( กลับหน้าหลัก ครอบครัวศรีเพ็ญ )

เล่าให้ลูกฟัง

พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี ( สรวง ศรีเพ็ญ)
ผู้เขียนบันทึก " เล่าให้ลูกฟัง "

ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ ครั้งได้รับตราตติจุลจอมเกล้าวิเศษ ขณะดำรงตำแหน่งผู้รักษาพระนครศรีอยุธยา

ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. ๒๔๖๑
ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๔๗๑  
ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พ.ศ. ๒๔๗๑  
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๗๒ – ๒๔๗๔

หนังสือ "เล่าให้ลูกฟัง พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ๒๔๙๘ แจกในงานฉลองชนมายุครบ ๖ รอบ ของพระยาสัจจาภิรมย์ พิมพ์ครั้งที่สองในปี ๒๕๐๒ โดยกระทรวงมหาดไทย ในงานพระราชทานเพลิงศพ ปัจจุบัน "สำนักพิมพ์มติชน ได้พิมพ์ใหม่ มีนาคม ๒๕๕๗ มี ๒๗๒ หน้า ที่นำมาลง ณ ที่นี้เพียง ๔๖ หน้าเฉพาะเรื่องประวัติสายต่างๆ สกุล ศรีเพ็ญ เท่านั้น แต่ในหนังสือ เป็นเรื่องที่ พระยาสัจจาภิรมย์ฯ ได้เขียนประวัติการรับราชการตั้งแต่ อายุ ๑๕ ปี ถึงอายุ ๗๐ปี เป็นบันทึกข้อมูลการรับราชการและระบบขุนนางและข้าราชการสยาม ในระบบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์ และการปฏิรูปสยามให้เป็นประเทศสมัยใหม่.........

                   เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ พระเจ้าทรงธรรมเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๒๒ ในพระนครศรีอยุธยา ( พระนามก่อนเสวยราชย์ เป็นพระพิมลธรรม )   เมื่อจุลศักราช ๙๖๔ พ.ศ. ๒๑๔๕  ปีขาล จัตวาศก เฉกมะหะหมัด กับ มะหะหมัดสอิด  ๒ คนพี่น้อง  เป็นแขกมะหง่นถือศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น ชาวเมืองกุนี  อยู่ในแคว้นอาหรับ ได้เข้ามาค้าขายอยู่ในพระนครศรีอยุธยา

 เฉกมะหะหมัด  ภายหลังต่อมาเข้ารับราชการ   ได้บรรดาศักดิ์  เฉกมะหะหมัดรัตนราชเศรษฐี  เจ้ากรมท่าขวา และเลื่อนบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็นเจ้าพระยาบวรราชนายก  จางวางกรมมหาดไทยในรัฐสมัยพระเจ้าปราสาททอง และได้ถึงอนิจกรรมในรัชกาลนี้ เมื่ออายุ ๘๘ ปี 

                    เฉกมะหะหมัด ได้ภรรยาเป็นไทยชื่อ เชย  มีบุตรด้วยกัน ๓ คน

                   ๑ เป็นชายชื่อ  ชื่น  ๒ เป็นชายชื่อ ชม ถึงแก่กรรมแต่เมื่อยังเป็นหนุ่ม  ๓ เป็นหญิง ชื่อ ชี เป็นสนมเอกในสมัยพระเจ้าปราสาททอง 

                   นาย ชื่น  บุตรเจ้าพระยาเฉกมะหะหมัด ได้เป็นที่พระยาวรเชษฐ์ภักด  ว่าที่จุฬาราชมนตรี  เจ้ากรมท่าขวา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ตอนปลายรัชกาล

                   ครั้นเมื่อสิ้นแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม เมื่อจุลศักราช ๙๘๘ พ.ศ.๒๑๖๙ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเชษบาธิราช ได้เสวยราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ นับโดยลำดับกษัตริย์พระนครศรีอยุธยา เป็นพระองค์ที่ ๒๓ อยู่ในราชสมบัติ ๑ ปี กับ ๘ เดือน ก็ถูกปลงพระชนม์ชีพ  โดยคำสั่งเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์

                   ต่อมาในจุลศักราช ๙๙๐ พ.ศ. ๒๑๗๑  จึงได้ราชาภิเษก พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เล็กของพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระนามว่า พระอาทิตยวงศ์ มีพระชนม์เพียง ๙ พรรษา  ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระนครศรีอยุธยา โดยลำดับเป็นพระองค์ที่ ๒๔ ได้ครองราชย์อยู่เพียง ๖ เดือน  มุขมนตรีทั้งปวง  จึงพร้อมใจกันยกพระอาทิตยวงศ์ออกจากราชสมบัติ  และถวายราชสมบัตินั้นแด่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์  ขึ้นดำรงราชย์มีพระนามว่า  สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญที่ ๔ พระเจ้าปราสาททอง  เป็นพระมหากษัตริย์นครศรีอยุธยาพระองค์ที่ ๒๕ 

                   ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง พระยาวรเชษฐภักดี ( ชื่น ) บุตรเจ้าพระยาบวรราชนกยก ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยาอภัยราชา  สมุหนายกกรมมหาดไทย  มีบุตร ๒ คน

คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ เลื่อน ได้เป็นเจ้าจอมในพระเจ้าปราสาททอง

คนที่ ๒ เป็นชาย ชื่อ สมบุญ  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วเลื่อนเป็นจมื่นจงภักดีองค์ขวา  ต่อมาได้เป็นพระยาบำเรอภักดิ์  และเจ้าพระยาชำนาญภักดี ตำแหน่งสมุหนายก กรมมหาดไทย  ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า  ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระองค์ที่ ๒๖

                   อนึ่ง เจ้าพระยาชำนาญภักดี ( สมบุญ ) มีภรรยาชื่อ สมบุญ มีบุตรด้วยกัน ๒ คน 

                   ๑ เป็นชายชื่อ ใจ  ๒ เป็นชาย ชื่อ จิตร  บุตรชายทั้ง ๒ คนนี้ เจ้าพระยาชำนาญภักดี ( สมบุญ ) บิดาได้นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง ในสมเด็จพระนารายณ์

                   ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต เมื่อจุลศักราช ๑๐๑๔ พ.ศ.๒๑๙๕ พระเพทราชา ( ทองคำ )จางวางกรมพระคชบาล ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในพระนครศรีอยุธยาพระองค์ที่ ๒๗  ทรงพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระบรมราชามหาบุรุษ ฯ ได้โปรดเกล้าตั้งให้นายจิตร บุตรเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ ) เป็นที่พระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวร  และได้ถึงแก่กรรมในต้นแผ่นดินพระเพทราชา  ส่วนนายใจ พี่ชายหาได้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นไม่ 
.....................
จนต่อมาครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ  จึงโปรดเกล้าตั้งนายใจ บุตรเจ้าพระยาชำนาญภักดี ( สมบุญ ) เป็นพระยาเพชรพิไชย จางวางกรมล้อมพระราชวังหลวง  พระยาเพชรพิไชย ( ใจ ) แต่งงานกับ แฉ่ง  บุตรีเจ้าพระยารัตนาธิเบศ ( ขุนเณร ) สมุหพระกลาโหม ในสมัยพระเจ้าท้ายสระ ( คือพระบาทสมเด็จพระภูมินทราธิราช เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ )

                   ต่อมาพระยาเพชรพิไชย ( ใจ ) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาในนามเดิม ส่วนตำแหน่งราชการได้เป็นสมุหนายก อรรคมหาเสนาบดีกรมมหาดไทย  เจ้าพระยาเพชรพิไชย ( ใจ ) มีบุตรกับ แฉ่ง ภรรยาหลวง ๓ คน ได้แก่
 ๑ เป็นหญิง ชื่อ แก้ว เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยากลาโหม บ้านคลองแกลบ ๒ เป็นชายชื่อ เชน ๓ เป็นชายชื่อ เสน หรือ เสพ และมีบุตรกับ  นาก เป็นภรรยาพระราชทานอีกคนหนึ่งเป็นชายชื่อ  หนู เป็นบุตรคนที่ ๔

                   ส่วน เชน บุตรที่ ๒ พระเจ้าบรมโกศทรงตั้งให้เป็นที่  พระยาวิชิตณรงค์ เจ้ากรมเขนทองซ้าย  ต่อมาในรัชกาลพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ได้โปรดให้เป็นที่พระยาจุฬาราชมนตรี ( เชน ) เจ้ากรมท่าขวา ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำจดหมายเหตุลำดับวงศ์สกุลของท่านในเรื่องนี้ เพราะปรากฏว่า เมื่อเสียพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น ท่านผู้นี้มีอายุ ๕๗ ปีแล้ว

                   ส่วน เสน หรือ เสพ  บุตรคนที่ ๓ ของเจ้าพระยาเพชรพิไชยนั้น ได้โปรดเกล้าให้ไปรับราชการอยู่ในกรมพระราชวังบวร  ซึ่งเวลานั้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ  กรมขุนเสนาพิทักษ์ ( เจ้าฟ้ากุ้งก็เรียก ) ดำรงตำแหน่งมหาอุปราชอยู่ได้โปรดตั้งให้เป็น พระยาเสน่ห์หาภูธร  ( เสน หรือ เสพ ) จางวางมหาดเล็ก ครั้นต่อมาเจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศ  กรมขุนเสนาพิทักษ์  ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวร ต้องราชทัณฑ์ถึงเสียพระชนม์ชีพ จึงโปรดตั้งให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอุทุมพร  กรมขุนพรพินิจ ( เจ้าฟ้าดอกเดื่อก็เรียก )  เป็นกรมพระราชวังบวร  ต่อมาในสมัยนี้ได้โปรดตั้งพระยาเสน่หาภูธร ( เสน หรือ เสพ ) เป็นพระยาจ่าแสนยากร (  เสน หรือ เสพ ) ตำแหน่งอธิบดีกรมมหาดไทยวังหน้า คำสามัญเรียกท่านว่า เจ้าคุณจักรีวังหน้า การที่ต้องบอกนามเดิมพระยาจ่าแสนยากร เป็น เสน หรือ เสพ นั้น เพราะในจดหมายเหตุของพระยาจุฬาราชมนตรี ( เชน )  ซึ่งเป็นพี่ชายของพระยาจ่าแสนยากร  ได้เขียนไว้ว่าชื่อ  เสน ครั้นได้สอบดูกับหนังสือว่าด้วย เจ้าพระยา  ในกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งเจ้าพระยาภาสกรวงษ์(พร ) ได้พิมพ์ขึ้น  โดยสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ได้ทรงตรวจชำระแล้วว่าชื่อ  เสพ  จึงได้ตรวจดูจดหมายเหตุและพงศาวดาร  โดยเกรงว่าจะมีพระยาจ่าแสนยากรกี่คน  ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ  ตลอดมาถึงแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์  ก็คงมีแต่พระยาจ่าแสนยากรอยู่คนเดียว ที่ทำราชการอยู่ในพระราชวังบวร  ฉะนั้นจึงแน่ใจว่า พระยาจ่าแสนยากรคนนี้แหละที่เป็นบุตรเจ้าพระยาเพชรพิไชย  ( ใจ ) ส่วนที่ชื่อ เสน  หรือ เสพ นั้น อาจคัดและเขียนผิดตัว น กับตัว พ เป็นแน่   เพราะรูปร่างของตัว น. กับตัว พ. นั้น ถ้าเขียนหวัด ๆหน่อยก็อาจอ่านได้ทั้ง ๒ ตัว อักษร  ของใครจะผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ

