะธรรม
พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
พุทธศาสนาสำหรับคนรุ่มใหม่
ยุวสงฆ์ไทยและแวดวงพระพุทธศาสนา
ศาลาธรรม - ธรรมะแจกเป็นธรรมทาน

 

 

 

 

 

 

 

ปัญญา

กระทรวงศึกษาธิการ
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา

หอมรดกไทย
อนุรักษ์การแสดงและคนตรีไทย
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล
แวดวงการศึกษาสำหรับโรงเรียน
ผู้ปกครองกับไอที และศูนย์การเรียนรู้
เครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทย

 

 

 

 

 

 

 


อาชีพ

ทำเนียบรัฐบาล
ข้อมูลส่วนราชการไทย
ข้อมูลการทองเที่ยว 76 จังหวัด
ข้อมูลจังหวัด,อำเภอ,ตำบล
ตำบลของไทย : ThaiTambon.Com
รวมใจสร้างสังคมไทย
ข่าวสังคมและเศรษฐกิจ
คณะกรรมการรัฐสภา
ถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
แผนที่ทั่วประเทศไทย

ค้นหาเว็บไซต์และบริการ

ค้นข้อมูลเว็บไซต์ภาษาไทย

http://www.mthai.com/
http://www.sanook.com/
http://www.thaiwebhunter.com
http://hunsa.com/
http://www.thaimisc.com

 

 

 

 

กลับหน้าแรก