                   ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมโกศสวรรคแล้ว กรมพระราชวังบวร  เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจได้เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นพระองค์ที่ ๓๒ ได้โปรดเกล้าให้พระยาจ่าแสนยากร ( เสน หรือ เสพ ) ว่าการในตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมด้วย  นัยว่าได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าพระยามหาเสนา อนึ่งพระยาจ่าแสนยากร ( เสน )  เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่มอยู่ได้แต่งงานกับ  พวงแก้ว  ธิดาเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ( ขุนทอง ) มีบุตรด้วยกัน ๔ คน

  ๑ เป็นหญิงชื่อ  เป้า ๒ เป็นหญิงชื่อ แป้น  ๓ เป็นหญิงชื่อ ทองดี ( หญิงทั้ง ๓ คนพม่าเอาตัวไป ในคราวเสียพระนครศรีอยุธยา ) ๔ เป็นชายชื่อ บุญมา 

       พระยาจ่าแสนยากร ( เสน )  เมื่อครั้งเป็นพระยาเสน่ห์หาภูธรอยู่นั้น รับราชการอยู่ในกรมพระราชวับวร  ก็ได้รับพระราชทาน  หม่อมบุญศรี พระสนมในพระองค์ท่านให้มาเป็นภรรยา  มีบุตรด้วยกัน ๑ คน
        เป็นชายชื่อ บุนนาค
      และภรรยาอีกคนชื่อ จำรูญ มีบุตรด้วยกัน ๓ คน
        เป็นหญิงชื่อ จำเริญ (  เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยาอินทราภัย มีบุตรหลานสืบสกุลอีกมาก) 
        เป็นชายชื่อ จำรัส ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวร ได้โปรดเกล้าให้มีบรรดาศักดิ์หลวงรักษ์เสนา 
         เป็นหญิงชื่อ รัศมี  เป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวร เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ กรมขุนเสนาพิทักษ์  มีพระราชโอรสองค์หนึ่ง มีพระนามว่า พระองค์เจ้าศรสังข์ เมื่อคราวเสียพระนครศรอยุธยา  พระองค์เจ้าศรีสังข์ได้หนีไปอยู่เมืองบันทามาศ  อาณาเขตประเทศเขมร
          บุตรชายพระยาจ่าแสนยากร ( เสน ) คนที่ ๔ ที่ชื่อ บุญมา ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวร ( กรมขุนพรพินิจ ) ได้ทรงตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น  หลวงนายมหาใจภักดี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าแล้ว พระยากำแพงเพชร ( สิน ) ได้ตั้งกองเพื่อกู้บ้านเมือง และปราบการจลาจลภายใน หลวงนายมหาใจภักดี  ซึ่งเคยเป็นเพื่อนกันกับพระยากำแพงเพชร ( สิน ) ครั้งยังมิได้มีบรรดาศักดิ์มาด้วยกัน จึงได้เข้าร่วมทำราชการอยู่ด้วย ครั้นพระยากำแพงเพชร ( สิน )  ทำการปราบการจลาจลภายในเสร็จแล้ว ก็ได้ตั้งเป็นพระมหากษัตริย์  เรียกนามโดยย่อว่า พระเจ้าตากสิน  หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี   จึงได้โปรดตั้งให้หลวงนายมหาใจภักดี เป็นพระพลสงคราม   

         ต่อมาในรัชการที่ ๑ กรุงเทพมหานคร ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  พระนามเดิม ด้วง )  ได้เลื่อนที่พระพลสงครามเป็นพระยาตะเกิง แล้วเป็นเจ้าพระยายมราช  ว่ากรมนครบาล 
         ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ กรุงเทพ ฯ ( สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นามเดิม ฉิม )  ได้โปรดให้เป็น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา  สมุหพระกลาโหม และได้ถึงอสัญกรรมในรัชกาลที่ ๒ นี้

          ส่วนบุตรชายคนที่ ๕ ของพระยาจ่าเสนยากร ( เสน ) ชื่อ บุนนาค เกิดเมื่อปีมะเมีย สัมฤทธิศก  จ.ศ.  ๑๑๐๐ พ.ศ. ๒๒๘๑  รัชกาลที่ ๑ ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ) ได้โปรดให้เป็นนายฉลองนัยนารถ ในขณะนี้พระนครศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ นายฉลองนัยนารถ หาได้เข้าทำราชการร่วมด้วยไม่  เพราะมีอริกันมาตั้งแต่สมัยยังรุ่นหนุ่ม  จึงเกรงพระราชอาญาในพระเจ้าตากสินจะอาฆาต จึงได้อพยพพาภรรยาชื่อ ลิ้ม บุตรีชื่อ ตานี บุตรชายชื่อ นกยูง จากพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ด้วย หลวงยกกระบัตร ( ด้วง ) ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่รุ่นหนุ่ม  ณ บ้านอัมพวา  แขวงเมืองสมุทรสงคราม

                   ขณะนั้น หลวงยกกระบัตร ได้เข้าทำราชการอยู่กับพระเจ้าตากสินแล้ว เวลาไปงานสงครามไม่ว่าที่ใด นายฉลองนัยนารถ ( บุนนาก ) ก็ไปด้วยเสมอ  ครั้นต่อมา ลิ้มภรรยาเดิมถึงแก่กรรมลง  นายฉลองนัยนารถ จึงมาได้กับ นวล น้องภรรยาหลวงยกกระบัตร ( พระพุทธยอดฟ้า ) ครั้นเมื่อปีขาล  พ.ศ.๒๓๒๕ หลวงยกกระบัตร ( ด้วง ) ได้กระทำความชอบในราชการได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  เจ้าพระยาจักรี และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว  จึงโปรดเลื่อนบรรดาศักดิ์นายฉลองนัยนารถ ให้เป็นพระยาอุทัยธรรมเป็นเจ้าพระยายมราช แล้วเป็นเจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหม ( สกุล บุนนาค สืบมาจากสายนี้ )

                   เมื่อเจ้าพระยามหาเสนา ( บุนนาค ) มีบุตรกับ ลิ้ม ภรรยาเดิมเป็นชายชื่อ นกยูง เป็นหญิงชื่อ  ตานี ตานีได้เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๑ ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๑ พระองค์เจ้าชายฉัตร ๑ เมื่อรัชกาลที่ ๒ สถาปนาเป็นกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ประสูติ พ.ศ. ๒๓๓๒

          เจ้าพระยามหาเสนา  ( บุนนาค ) มีบุตรด้วยกันกับท่านผู้หญิง  นวล หรือนัยหนึ่ง เรียก เจ้าคุณนวล ๑๐ คน    

          ๑ เป็นชาย  ยังไม่มีชื่อถึงแก่กรรมแต่เยาว์

          ๒ เป็นหญิงชื่อ นุ่ม เกิด พ.ศ. ๒๓๒๐ ได้ทำราชการฝ่ายใน ในรัชกาลที่ ๒ ( พระพุทธเลิศเล้า ) ถึงอนิจกรรมเมื่ออายุ ๖๐ ท่านผู้นี้ไม่ได้มีโอรสและธิดา คนโดยมากเรียกว่า  เจ้าคุณวังหลวง

          ๓ เป็นชายชื่อ ก้อน  เกิดปีกุน  เอกศก พ.ศ. ๒๓๒๒

          ๔ เป็นชายชื่อ ทิน เกิดปีชวด  โทศก  พ.ศ. ๒๓๒๓

          ๕ เป็นหญิงชื่อ คุ้ม เกิดปีขาล  จัตวาศก  พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ทำราชการฝ่ายในกรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๒ คนโดยมากเรียกว่า เจ้าคุณวังหน้า ท่านไม่มีโอรสธิดา เมื่ออายุ ๔๙ ถึงอนิจกรรม

          ๖ เป็นหญิงชื่อ กระต่าย เกิดปีเถาะ  เบญจศก  พ.ศ. ๒๓๒๖ ทำราชการอยู่ด้วยเจ้าฟ้าประภาวดี  กรมหลวงเทพยวดี พระราชธิดารัชกาลที่ ๑ มีพระนามเรียกกันว่า ทูลกระหม่อม  ประสาท แล้วคนโดยมากก็เรียกคุณกระต่ายว่า เจ้าคุณประสาท ๆ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ มีอายุได้ ๖๙ ปี  หลังจากสมเด็จพระนั่งเกล้าสวรรคต ๔ วัน

          ๗ เป็นหญิงชื่อ กั้ง เกิดปีมะเส็ง  สัปตศก พ.ศ. ๒๓๒๘  

            เป็นชายชื่อ ดิศ  เกิดวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๓๓๑ ในสมัยรัชกาลที่๑ ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ) ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงโปรดตั้งให้เป็นที่นายสุดจินดา และเป็นหลวงนายศักดิ์ ปลายรัชกาลที่ ๑ ครั้นในรัชกาลที่ ๒ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นไวยวรนารถ และเป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี เป็นเจ้าพระยาพระคลัง  ในรัชกาลที่ ๓ ( สมเด็จพระนั่งเกล้า ) โปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง ( ดิศ ) ว่าที่สมุหพระกลาโหม  ในรัชกาลที่ ๔ ( สมเด็จพระจอมเกล้า  )  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ( เรียกกันว่าสมเด็จองค์ใหญ่ )  ได้ถึงพิราลัย เมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน ๖ ปีเถาะ  สัปศก พ.ศ. ๒๓๙๘ มีชนมายุได้ ๖๘ ปี

          ๙ เป็นชายชื่อ  แขก เกิดวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ปีจอ  โทศก พ.ศ. ๒๓๓๓

         ๑๐ เป็นชายชือ  ทัต  เกิดวันอังคาร เดือน ๔ ปีกุน  ตรีศก  พ.ศ. ๒๓๓๔  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กไล่กา ในรัชกาลที่ ๑ ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ) ครั้นปลายรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นนายสนิท  มหาดเล็กหุ้มแพร

          ในรัชกาลที่ ๒ ( พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ไปรับราชการฝ่ายพระราชวังบวร ( วังหน้า ) ได้เป็นจมื่นเด็กชาหัวหมื่นมหาดเล็ก  เมื่อพระราชวังบวรทิวงคตแล้ว  จึงมาสมทบวังหลวง  ได้โปรดเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาจำนงภักดี  จางวางกรมมหาดเล็ก  ต่อมาได้ทรงตั้งเป็น  พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็กวังหลวง

          ในรัชกาลที่ ๓ ( สมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ )  ได้เลื่อนพระยาศรีสุริยวงศ์เป็น พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา  จางวางกรมกรมพระคลังสินค้า

          ในรัชกาลที่ ๔ ( สมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ) ได้เลื่อนพระยาศรีพิพิฒน์รัตนราชโกษา  เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ฯ ผู้สำเร็จราชการภายในพระนคร ( ที่เรียกกันว่าสมเด็จองค์น้อย ) มีชนมายุได้ ๖๗  ปี จึงถึงแกพิราลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙

          ส่วนบุตรชายคนที่ ๗ ของพระยาจ่าแสนยากร ( เสน ) ชื่อ จำรัส ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวร  รับราชการอยู่ในกรมมหาดไทย  ภายหลังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรักษ์เสนา  ได้มีบุตรกับภรรยาหลวงเป็นชายชื่อ ทองขวัญ และมีบุตรกับอนุภรรยาอีก ๔ คน ชื่อ ยิ้ม แย้ม  เขียว  ขำ 

          หลวงรักษ์เสนา  ( จำรัส ) นั้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐  พระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว  ต่างก็แตกฉานซ่านเซ็นกันไป ที่ถูกพม่าจับเป็นไปก็มาก ฆ่าเสียก็มาก หลวงรักษ์เสนาจะเป็นตายอย่างไรไม่ทราบ  สาบสูญไป แต่บุตรทั้ง ๔ คนยังอยู่

          สมัยรัชกาลที่ ๓๓ ของพระนครศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินมีพระนามว่า  สมเด็จพระบรมราชามหาดิศร ฯ แต่โดยมากมักเรียกพระนามท่านว่า  พระที่นั่งสุริยามรินทร์ เพราะเมื่อสมเด็จะพระบรมราชาที่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชบิดาสวรรคต กรมขุนพรพินิจ  พระนามเดิมเจ้าฟ้าอุทุมพร  หรือเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อก็เรียก  ทรงเป็นกรมพระราชวังบวรฯ  ได้รับอัญเชิญจากข้าราชการให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔  แต่กรมขุนอนุรักษ์มนตรีพระนามเดิมเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เสด็จไปอยู่บนพระที่นั่งสุริยามรินทร์ นัยว่าปรารถนาอยากได้ราชสมบัติ  เพราะพระองค์ท่านเป็นพี่ร่วมพระชนกชนนีเดียวกันกับกรมขุนพรพินิจ กรมขุนพระพินิจครองราชสมบัติได้เพียง ๑๐ วัน ( บางแห่งว่า ๑๐ เดือนกับ ๑๐วัน ) โดยนับลำดับพระมหากษัตริย์ที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระองค์ที่ ๓๒ แล้ว ก็เลยถวายราชสมบัติให้แด่พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา  โดยที่พระองค์ชอบประทับอยู่ในพระที่นั่งสุริยามรินทร์ไม่ยอมออก จนได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน  จึงเรียกพระองค์ท่านตามนามพระที่นั่งนั้น 

          ส่วนกรมขุนพรพินิจ  เมื่อได้ถวายราชสมบัติแด่สมเด็จพระบรมเชษฐาแล้ว ก็เสด็จไปทรงผนวช    วัดเดิม แล้วมาประทับอยู่วัดประดู่  ที่พวกเราต่อมารู้จักกันว่า  ขุนหลวงหาวัด  นี่แหละ  ในรัชกาลที่ ๓๓ นี้  มีศึกพม่ายกมารุกรานพระนครศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าอย่างยับเยินเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าได้ทำลายวัตถุสถานแหลกลาญ  ซ้ำกวาดต้อนครอบครัวคนไทยเอาไปเป็นเชลย  ณ ประเทศพม่าเป็นอันมาก 

          ในขณะนั้น  นายทองขวัญ  นายแย้ม  บุตรหลวงรักษ์เสนา  ( จำรัส ) ได้หลบหนีไปกับนายทองดี  ซึ่งเป็นที่ออกพระอักษรสุนทรศาสตร์รับราชการอยู่ในกรมมหาดไทย  ขึ้นไปยังเมืองพิษณุโลก ซึ่งพม่าหาได้ยกขึ้นไปรุกรานไม่

          ในระหว่างที่เสียกรุงแก่พม่า  เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (  บุญเรือง ) ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลกก็ได้ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยาม  ส่วนพระอักษรสุนทรศาสตร์ ( ทองดี )  ซึ่งเป็นผู้ทำราชการมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังไม่แตก  เป็นผู้รู้จักกันมากับเจ้าพระยาพิษณุโลก  จึงได้เข้าทำราชการอยู่    กรุงพิษณุโลกด้วย  นัยว่าได้ตั้งให้เป็นถึงเจ้าพระยาจักรี  ที่สมุหยายก และตั้งนายทองขวัญ ซึ่งเป็นผู้ติดตามมาด้วย เป็นที่นายชำนาญ ( กระบวน ) นายเวรกรมมหาดไทย เมื่องพิษณุโลก

          ในสมัยที่เจ้าพระยาพิษณุโลกตั้งตนเป็นกษัตริย์นั้น พระยากำแพงเพชร เดิมเป็นผู้ว่าราชการเมื่องกำแพงเพชร  ภายหลังจึงย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการเมื่องตาก  ได้รวบรวมไพร่พลขึ้นที่เมืองชล  เมื่องบางละมุง เมืองระยอง เมืองจันทบุรี  ตลอดถึงเมืองตราดและพักต่อเรือ ( เข้าใจว่าจะเป็นเรือรบ  แต่จะมีรูปร่างอย่างไรไม่ทราบ  )

พอได้จำนวนพลและเรือพอสมควรแล้ว ก็ยกขึ้นมาตีหน้าด่านชึ่งพม่าได้ตั้งไว้ที่เมืองธนบุรี  มีคนไทยคนหนึ่งชื่อ ทองอิน  ทรยศต่อชาติ เข้ากับพวกพม่า ๆ ได้ตั้งเป็นพระนายกองควบคุมอยู่ นายทองอินได้ต่อสู้แต่พ่ายแพ้แก่พระยาตากสิน  ตัวนายทองอินตายขณะรบกันนั้น  พระยาตากสิน จึงตั้งชุมนุมรวบรวมไพร่พลเป็นการใหญ่ที่เมืองธนบุรี เข้าใจว่าขณะนี้ละกระมังที่เรียกพระยาตากสินว่า  เจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังต่อมาเมื่อตีทัพสุกี้นายกองพม่าที่โพธิ์สามต้นแตกหนีไปหมดแล้ว  จึงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลกครั้งหนึ่ง  ชาวเมืองได้ต่อสู้แข็งแรง  พระยาตากสินต้องปีนที่ชงฆ์ แล้วก็ล่าทัพกลับกรุงธนบุรี

          ต่อมาเจ้าพระฝาง ( เรือน ) บวชเป็นพระอยู่  ก็ได้ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์บ้าง ณ เมืองสวางคบุรี  ได้ยกพลมาตีเมืองพิษณุโลก ๆ สู้ไม่ได้  พ่ายแพ้แก่เจ้าพระฝาง  เจ้าพระฝางได้กวาดต้อนเอาผู้คนชายหญิงของเมืองพิษณุโลกไปเป็นเชลย  ณ เมืองสวางคบุรี เป็นอันมาก

          ครั้นจุลศักราช ๑๑๓๒ โทศก ( พ.ศ. ๒๓๑๓  )ภายหลังกรุงเก่าแตกแก่พม่า ๓ ปี พระเจ้ากรุงธนบุรี ( ตากสิน )ได้ยกพลขึ้นไปตีเมืองสวางคบุรีแตก แต่เจ้าพระฝาง ( เรือน ) หนีไปได้ ได้แต่นางพระยาช้างเผือก แล้วยกทัพกลับกรุงธนบุรี

          อนึ่ง ในระหว่างที่ก่อนเมืองพิษณุโลกจะถูกเจ้าพระฝางตีแตกนั้น  พระเจ้ากรุงพิษณุโลกได้เสียพระชนมชีพแล้ว พระอุปราชได้ครอบครองแทน  ต่อมาในระหว่างเวลาไม่ห่างไกลกันนั้น เจ้าพระยาจักรี ( ทองดี ) ก็ถึงอสัญกรรมด้วย คราวนี้ หม่อมมา ที่เป็นอนุภรรยาเจ้าพระยาจักรี ( ทองดี ) กับบุตรชายชื่อ ลา ( ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งให้เป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฏา เป็นต้นตระกูล เจษฎางกูล ) นายทองขวัญ  นายยิ้ม  ผู้เป็นสานุศิษย์ของเจ้าพระยาจักรี (  ทองดี ) ก็ได้ช่วยกันกระทำการฌาปนกิจเจ้าพระยาจักรีตามควรในเวลานั้น แล้วก็นำอัฐิของเจ้าพระยาจักรี ( ทองดี )  พากันล่องลงมาหาพระยาอภัยรณฤทธิ์ ( ด้วง ) ซึ่งเป็นแม่ทัพหน้าของพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ ที่ตำบลเกยไชย  แขวงเมืองนครสวรรค์

          พระยาอภัยรณฤทธิ์ ( ด้วง )ผู้นี้ ก็คือเป็นบุตรของพระอักษรสุนทรศาสตร์ ( ทองดี ) ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ายังไม่แตกแก่พม่า หรือเจ้าพระยาจักรี ( เมืองพิษณุโลก ) และท่านผู้นี้แหละ ต่อมาเมื่อสิ้นแผ่นดินพระเจ้าตากสินแล้ว ก็ได้ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งปฐมวงศ์จักรี  มีพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 

          เมื่อกองทัพกลับมาเมืองธนบุรีแล้ว หม่อมมา ผู้เป็นภริยาของเจ้าพระยาจักรี ( ทองดี ) และนายลา ผู้บุตรกับนายทองขวัญ  นายยิ้ม นายแย้ม  ทั้ง ๕ คนนี้ก็ได้มาอยู่ในความอุปการะของพระยาอภัยรณฤทธิ์ ( ด้วง )

          ต่อมาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ได้โปรดเลื่อนบรรดาศักดิ์และตำแหน่งแก่พระยาอภัยรณฤทธิ์ เป็นพระยายมราช และเป็นเจ้าพระยาจักรี  ว่าที่สมุหนายก  จึงได้โปรดตั้งให้นายทองขวัญเป็นที่นายชำนาญ ( กระบวน ) นายเวรกรมมหาดไทยเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาแต่ครั้งอยู่เมืองพิษณุโลก

          นายชำนาญ ( ทองขวัญ ) ได้แต่งงานกับทองขอน บุตรีพระยานครอินทร์   พระยานครอินทร์นี้ เมื่อครั้งแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ รัชกาลที่ ๓๓ แห่งพระนครศรีอยุธยา  ได้เป็นที่สมิงนระเดชะ ชื่อตัวว่า มะทอเบิ้น เป็นนายกกองรามัญกรมอาษาทะมาตย์  ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าตากสิน ได้ตั้งให้เป็นพระยานครอินทร์ และได้ถูกฆ่าตายพร้อมด้วยพระยาตากสิน เมื่อพระยาสรรค์ เข้ามานั่งซัง (ในตอนนี้พ่อจำต้องพูดนอกเรื่องสักเล็กน้อยเพาะอดไม่ได้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจพวกเจ้า คือ เขาว่า พระเจ้าตากสินเป็นบ้า เพราะท่านทรงวิปัสสนากรรมฐาน พ่อเองก็ไม่มีความรู้ข้อนี้ แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้  เจ้าลองถามดูตามท่านผู้รู้เถิดว่า วิถีทางของพระพุทธศาสนา ทำให้คนเป็นบ้าได้หรือไม่  )

          เมื่อพระยาสรรค์เข้าทำการในตอนนี้ เรียกว่า ขบถ  พระเจ้าตากสินยอมจำนน พระยาสรรค์บังคับให้บวช  ท่านก็เต็มใจบวช  ต่อมาในระหว่างบวชใครเล่าสั่งให้จับไปฆ่า ............ ข้อนี้ซิทำให้พ่อนึกว่า  การเมืองนี่มันไม่ใคร่จะมี  ธรรมะ ครองเสียบ้างเลย พระเจ้าตากสินได้กู้ชาติไทย ให้เป็นอิสระได้ด้วยความลำบาก ยากแค้นแสนสาหัสสักเพียงใด  เขายังไม่คิดถึง  พระองค์ท่านดำรงราชย์มาถึง ๑๔ ปี ได้ชุบเลี้ยงตั้งแต่คนให้เป็นใหญ่เป็นโต มีอรรคฐานมากมาย  กระนั้นก็ยังไม่มีใครระลึกถึงพระคุณของท่าน นอกจากพวกยอมตายพร้อมกับท่านด้วยความกตัญญู คือ พระยารามัญวงษ์ ( มะซอน ) คนหนึ่ง ซึ่งเป็นญาติชั้นผู้ใหญ่ของเรา  ซึ่งจะได้เล่าให้รู้ข้างหน้า  ที่พูดมาทั้งนี้ก็เพื่อจะสอนเจ้าให้รู้จัก และประพฤติกตัญญูกตเวทีต่อชาติบ้านเมือง และผู้มีพระคุณไว้ให้มั่นคงเท่านั้น

          การแต่งงานของท่านทองขอนนั้น  ได้แต่งกันที่บ้านหลังวัดราชบพิธและเชิงสะพานมอญ อีกด้านหนึ่งติดถนนเฟื่องนคร  ท่านทองขอนและนายชำนาญ  ( ทองขวัญ )  เมื่อได้ทำพิธีสมรสกันแล้ว  ต่อมามีบุตรและธิดาด้วยกัน ๓ คน  คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ ทองพิมพ์  ทองพิมพ์ผู้นี้ไม่มีสามี  ใฝ่ใจในทางพระศาสนา  อุทิศตนเป็นอุบาสิกาตลอดชีพ  จึงไม่มีเชื้อสายต่อไป  คนที่ ๒ เป็นชายชื่อ ทองเพ็ง  ท่านผู้นี้คือทวดของพ่อโดยตรง  ซึ่งจะได้เล่าประวัติไว้ต่อไป  คนที่ ๓ เป็นหญิงชื่อ ทองเทศ เป็นน้องร่วมบิดามารดากับเจ้าคุณทวดของพ่อ  ซึ่งพ่อจะได้เล่าประวัติโดยสังเขปไว้  คือ  ท่านทองเทศได้สามีเป็นที่หลวงศรีเสนา  ( ทองอ่อน ) ในรัชกาลที่ ๓ มีบุตรีคนหนึ่งชื่ออิ่ม เป็นภรรยาหลวงในพระยาศรีสุนทรโวหาร  ( ฟัก )  เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ ได้เกิดบุตรหญิงคนที่ ๑ ชื่อ พัน เป็นภรรยาพระราชภพบริหาร มีบุตรด้วยกันเป็นหญิงคนที่ ๑ ชื่อ ชื่น  เป็นคุณหญิงในพระยาวรฤทธิ์ฤาไชย ( เคลื่อน อมาตยกุล ) บุตรหญิงคนที่ ๒ ชื่อ  ชื่อ อบ  และคนที่ ๓ เป็นชาย ชื่อ อุ่น เป็นหลวงพำนักนิกรชน 

          ส่วนบุตรชายคนที่ ๒ ของพระยาศรีสุนทร  ( ฟัก ) นั้นชื่อ กระมล  ได้เป็นที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (  กระมล สาลักษณ์ ) ได้แต่งงานกับท่านพึ่ง เป็นภริยาหลวง ซึ่งเป็นบุตรีพระคชภักดี (  ท้วม ) ท่านริ้วเป็นมารดา  พระยาศรีสุนทรโวหาร ( กระมล สาลักษณ์ ) มีบุตรกับท่านพึ่ง อนุภรรยา  ๘ คน

          ๑ เป็นชาย ชื่อ ผัน  มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุนทรโวหาร เหมือนบิดาและปู่  มีบุตรคนหนึ่งกับคุณหญิงวงษ์ ชื่อ กมลวงษ์ เป็นหลวงปฏิภาณ ฯ

          ๒ เป็นหยิงชื่อ ถวิล  เป็นท่านผู้หญิงในเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ( สนั่น  เทพหัสดิน ) มีบุตรด้วยกัน ๔ คน ๆที่ ๑ ชายชื่อ กำธร ที่ ๒ หญิงชื่อ ไฉไล  ที่ ๓ ชายชื่อ ครรชิต  ที่ ๔ หญิง สุธรรมา

          ๓ เป็นหญิงชื่อ ปรุง เป็นภริยาในเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  ( สนั่น เทพหัสดิน ) มีบุตรด้วยกัน ๕ คนๆ ที่ ๑ หญิงชื่อ เรวดี  ที่ ๒ ศรียา  ที่ ๓ ชายชื่อ ชาลี  ที่ ๔ หญิงชื่อ กัณหา  ที่ ๕ เป็นชายชื่อ บรรลือ 

          ๔ เป็นหญิงชื่อ ฉวี เป็นภรรยาหม่อมราชวงศ์โต๊ะ นพวงษ์  ณ อยุธยา มีบุตรด้วยกัน ๔ คน ๆ ที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ สมพิศ  ที่ ๒ ชายชื่อ ทัตทัน ยังมีบุตรแฝดอีกเป็นชายชื่อ  บรรจิต  หญิงชื่อบรรจง

          ๕ เป็นชายชื่อ สุนทร มีบรรดาศักดิ์ เป็นพระสุนทรวาจนา สมรสกับภริยา ๓ คน มีบุตรกับสดับ บุนนาค เป็นหญิงชื่อ สีดา กับสดม  บุนนาค เป็นชาย ชื่อดุสิต กับสว่างวงศ์  เทพหัสดิน  เป็นหญิงชื่อ  แอ๋ว 

          ๖ เป็นหญิงชื่อ ศรี สาลักษณ์

          ๗ เป็นชายชื่อ เล็ก  มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงวิจิตรมนตรี  มีภรรยาชื่อ ขิม  มีบุตร ๒ คน  ชายชื่อ ลิขิต ๑ เอกราช ๑ 

          ๘ เป็นชายชื่อ อุดม  มีภรรยาชื่อ เภา มีบุตร ๙ คน หญิงชื่อ สุจรี ๑ ชายชื่อ กำแหง ๑ ชายชื่อ พิชัย ๑ ชายชื่อ เปี๊ก ๑  หญิงชื่อ ปทุมวดี ๑ ชายชื่อ ปุ้ย ๑ หญิงชื่ อ พึ่งพันธ์ ๑ ชายชื่อ ปิงปอง ๑ ชายชื่อ ป๊อกแป๊ก ๑

พระยาศรีสุนทรโวหาร ( กระมล สาลักษณ์ ) มีบุตรกับอนุภรรยาอื่นๆ อีก คือ 

          ๙ เป็นหญิงชื่อ  เอื้อน เกิดด้วยนอม เป็นมารดา ได้เป็นภริยาเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ( สนั่น  เทพหัสดิน ) มีบุตรด้วยกัน ๔ คน ชายชื่อ ไกวัลย์  หญิงชื่อ มธุรส ๑ หญิงชื่อ อุษา ๑ ชายชื่อ นฤนารถ๑

          ๑๐ เป็นหญิงชื่อ จงกล  เกิดด้วยมารดาชื่อคล้อย  แต่งงานกับ สระ พันธุ์ทิพย์  มีบุตรเป็นชายชื่อ เกริกเกียรติ
........... ๑๑ เป็นหญิงชื่อ อุบล เกิดด้วยมารดาชื่อ คล้อย ได้สามีคือ หม่อมหลวงดรุณสิริวงษ์

                   ขณะนั้นที่ดินในแถบบ้านเจ้าคุณทวดของพ่อนี้  พวกมอญได้มาตั้งนิวาสสถานอยู่ริม ๒ ฝั่งคลองหลอด ด้วยอาศัยพึ่งบุญบารมีเจ้าคุณทวดของพ่อเป็นอันมาก  นัยว่าครั้งนั้นเจ้าคุณทวดของพ่อกำลังมีวาสนา  จึงได้กะเกณฑ์ หรือขอแรงพวกมอญเหล่านี้ ทำสะพานข้ามคลองหลอด หรือคลองตลาด  ตัวสะพานใช้ไม้สักขนาดหนาและใหญ่  เชิงสะพานทั้ง ๒ ข้าง  ก่ออิฐถือปูนเป็นกำแพงรับ  สะพานนั้นจึงมีนามว่า  สะพานมอญ  มาจนทุกวันนี้ บ้านนี้  ต่อมาได้ตกมาเป็นของนายชำนาญ ( ทองขวัญ ) บุตรเขย และพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ผู้หลานตลอดมา  ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘ พระยาศรีหสเทพ ( ทองเพ็ง ) ถึงอนิจกรรมแล้ว ที่ดินแปลงนี้ได้ตกมาเป็นมรดกแก่ลูกหลานเหลนตามส่วน พ่อก็ได้รับที่ดินเป็นมรดกด้วย ๒ แปลงแห่งหนึ่งเป็นมรดกคุณปู่ของพ่อ  ซึ่งเป็นบุตรพระยาศรีสหเทพ อีกส่วนหนึ่งพ่อได้ทางคุณแม่ของพ่อ  ซึ่งคุณตาคุณยายได้ให้ไว้  ติดต่อในบริเวณ บ้านพระยาศรีสหเทพ ด้านถนนอัษฎางค์  ครั้นต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งพระมหากษัตริย์ เวลานั้นเป็นราชาธิปไตยมีอำนาจสิทธิ์ขาด  จึงถูกทางราชการบังคับซื้อเป็นที่หลวง  ตอนริมถนน  คิดให้ตาราวาละ ๔๐ บาท  ตอนนั้นให้ตารางวาละ ๓๐ บาท 

          ต่อนี้ไปจะขอย้อนกล่าวถึงนายทองขวัญ เป็นนายชำนาญกระบวน ตำแหน่งนายเวร กรมมหาดไทยแล้ว  ต่อมาทางภาคเขมร เกิดการจลาจลระสำระสายอยู่  จึงโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาจักรี ( ด้วง ) ยกกองทัพขึ้นไปปราบปราม  ได้ตั้งชุมนุมทัพอยู่ที่เมืองบันทายเพชร ในการไปทัพครั้งนี้ได้โปรดให้นายชำนาญ ( ทองขวัญ ) เป็นแม่กองไปด้วย เพราะนายทองขวัญเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดไว้วางใจของเจ้าพระยาจักรี  แม่ทัพ และโปรดให้เป็นว่าที่หลวงราชเสนา  และพระราชทานเบี้ยหวัดเครื่องยศผ้าปี่ ในหน้าที่หลวงราชเสนาให้ด้วย

          ในระหว่างที่กองทัพเจ้าพระยาจักรี  ตั้งอยู่ที่เมืองบันทายเพชรนี้ ก็ทราบข่าวการจลาจลของกรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรี ( ด้วง ) แม่ทัพจึงแบ่งกำลังทัพส่วนหนึ่งยกกลับมากรุงธนบุรี ส่วนกองทัพที่เหลืออยู่ให้ถอยมาตั้งอยู่ที่เมืองตะบอง ให้ว่าที่หลวงเสนา ( ทองขวัญ ) เป็นแม่กองควบคุมอยู่

          ครั้นเมื่อเจ้าพระยาจักรี ( ด้วง ) เข้าถึงกรุงธนบุรีปราบจลาจลในกรุงธนบุรีเรียบร้อยแล้ว  ก็ได้สถาปนาปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์  ทรงพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฒาโลก  เป็นรัชกาลที่ ๑ ในพระราชวงศ์จักรี แล้วจึงเรียกกองทัพที่ตั้งอยู่ ณ เมืองพระตะบองกลับ  ว่าที่หลวงราชเสนา ( ทองขวัญ ) จึงได้นำกองทัพกลับจากเมื่อพระตะบอง ได้กระทำราชการตามหน้าที่ อยู่มาไม่กี่วันว่าที่หลวงราชเสนาก็ล้มเจ็บลง ในชั้นต้นเป็นไข้ป่า  ภายหลังได้กลายเป็นโรคอัมพาต  จะเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ เห็นจะทรงระลึกถึงความชอบของว่าที่หลวงราชเสนา ( ทองขวัญ ) หลายประการ  เบื้องต้นแต่ได้ติดตามเป็นศิษย์พระบรมชนกขึ้นไป ณ เมืองพิษณุโลก  ครั้นเมื่อพระบรมชนกสิ้นพระชนมชีพก็ได้ช่วยกันกับหม่อมมา  นายลาบุตร กระทำการฌาปนกิจเก็บอัฐิ  นำมาถวายพระองค์ท่านที่บ้านเกยชัย  ต่อมาก็ได้เข้ารับใช้ใกล้ชิด ตลอดจนไปทัพเขมรครั้งนี้ด้วย จึงได้โปรดตั้งให้เป็นว่าที่พระหรือพระยาราชนิกูลให้ด้วย 

          สมัยต่อมา  ในรัชกาลที่ ๑  ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ศก ๑๒ จุลศักราช  ๑๑๕๕  นายทองเพ็ง  ก็ได้อุบัติมาเป็นบุตรนายชำนาญ ( ทองขวัญ ) กับทองขอน ผู้ภริยา  นายทองเพ็งผู้นี้แหละ คือทวดของพ่อโดยตรง จึงได้มีบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ในรัชกาลที่ ๓ ( สมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กรุงเทพ ฯ เดี๋ยวนี้   และต่อมาในรัชกาลที่ ๖  ( สมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ) ได้โปรดเกล้า ฯ ให้คนไทยมีนามสกุลขึ้น  จึงโปรดให้ผู้ที่เป็นเผ่าพันธุ์ของพระยาศรีสหเทพโดยตรงเฉพาะชายและหญิงที่ยังไม่ได้สมรสกับสกุลอื่น  ใช้นามสกุลว่า  “ ศรีเพ็ญ “ โดยทรงเอานามบรรดาศักดิ์  คือ ศรี  กับ นามตัวของท่าน คือ เพ็ญ  ( เพ็ญกับเพ็งมีความหมายอย่างเดียวกัน )ประสมกัน ฉะนั้นจึงนับว่าเจ้าคุณทวดของพ่อเป็นต้นของสกุล “ ศรีเพ็ญ “ พ่อผู้เป็นเหลนของท่านโดยตรงจึงใช้นามสกุลว่า  “ ศรีเพ็ญ “ มาจนทุกวันนี้

          นิวาสสถานของเจ้าคุณทวดของพ่ออยู่ที่เชิงสะพานมอญ  ตรงหน้าสวนสราญรมย์ ( ขามคลองตลาดหรือคลองหลอด )  ทิศตะวันออกติดถนนเฟื่องนคร  ทิศตะวันตกติดถนนอัษฎางค์ ทิศเหนือติดคลองหลังวัดราชบพิธ ทิศใต้ติดถนนเจริญกรุง โดยประมาณกว้ายาวด้านละ ๓ – ๔ เส้น 

          พระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) เกิด ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนสี่  ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕  เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลที่ ๑ ( สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) กรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อเจริญชนมายุขึ้น  ก็ได้เข้าทำราชการในกรมมหาดไทย  ได้เป็นที่หมื่นพิพิธอักษรในรัชกาลที่ ๒ ( สมเด็จพระพุทธเลิดหล้านภาลัย ) ในสมัยกาลครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเลิดหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กำลังทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนเรื่องอิเหนา  โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอและพวกราชบัณฑิตช่วยแต่งเป็นตอนๆ และมีพระราชประสงค์ใคร่ได้ผู้ที่เขียนหนังสือดี ๆ สักคนหนึ่ง พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ( ซึ่งต่อไปเป็นสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ )  จึงทรงเลือกได้หมื่นพิพิอักษร ( ทองเพ็ง )  ซึ่งเป็นผู้ชำนาญในทางเขียนอักษร  และแต่งบทกลอนได้อย่างว่องไว  ไปถวายสมเด็จพระบรมชนก และพระองค์ท่านก็ได้ทรงใช้สอยหมื่นพิพิธอักษร ด้วยความโปรดปราน ในรัชกาลที่ ๒ นี้ หมื่นพิพิธอักษรได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ถึง ๒ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ เป็นที่หลวงเสนา  อีกครั้งหนึ่งเป็นพระศรีสหเทพ  แต่จากนั้นมา  พระศรีสหเทพก็ได้ประกอบแต่คุณงามความดี  สำแดงซึ่งความกตัญญูกตเวทีจงรักภักดีในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตลอดมา  จนถึงกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  ได้ครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ ๓ เมื่อได้ทรงเห็นความสามรถในทางอักษรศาสตร์ แต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นที่พอพระราชหฤทัย ทั้งเป็นผู้ทรงคุ้นเคยมาแต่ก่อนด้วย จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง )   เมื่ออายุของท่านได้ ๓๕ ปี และได้เป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย  กรมนา และอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ในรัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นสหายรักใคร่กันมากกับเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ( สิงห์  สิงหเสนี ) และเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ ท่าน  จึงมีคำกล่าวกันว่า  เจ้าพระยาบดินทร์เป็นขุนพลแก้ว  และพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) เป็นขุนคลังแก้วของรัชกาลที่ ๓ นับว่าเป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ ๓  อย่างพิสดารเป็นอันมาก ถ้าจะเขียนลงไว้ตามจดหมายเหตุก็จะยืดยาวนัก

          เจ้าคุณทวดของพ่อมีภรรยาหลวงคนหนึ่งชื่อท่านก้อย และมีอนุภรรยา เรียกกันเวลานั้นว่าหม่อมอีก ๕๖ คน เฉพาะภรรยาที่มีบุตร ๓๒ คน บุตรที่เกิดมาเป็นชาย ๒๔ คน  เป็นหญิง ๒๕ คน เวลานั้นเจ้าคุณทวดของพ่อรุ่งเรืองด้วยอำนาจราชศักดิ์มากเพราะพระเจ้าแผ่นดินโปรดปราน  ในตอนที่โปรดให้ตัดถนนเจริญกรุงกับถนนเฟื่องนคร บังเอิญมาสบเป็นสี่แยกที่ข้างบ้านของท่าน  ที่นั้นจึงได้นามว่า  สี่กั๊กพระยาศรี  คือ เป็นนามของเจ้าคุณทวดพ่อนี่แหละ เดี่ยวนี้มาเปลี่ยนเรียกเป็นสี่แยกพระยาศรี

          ต่อมา เจ้าคุณทวดของพ่อ คือพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ก็ได้บรรลุซึ่งกาลอวสานโดยเป็นไข้  ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ  ณ วันอังคารแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง  สัปตศกจุลศักราช  ๑๒๐๗ รวมชนมายุได้ ๕๓ ปี  เป็นปีที่ ๒๒  ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานโกศสิบสองลายกุดั่น กับฉัตรเบญจาแลฉัตรกำมะลอ ๘ ฉัตรประดับโกศ มีเครื่องประโคมแตรงอน  แตรฝรั่ง  จ่าปี่  จ่ากลองชนะเขียว ๑๒  คู่เป็นเกียรติยศ

          ต่อไปนี้จะได้บอกรายนาม  บุตร หลาน  เหลน  โหลน  ของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ไว้เป็นสาย ๆ เท่าที่ได้ความตามจดหมายเหตุบ้าง  พ่อรู้เห็นเองบ้าง  ถามจากหวกญาติพี่น้องบ้าง  ที่สืบสวนไม่ได้ความเลยก็มีบ้าง  ฉะนั้น ความบกพร่องหรือผิดพลาดก็อาจมีได้บ้าง  ในชั้นแรกจะกล่าวถึงพวกบุตรก่อน 

บุตรที่เกิดจากท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาหลวงมี ๖ คน คือ

          ๑ เป็นชายชื่อ   มุ้ย      ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์

          ๒ เป็นชายชื่อ   พึ่ง      ได้เป็นที่พระศรีสหเทพ

          ๓ เป็นชายชื่อ   พลอย  ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์

          ๔ เป็นชายชื่อ   ไผ่       เป็นที่หลวงอนุรักษภูเบศ

          ๕ เป็นหญิงชื่อ พัน      ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์

          ๖ เป็นชายชื่อ   ทองอิน เป็นจมื่นอินทรามาตย์  ภายหลังเป็นหลวงพิพิธภักดี

บุตรที่เกิดจาก อนุภรรยา มี  ๔๒  คน คือ

         ๗ เป็นชายชื่อ  หลำ    เป็นนายจ่านิตยฺ  ทองดีเป็นมารดา

          ๘ เป็นหญิงชื่อ  ทองคำ  หุ่นเป็นมารดา

          ๙ เป็นชายชื่อ  นาก    เป็นนายรองพินิจราชการ พักเป็นมารดา

         ๑๐ เป็นชายชื่อ แย้ม   เป็นจมื่นราชนาคา   ทองเป็นมารดา

          ๑๑ เป็นหญิงชือ นิ่ม     กองเป็นมารดา

          ๑๒ เป็นหญิงชื่อ เสงียม  กองเป็นมารดา

          ๑๓ เป็นชายชื่อ อ้น  เป็นหลวงรักษ์สมบัติ  บัวใหญ่เป็นมารดา 

          ๑๔  เป็นหญิงชื่อ จุ้ย  เป็นพระสนมในรัชกาลที่ ๓ ปรางเป็นมารดา ภายหลังเปลี่ยนเป็นชื่อ ละม้าย ได้เป็นคุณหญิงพระยาสุรินทรราชเสนี ( จั่น )

          ๑๕ เป็นชายชื่อ ชื่น  เป็นพระยาเจริญราชไมตรี  ปรางเป็นมารดา ไม่มีบุตร

          ๑๖ เป็นหญิงชื่อ ละม้าย   เกตเป็นมารดา  (ละม้ายเป็นพี่ร่วมมารดากับนายช่วง(พระยาอภัยสงคราม )

          ๑๗ เป็นชายชื่อ ช่วง เป็นพระยาอภัยสงคราม   เกตเป็นมารดา

          ๑๘ เป็นชายชื่อ  หรุ่น  เป็นพระยามหาอำมาตย์  เอี่ยมใหญ่เป็นมารดา

          ๑๙ เป็นชายชื่อ จีน  เป็นมหาดเล็กในราชกาลที่ ๓   นิ่มเป็นมารดา

          ๒๐ เป็นชายชื่อ ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์   แสงเก๋งเป็นมารดา

          ๒๑ เป็นชายชื่อ ขลิบ  เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓    แสงเก๋งเป็นมารดา 

          ๒๒ เป็นหญิงชื่อ  ปาน    เปี่ยมเป็นมารดา

          ๒๓ เป็นหญิงชื่อ   ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์    เอี่ยมลาวเป็นมารดา

๒๔ เป็นชายชื่อ    ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์    เอี่ยมลาวเป็นมารดา

๒๕ เป็นหญิง    ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์    เอี่ยมเจ๊กเป็นมารดา

๒๖ เป็นหญิง    ไม่ปรากฎชื่อ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์    เอี่ยมลาวเป็นมารดา

๒๗ เป็นชายชื่อ  ชุ่ม  เป็นมหาดเล็กหลวง   ลิ้มเป็นมารดา 

๒๘ เป็นหญิงชื่อ  อ่ำ ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์    ลิ้มเป็นมารดา

๒๙ เป็นหญิงชื่อ  ละม่อม   แก้วเป็นมารดา 

๓๐ เป็นชายชื่อ     จู   ถึงแกกรรมเมื่อยังเยาว์    พิมพ์เป็นมารดา

๓๑ เป็นชายชื่อ     หนู   ถึงแกกรรมเมื่อยังเยาว์    พิมพ์เป็นมารดา

๓๒ เป็นหญิงชื่อ  กริม  บัวลาวเป็นมารดา

๓๓ เป็นหญิงชื่อ  นิตย์   ไผ่เป็นมารดา

๓๔ เป็นหญิงชื่อ  ละมุด  บัดเป็นมารดา

๓๕ เป็นหญิงชื่อ  พัน   แสงโปร่งเป็นมารดา

๓๖ เป็นหญิงชื่อ  จันท์     ทับเป็นมารดา 

๓๗ เป็นชายชื่อ   พัน    ทับเป็นมารดา 

๓๘ เป็นหญิงชื่อ  อึ่ง  สุ่เป็นมารดา

๓๙ เป็นชายชื่อ  ถึก  ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง  สุ่นเป็นมารดา 

๔๐ เป็นหญิงชื่อ  พิม  หนูหอเป็นมารดา

๔๑ เป็นชายชื่อ  สนธิ์   บัวสวนเป็นมารดา 

๔๒ เป็นหญิงชื่อ  แดง    เสมเป็นมารดา 

๔๓ เป็นหญิงชื่อ  สวน  เป็นหม่อมห้ามในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระราชโอรสองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ ๔ สาตเป็นมารดา

๔๔ เป็นหญิงชื่อ  แหว   นากเป็นมารดา

๔๕ เป็นชายชื่อ  ไย  แสงซอเป็นมารดา 

๔๖ เป็นหญิง ไม่ปรากฎชื่อ   เอี่ยมเจ๊กมารดา

๔๗ เป็นหญิงชื่อ  พลัด   กลิ่นเป็นมารดา 

๔๘  เป็นหญิง  ไม่ปรากฎชื่อ   ถึงแก่กรรมยังเยาว์   กลิ่นเป็นมารดา 

๔๙  เป็นชายชื่อ  สุด  หรือ เจ๊ก   เป็นหลวงพินัย    เหน้าเป็นมารดา 

ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงหลาน  เหลน  โหลน  ของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) เป็นสาย ๆ ตามรายชื่อบุตรที่รู้จกหรือจำได้  คือ 

สายพระศรีสหเทพ ( พึ่ง )  คนที่ ๑ บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้แต่งงานกับ ทรัพย์ บุตรีหลวงอืนทรโกษา ( ทองคำ ) มีบุตรด้วยกัน ๘ คน ที่เป็นชั้นเหลนของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ดังนี้ 

          คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ  ตลับ  เป็นคุณหญิงในพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม ( สว่าง  สุนทรศารทูล ) มีบุตรด้วยกัน ๘ คน ที่เป็นชั้นเหลนของพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ดังนี้

          ๑ เป็นชายชื่อ แพ  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระประชานุกูลกิจ ได้สมรสกับ ชื่น มีบุตร ๓ คน เป็นชายชื่อ ชุบ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระบำรุงนาวา ๑ เป็นหญิงชื่อ ชิ้น

          ๒ เป็นหญิงชื่อ เรือน เป็นเจ้าจอมมารดาในรัขกาลที่ ๕ มีพระธิดา ๑ องค์ ทรงพระนามว่าพระเจ้าบรมวงศืเธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์ 

          ๓ เป็นหญิงชื่อ สังวาลย์  ไม่มีสามี

          ๔ เป็นหญิงชื่อ  เพื่อน  สมรสกับหลวงพิพิธภักดี  ( โหมด บุนนาค ) มีบึตร ๒ คน เป็นชายชื่อ เมือง มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนเลขการประมาญ เป็นชายชื่อ นายไชย  บุนนาค  

          ๕ เป็นชายชื่อ  เอี่ยม  ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษ สังกัดกรมมหาดเล็กเวรศักดิ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  สมรสกับ  เจียร  สุนทรศารทูล   มีบุตร ๗ คน  ดังนี้

          ๑ เป็นชายชื่อ ประชา มีบรรดาศักดิ์เป็นพระประชากรบริรักษ์ ได้สมรสกับ ลออ  เสนีวงศ์ ณ อยุธยา บุตรี พ.ท.พระยาอภัยพลภักดิ์ ( ม.ล.อุกฤษฐ  เสนีวงศ์ ) มีบุตร ๙ คน ได้แก่

        คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ ลออ  คนที่ ๒ เป็นชายชื่อ อรัญ มียศเป็นร้อยตำรวจโท ( พ.ศ.๒๔๘๙ ) คนที่ ๓ เป็นหญิงชื่อ อุไร สมรสกับนายธวัช  บุณยเกตุ  ( บุตรพระยารณชัยชาญยุทธ ( ถนอม  บุณยเกตุ ) คนที่ ๔ เป็นชายชื่อปัญญา  คนที่ ๕ เป็นชายชื่อ ดำรงค์ คนที่ ๖ เป็นชายชื่อ อุรา  คนที่ ๗ เป็นหญิงชื่อ อนุพันธุ์  คนที่ ๘ เป็นหญิงชื่อ อาภรณ์ คนที่ ๙ เป็นชายชื่อ จุลประชา  และคนที่ ๑๐ เป็นหญิงชื่อ เอื้อม  เกิดจากพุ่มมารดา 

          ๒ เป็นหญิงชื่อ สอาด  สมรสกับพระศรีสุทัศน์ ( ม.ล.อนุจิตร  สุทัศน์  ) บุตรพระยาศรีวรวงษ์( ม.ร.ว. จิตร์ สุทัศน์ ) มีบุตร ๑ คนเป็นหญิงชื่อ  พิจิตร์ 

          ๓ เป็นชายชื่อ  ชอุ่ม  สมรสกับวาสน์  แนวพนิช  มีบุตร ๖ คน คือ เป็นชายชื่อ อรุณ เป็นชายชื่อ อารีย์ เป็นชายชื่อ จีรชาติ เป็นชายชื่อ เสรี  เป็นหญิงชื่อ ธิดาส  เป็นหญิงชื่ออุรุวรรณ 

          ๔ เป็นชายชื่อ  อั้น  สมรสกับ เทียบ ชูเชาว์ มีบุตร ๒ คน เป็นชาย อุทัย เป็นหญิงชื่อ อุทิศ

          ๕ เป็นหญิงชื่อ  คำนวน  สมรสกับหม่อมเจ้าทองประภาศรีทองใหญ่ พระโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมมีโอรสธิดา ๓ คน เป็นหญิงชื่อ ม.ร.ว.นวมทอง เป็นชายชื่อ ม.ร.ว. นัดดาทอง 

          ๖ เป็นหญิงชื่อ สอ้าน  สมรสกับหลวงอรรถประกาศกิฎาการ (ประเสริฐ  สุนทรศารทูล )บุตรพระภักดีศรีสุพรรณภูมิ (สด  สุนทรศารทูล )  มีบุตร ๒ คน เป็นหญิงชื่อ เตรือพันธ์  เป็นชายชื่อ ธวัชชัย 

๗ เป็นหญิงชื่อ สอ้อน    สมรสกับนายสุขศิริ  จาตุรงคกุล   บุตรพระศรี พระศรทิพโภชน์ ( ใหญ่  จาตุรงคกุล ) มีบุตร ๔ คน คือ เป็นหญิงชื่อ พิมลศิริ  เป็นชายชื่อ สืบศิริ เป็นหญิงชื่อ สุมาลี  เป็นชายชื่อ สุขกิจ

  เป็นหญิงชื่อ สนิท  ไม่มีสามี  

  เป็นหญิงชื่อ เวก   สมรสกับพระยาศรีวรวงศ์  ( ม.ร.ว.จิตร์  สุทัศน์ ) โอรสหม่อมเจ้าอลงกรณ์  สุทัศนื  มีบุตร ๒ คน คือ เป็นชายชื่อ ม.ล.อนุจิตร์  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระศรีสุทัศน์  เป็นหญิงชื่อ ม.ล.ศรีสมจิตร์ สมรสกับ ม.ร.ว.ศิริชัย  สายสนั่น  โอรสหม่อมเจ้าจินดารัตน์ส่ยสนั่น  มีบุตร ๔ คน ชื่อม.ล.อิ่มจิตร์  ม.ล.เอิมจิตร์  ม.ล.พันธ์จิตร์ และ ม.ล.อาบจิตร์ 

๘ เป็นหญิงชื่อ  สายหยุด  ไม่มีสามี

บุตรพระศรีสหเทพ ( พึ่ง ) คนที่ ๒ เป็นหญิงชื่อ ผอบ เป็นภรรยาร้อยโท เลื่อน มีบุตร ๒ คน คือ ๑ เป็นชายชื่อ ชุด ได้เป็นมหาดเล็กหลวง ๒ เป็นหญิงชื่อ ทับทิม เป็นคุณหญิงในพระยารณชัยชาญยุทธ( ถนอม บุณยเกตุ ) มีบุตร ๖ คน คือ เป็นชายชื่อ ทวี บุณยเกตุ  เป็นหญิงชื่อไสว ได้สามีชื่อ สพรั่ง เทพหัสดิน  เป็นหญิงชื่อ สว่าง เป็นชายชื่อ ถาวร เป็นหญิงชื่อ สังวรณ์  เป็นหญิงชื่อ ศุภวรรณ  เป็นชายชื่อ ธวัช 

 บุตรพระยาศรีสหเทพ ( พึ่ง ) ที่ ๓ เป็นชายชื่อ จันทร์  เป็นที่หลวง จินดารักษ์ในรัชกาลที่ ๕ ได้แต่งงานกับ  ทรัพย์ บุตรีพระยาบำเรอศักดิ์ ( คิด ) มีบุตรธิดา ๑๐ คน แต่ถึงแก่กรรมเมื่อเยาว์ ๔ คน จะได้ระบุนามเพียง ๖ คน

๑ เป็นชายชื่อ กั๊ก  เป็นพระยานิกรกิติการ แต่งงานกับละม่อมบุตรีพระยารณชัยชาญยุทธ ( ครุฑ )  ไม่มีบุตร แต่พระยานิติการ  มีบุตรกับพวงอนุภรรยา ๒ คน เป็นหญิงชื่อ โอภาส และบุตรชายชื่อ  พัฒน์พงศ์ ( พลเรือเอก )

๒ เป็นชายชื่อ ก๊อก เป็น พ.อ.พระยาภักดีณรงค์ สมรสกับคุณหญิงชื่อ สงัด  มีบุตรธิดาด้วยกัน ๓ คน คือ เป็นหญิงชื่อ กิ่งพิกุล เป็นชายชื่อ ประสบ  ได้สมรสกับเสงี่ยม มีบุตร ๓ คน เป็นชายชื่อ ธนิต ( พันเอกทหารม้า ) เป็นชายชื่อ พิสิษฐ์  เป็นชายชื่อ ปนิพันธ์ 

๓ เป็นหญิงชื่อ กองทรัพย์  ได้แต่งงานกับหลวงประพันธไพรัชภาค( ปิตรชาติ )   มีบุตร ๒ คน คือ เป็ชายชื่อวีระ  เป็นหญิงชื่อ จันทรา

๔ เป็นหญิงชื่อ อนุรี 

๕ เป็นชายชื่อ  ตระการ ๆ มีบุตร ๗ คน ชายชื่อ เกื้อ เป็นชายชื่อ สุนทร เป็นหญิงชื่อกระแส เป็นหญิงชื่อ กระสาย เป็นหญิงชื่อ กระสิน เป็นหญิงชื่อ บุญช่วย เป็นชายชื่อ กะมุด เกิดด้วยอนุภรรยา 

( บุตรคนที่ ๔ และ ๕ เป็นบุตรเกิดแต่ภรรยาเดืม )

สายหลวงอนุรักษภูเบศ ( ไผ่ ) บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้แต่งงานกับทรัพย์ บุตรีพระยามหาเทพ( ปาน ) มีบุตรเป็นชายชื่อ เชม ได้เป็นที่หลวงไชยเดชะ เป็นชั้นหลาน

สายจมื่นอินทรามาตย์ ( ทองอิน ) บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) เป็นหลวงพิพิธภักดี แต่งงานกับ จับ บุตรีพระยาศาสตราฤทธิรงค์ และยังมีภรรยาอีก ๓ คน ชื่อ หุ่น มีบุตรด้วยกัน ๒ คน เป็นชายชื่อ รวย ทราบว่าไปอยู่พระตะบอง ได้เป็นที่พระยาศรีสหเทพ เป็นหญิงชื่อ จันทร์  ได้สามีเป็นหม่อมราชวงศ์..... มีบุตรชื่อ วงษ์

ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อ หยา มีบุตร ๑ คนเป็นชายชื่อ ลับ มีภรรยาชื่อ ใย มีบุตร ๒คน เป็นชายชื่อ แจ่ม เป็นหญิงชื่อ จี่ เป็นโสตถึงแก่กรรม

ภรรยาคนที่ ๓ ชื่อ ส้มจีน มีบุตร ๑ คน เป็นชายชื่อ  สนั่น (เป็นทหาร)มีภรรยาชื่อ พระนมพลับ มีบุตร ๓ คน เป็นหญิงชื่อ ฟักเขียว ( ใหญ่ ) สมรสกับพระยาราชเสนา ( ศิริ  เทพหัสดิน ) มีบุตร ๓ คน  เป็นชายชื่อ สมพงษ์ เป็นหญิงชื่อราศรี มีสามีชื่อ หวล  สุนทราชุน เป็นหญิงชื่อ วรรระ  มีสามีชื่อ ทัศน์ กลีบโกมุท มีบุตร ๔ คนคือ เป็นชายชื่อ โอ่ง  เป็นชายชื่อ อึ่ง  เป็นชายชื่อ อ้น เป็นชายชื่อ อ้อ  เป็นชายชื่อ อั้น

๒ เป็นหญิงชื่อ ฟักเครือ  ( เล็ก ) เป็นคุณหญิงในพระยาราชเสนา  ( ศิริ  เทพหัสดิน ) ไม่มีบุตร

๓ เป็นชายชื่อ สุวรรณ ( โป๊ะ ) สมรสกับ เครือวัลย์  ( น้องพระยาราชเสนา  ศิริ เทพหัสดิน ) มีบุตรเป็นหญิงชื่อ ผ่องพรรณ (  ปุ๊ ) สมรสกับนายลิขิต  สัตยายุทธ  พ.ศ. เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร บุตรอีกคนเป็นหญิงชื่อ อุไรพรรณ  ภรรยาหลวงพิพิธ  มีบุตรไม่มีข้อมูล

๕ เป็นหญิงชื่อ เปล่ง สมรสกับนาย อิ่ม  มีบุตร ๑ คนเป็นหญิงชื่อ เพี้น 

๖ เป็นชายชื่อ ชิต  สมรสกับ นิ่ม มีบุตร ๒คน เป็นชายชื่อ ทองพวง แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โฉลก   เป็นชายชื่อทองศรี แล้วเปลี่ยนเป็น ถาวร 

๔ สายท่านทองคำ บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้เป็นคุณหญิงในพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ ( แย้ม) เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ( ทัต ) มีบุตร ๕ คน เป็นหญิงชื่อ วัน ได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ เป็นชายชื่อ ไย  เป็นมหาดเล็กหลวง เป็นหญิงชื่อ แปลก เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๔ เป็นหญิงชื่อ เยื้อน เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕

สายจมื่นราชนาคา ( แย้ม )  บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้แต่งงานกับ บุตรีพระยามหาอรรคนิกร ( เม่น ) มีบุตร ๕ คน คือ

๑ เป็นหญิงชื่อ เพื่อน  ได้เป็นภริยาเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ( ม.ร.ว.หลาน  กุญชร ) มีบุตร ชายชื่อ ม.ล. ประยูร

๒ เป็นชายชื่อ เลื่อน ได้เป็นที่พระรังสรรสารกิจ ๆ แต่งงานกับ ปลั่ง  บุตรีพระอนุบาลราชบุตร ( หมอจ๋าย )

๓ เป็นหญิงชื่อ ทรัพย์  แต่งงานกับหลวงสวัสดิ์โกศา มีบุตร ๘ คน คือ เป็นหญิงชื่อ อาบ เป็นหญิงชื่อ นิมา เป็นชายชื่อ ดล (เป็นพลโท หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ) เป็นชายชื่อ ครีพ เป็นหญิงชื่อ เนื่อง เป็นหญิงชื่อ พิส  เป็นหญิงชื่อ ภักตร์  เป็นหญิงชื่อ เพี้ยน 

๔ เป็นชายชื่อ  แม้น  เป็นที่พระสิทธิการภักดี แต่งงานกับ  เกต  มีบุตร ๕ คน คือ
                 ๑ เป็นหญิงชื่อ ถนอม  เป็นภรรยาขุนพินิจอักษร ( ถ่าย  ภัทรนาวิก ) มีบุตรคนหน่งชื่อ อัมภา 

        ๒ เป็นชายชื่อ พร้อม ได้ เลียบ เป็นภรรยา มีบุครชื่อ พืชพันธ์

        ๓ เป็นหญิงชื่อ พริ้ง  เป็นภรรยาขุนเหมสมหาร ( ประพงษ์  สกุลนาก ) มีบุตร ๓ คน ชื่อ ประภาศ (พลตรีประภาศ ) ชื่อ พนัศ   ชื่อ พิชัย

         ๔ เป็นชายชื่อ เวก  ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์

         ๕ เป็นหญิงชื่อ  สมจิตร  เป็นภรรยา พันตำรวจโท  พิสิษฐ์  กรดิลก มีบุตรชาย ๒ คน ชื่อ อนุกูล ชื่อ ปัทม์ 

๕ เป็นชายชื่อ คช  เป็นที่พระเลิศแหล่งตลุง มีภรรยา ๒ คน ๆ แรกชื่อ เฟื่อง มีบุตรหญิงชื่อ สงบ ได้สามีเป็นหลวงวรภาร ต่อมาเฟื่องถึงแก่กรรม จึงได้ภรรยาใหม่ชื่อ ตุ่น มีบุตร ๘ คน คือ

          ๑ เป็นชายชื่อ  สงวน  มีบุตรชื่อ กลม  ชื่อ สุรางค์ศรี  ชื่อ ศิริลักษณ์ ชื่อ สมทรง  ชื่อ อี๊ด 

          ๒ เป็นหญิงชื่อ เสงี่ยม  เป็นภรรยาหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ มีบุตรชื่อ พร ชื่อ ถวิล  ชื่อ เพ็ญศรี ชื่อ พงษ์ ชื่อ เพ็ญพรรณ์ 

          ๓ เป็นหญิงชื่อ สงัด  เป็นภรรยานายสำราญ  พจน์สุภาณ  เป็นนายอำเภอเมื่องแพร่ มีบุตร........

          ๔ เป็นชายชื่อ สว่าง  มีบุตรหญิง ๑......... ชาย ๑ .....

          ๕ เป็นชายชื่อ สวัสดิ์  เป็นอาจารย์ผู้อำนวยการวิทยาลัยบางแสน มีบุตรชื่อ สวภัตร์

          ๖ เป็นชายชื่อ แสวง เป็นศึกษานิเทศน์กรมการสงเสริมการศึกษาอ่างศิลา ชลบุรี แต่งงานกับ สุวรรณา มีบุตรชื่อ ประเสริฐศักดิ์ หญิงชื่อ............... ( ประเสริฐศักดิ์ เป็นบิดา รินลนี )

          ๗ เป็นหญิงงชื่อ  สวิง  เป็นภรรยา  ร.ต.ท.พรชัย

          ๘ เป็นหญิงชื่อ  สุภาพ 

๖ สายท่าน นิ่ม  บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้แต่งงานกับพระสุรินทรามาตย์ ( คล้าย  สุนทราชุน ) มีบุตร ๔ คน 

          ๑ เป็นชายชื่อ ชม  เป็นเจ้าพระยาศรีวิชัยชนินทร์ ๆ แต่งงานกับ ท่านเอี่ยมบุตรีหลวงพิทักษ์นรากร  มีบุตร ๓ คน

ก.      เป็นหญิงชื่อ เนียร  เป็นคุณหญิงในพระยาพัศดีกลาง ( โหม่ง  บุนนาค ) มีบุตร ๓ คน คือ

        เป็นหญิงชื่อ ละม่อม ภรรยาพระนิตินัยๆ ( พงษ์  บุนนาค )

       เป็นหญิงชื่อ  อุบล  เป็นหม่อมเจ้าพร ๆ 

        เป็นหญิงชื่อ  ยุวดี 

       เป็นชายชื่อ  จารุ

ข.      เป็นชายชื่อ ชาย  เป็นพระยาสฤษดิ์พจนกรณ์ 

ค.      เป็นชายชื่อ แดง เป็นจมื่นสิทธิ์กฤษดากร

๒ เป็นชายชื่อ  สุดใจ  เป็นที่นายทรงใจรักษ์  แต่งงานกับ เขียว บุตรีพระคชภักดี ( ท้วม ) มีบุตรชายชื่อ จิตร  เป็นพระเกรียงไกรกระบวนยุทธและนายทรงใจรักษ์ มีบุตรกับ เนย ชื่อ หวล อีกคนหนึ่ง

๓ เป็นชาย ชื่อ ชื่น  เป็นมหาดเล็กหลวง

๔ เป็นชายชื่อ นวม  เป็นมหาดเล็กหลวง

          ๗ สายท่าน เสงี่ยม  บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้เป็นคุณหญิงในพระยาสีหราชฤทธิไกร ( ทองคำ  สัหอุไร ) มีบุตร ๓ คน คือ

                    ๑ เป็นชายชื่อ สวาสดิ์ เป็นที่จ่าผลาญอริยพิศ

                   ๒ เป็นชายชื่อ  ถนอม  แต่งงานกับ  สาย บุตรีพระยามหาอำมาตย์ ( หรุ่น ) มีบุตร..........

                   ๓ เป็นชายชื่อ สวัสดิ์  เป็นหลวงประกอบ  แต่งานกับ..........มีบุตร...............

          สายท่าน อ้น เป็นหลวงรักษ์สมบัต  บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้แต่งงานกับ สุก เป็นคนบ้านกระเบื้อ จังหวัดอยุธยา  มีบุคร ๓ คน คือ

                   ๑ เป็นหญิงชื่อ เจียม สามี.............. มีบุตร หญิง คนหนึ่งชื่อ เลี่ยม ๆ ได้แต่งงานกับหลวงอภิบาลภูมิวิถี ในสกุล อุณหะนันท์  มีบุตรชายอีก ๒ คน ชื่อ มารค มีบรรดาศักศิ์เป็นพระศิลปสิทธวินิจฉัย ผู้พิพากษาศาลฎีกา อีกคนชื่อ มูล เป็นอัยการ ( พ.ศ.๒๔๙๘ ) 

                   ๒ เป็นชายชื่อ จอน แต่งงานกับ  สาย  บุตรีพระเทพาธิบดี ( ทองคำ เทพาคำ ) ทองอินเป็นมารดา มีบุตรชาย ๑ คนชื่อ สรวง มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี  ได้แต่งงานกับ เหลี่ยม บุตรีนายเกิด  คชวัฒน์  ชินเป็นมารดา มีบุตร ๖ คน ถึงแก่กรรม ๒ คน คงอยู่ ๔ คน  คือ ๑ ชื่อ สง่า  ๒ ชื่อ สงัด ๓ ชื่อ สรรค์ ๔ ชื่อ สัคค์ และบุตรที่เกิดกับ เจียม ขื่อ สุมิตร 

          สง่า  ศรีเพ็ญ แต่งงานกับ ยินดี  บุนนาค  บุตรีพระยาอรสุมพลาภิบาล  ( เด่น  บุนนาค ) กับคุณหญิง ยืน  เกิดบุตร ๘ คน คือ ๑ เป็นหญิงชื่อ สุวรรณี  ๒ หญิงชื่อ  สุชาดา  ๓ หญิงชื่อ สุจิตรา  ๔ หญิงชื่อ สุรีรัตน์  ๕ หญิงชื่อ สุรัสวดี  ๖ ชายชื่อ สุชาติ  ๗ ชายชื่อ สุเมธี  ๘ หญิงชื่อ รัตนพร และมีบุตรกับ พริ้ง อีกคนหนึ่งชื่อ  สุรภี 

          สงัด ศรีเพ็ญ  แต่งงานกับ  พริ้ง  โปษยานนท์ บุตรหลวงวารีราชายุกต์ ( ซีว  โปษยานนท์ ) กับคุณนายเฮียง  เกิดบุตร ๔ คน คือ ๑ หญิงชื่อ สมพร ๒ หญิงชื่อ สมพิศ  ๓ ชายชื่อ  สมพงศ์  ๔ หญิงชื่อ สมพวง

          สรรค์  ศรีเพ็ญ แต่งงานกับ สมพร สุทธิพงศ์  บุตรีพระชาญวิธีเวช ( แสง  สุทธิพงศ์ ) กับคุณนาย พร้อม มีบุตร ๒ คน คือ ๑ ชายชื่อ โฆสิต ๒ หญิงชื่อ พรสวรรค์

สัคค์ ศรีเพ็ญ  แต่งงานกับ ปริยา ปริยานนท์ บุตรีพระยานายกนรชน ( เจริญ  ปริยานนท์ ) กับคุณหญิงช้อย  เกิดบุตร ๔ คน ๑ หญิงชื่อ  ศรีประไพ ๒ หญิงชื่อ พิไลศรี ๓ หญิงชื่อฉวีวรรณ  ๔ ชายชื่อ พันธุ์สัคค์  

๓ เป็นชายชื่อ เจิม ไม่มีบุตรถึงแก่กรรมแต่ยังหนุ่ม

๔ เป็นหญิงเกิดจากอนุภรรยาคนหนึ่งชื่อ  จีน  ไม่มีสามี

          ๙ สายท่าน จุ้ย หรือ ละม้าย บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ปราง เป็นมารดา ได้เป็นสนมในรัชกาลที่ ๓ ( พระนั่งเกล้า ) ไม่มีพระโอรส ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนั่งเกล้าสวรรคตแล้ว ท่านจุ้ยจึงออกมาอยู่บ้านบิดา  แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ละม้าย

          ต่อมาละม้ายได้เป็นคุณหญิงในพระยาสุรินทรราชเสนี ( จันท์ ) มีบุตรด้วยกันคนหนึ่งชื่อ เชื้อ ได้เป็นภรรยาพระกันพยุหบาท ( ท้วม )

          ต่อมายาสุรินทรราชเสนี ( จันท์ ) ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว คุณละม้าย จึงได้แต่งกับหลวงบุรินทร์ ( เนียม ) มีบุตรคนหนึ่งชื่อ น้อม คุณน้อมเป็นภรรยาจมื่นศักดิ์แสนยากร ( ม.ล. ปาด  เทพหัสดิน  ณ อยุธยา ) มีบุตร ๒ คน  ๑ เป็นชายชื่อ ศิริ  ได้เป็นที่พระยาราชเสนา ๆ มีภรรยา คุณหญิงฟักเขียว  มีบุตร ๔ คน  คือ ๑ เป็นชายชื่อ สมพงศ์  ๒ เป็นหญิงชื่อ  ราศรี  สมรสกับ   หวล  สุนทรารชุน  ๓ เป็นชายชื่อ อำนวย ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์  ๔ เป็นหญิงชื่อ  วรรณะ  ได้สมรสกับ  ทัศน์  กลีบดกมุท 

          พระยาราชเสนา  ยังมีบุตรอีก ๗ คน คือ ๑ พลเอก ยศ เทพหัสดิน เยื้อนเป็นมารดา ๒ เป็นชายชื่อ สีหศักดิ์ เทพหัสดิน  สายบัวเป็นมารดา ๓ หญิงชื่อ เฉลิมศรี  เป็นภรรยานายแพทย์สนิท  โชติเวช  สายบัวเป็นมารดา  ๔ ชายชื่อ ไกรศรี ถึงแก่กรรมแต่เยาว์ เฉลิมเป็นมารดา ๗ หญิงชื่อ สุภางค์ เฉลิมเป็นมารดา

          อนึ่งเมื่อคุณหญิงฟักเขียว ( ใหญ่ ) ภรรยาเดิมถึงแก่กรรมแล้ว  พระยาราชเสนา ได้สมรสกับฟักเครือ  ซึ่งเป็นน้องคุณหญิงฟักเขียว  แต่หาได้มีบุตรด้วยกันไม่

          ๒ บุตรี จมื่นศักดิ์แสนยากร กับน้อม  คนที่ ๒ เป็นหญิงชื่อ เครือวัล  ได้แต่งงานกับ พระสารชาญพลไกร  แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน  เมื่อพระสารชาญพลไกร  ถึงแก่กรรมแล้ว เครือวัลได้สามีใหม่ ชื่อ สุวรรณ  ศรีเพ็ญ มีบุตรชื่อ ผ่องพรรณ เป็นภรรยานายลิขิต  สัตยายุทธ  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  ( พ.ศ. ๒๔๙๘ ) กับอีกคนหนึ่งเป็นหญิงชื่อ อไรพรรณ 

          ๑๐ สายพระอภัยสงคราม ( ช่วง ) บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) มีคุณหญิงชื่อ  วัน  เป็นบุตรเสมียนตรา ( น้อย ) มีบุตรคนหนึ่งชื่อ ครอบ  แต่จะมีเชื้อสายต่อไปอย่างไร ไม่ทราบ  พระอภัยสงคราม ( ช่วง ) ยังมีบุตรกับอนุภรรยาอีกคนหนึ่งชื่อ เคลือบ เป็นที่ขุนศรีทะเบียนกิจ มีบุตร ๑๓ คน คือ ชายชื่อศิรินทร์   ชายชื่อเบ็ญจภรณ์  หญิงชื่อบังอร  หญิงชื่อขวัญจิตต์  ชายชื่อระวี  หญิงชื่อวารุณี  หญิงชื่อสุขี   หญิงชื่อ เพ็ญณี ชายชื่อ สหัส  ชายชื่อ ศุภชัย  ชายชื่อ ศุภกิจ  ชายชื่อ ศุภการ   ชายชื่อ ชาญศิลป์

          ๑๑ สายพระยามหาอำมาตย์ ( หรุ่น  ) บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) มีคุณหญิงชื่อ  วัน เป็นบุตรเสมียนตรา  ( น้อย ) มับุตรคนหนึ่งชื่อ ครอบ  แต่จะมีเชื้อสายต่อไปอย่างไร ไม่ทราบ พระยาอภัยสงคราม ( ช่วง ) เป็นราชนิกูลบางช้าง  มีบุตร ๕ คน คือ

          ๑ เป็นชายชื่อ รื่น เป็นพระยาพิบูลย์สงคราม มีคุณหญิงชื่อ  ทองอยู่ บุตรีหลวงกันพยุหบาท ( นุด ) และมีอนุภรรยาอีกจำไม่ได้  แต่ไม่มีบุตรจะสืบสายทุกภริยา 

          ๒ เป็นชายชื่อ  พอน เป็นหลวงเสนีพิทักษ์ ได้แต่งงานกับ ตั้ว  เป็นบุตรพระยาขุนภาระกิจ ( ติ่ง  นะวะมะรัตน์ ) มีบุตรด้วยกัน ๕ คน ๑ เป็นหญิงชื่อ ละเมียด  ๒ เป็นหญิงชื่อ ละมุล  ๓ เป็นหญิงชื่อ ละม่อม     เป็นชายชื่อ ตุ๊ ๕ เป็นชายชื่อ  ซองติม 

            ชายชื่อ ฤกษ  เป็นหลวงวิชิตเสนี  ได้เจียง  ชาวจำปาศักดิ์เป็นภรรยา  มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ  เจือ  ถึงแก่กรรมแต่ยังหนุ่ม

       ชายชื่อ ทอง ได้ภรรยาชื่อ พัน  มีบุตรหนึ่งคนชื่อ สมพงศ์ ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์

๕ ชายชื่อ เรือน  มีภรรยาชื่อ  ยุ้ย  มีบุตร ๒ คน ชื่อ ย้อย ชื่อ เยี่ยม

  ต่อไปนี้เป็นบุตรที่เกิดจากอนุภรรยา  คือ

                        ๖ หญิงชื่อ สาย  เสงี่ยมเป็นมารดา   สายได้แต่งงานกับนายถนอม บุตรพระยาสีหราชฤทธิไกร ( ทองคำ  สีหะอุไร ) มีบุตรเท่าที่จำได้ หญิงชื่อ สนิท เป็นชายชื่อ  นิตย์  เป็นหญิงชื่อ ประสงค์  ส่วนสนิท  บุตรีคนโตนั้น  ได้แต่งงานกับหลวงภูเบนทร์ ( สอ้าน )

                       ๗ หญิงชื่อ  สอน   แสงเป็นมารดา

                       ๘ ชายชื่อ  ครุฑ   งิ้วเป็นมารดา มีบุตรชายด้วยกันกับ พิมพ์  ๒ คน ๆ หนึ่งชื่อ ทองพูน สมรสกับ  ฉวี  มีบุคร ๖  คน ชายชื่อ ไพรัช  หญิงชื่อวัฒนา ชายชื่อ ถาวร  หญิงชื่อ วิลัย หญิงชื่อรำไพ  ชายชื่อ วัลลภ  และทองพูน มีบุตรกับสันทนาอีก ๒ คน เป็นชายชื่อ อนันต์  เป็นหญิงชื่อ ติ๋ม  บุตรคนที่ ๒ ของนายครุฑ เป็นชายชื่อ  ทองสุก  ( พ.ศ. ๒๔๙๘ ) เป็นนายอำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี  

                   ๙ ชายชื่อ เพ็ชร  เป็นหลวงวิจารณ์สุนทรกิจ  น้อมเป็นมารดา  มีภริยาชื่อ ไย  มีบุตร ๒ คน ๆ เป็นหญิงชื่อ  มณี  อีกคนหนึ่งเป็นชายชื่ออะไรจำไม่ได้ 

                   ๑๐ ชายชื่อ เผือก ปลั่งเป็นมารดา มีบุตร ๑ คน

                   ๑๑ อนุภรรยาชื่อ เจียม มีบุตร ๓ คนๆ ที่๑ ที่ ๒ เป็นหญิงชื่อ เจิม และสาลี่ ทั้งสองคนเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ไม่มีพระองค์เจ้า  คนที่ ๓ เป็นหญิงชื่อ  บัว ได้แต่งงานกับนาย แก้ว ชูโต  เป็นที่หลวงหลวงมหิศวร ฯ มีบุตร ๒ คนชื่อ เกื้อ ชื่อ กลิ่น 

                   ๑๒ ชายชื่อ พุ่ม ๑ ประยูร ๑  พวงเป็นมารดา

                   ๑๓ หญิงชื่อ พยงค์  ช้อยเป็นมารดา

                   ๑๔ หญิงชื่อ เจียม  พึ่งเป็นมารดา  เจียนได้แต่งงานกับขุนอนุวัตร ( ยุ้ย  เมฆสุภะ ) มีบุตร ๒ คน ๆ ที่ ๑ ชื่อ ทองรอด  เมฆสุภะ  เป็นนายพลเรือจัตวา ( พ.ศ.๒๔๙๘ )  ชายคนที่ ๒ ชื่อ บรรจง  เมฆภะ  ได้แต่งงานกับ ละม่อม  มีบุตรชายชื่อ วิทูร

                   ๑๕ อนุภรรยาชื่อ  ขำ  มีบุตร ๕ คน

๑ เป็นชายชื่อ  รั้ง มีบุตรชายชื่อ  วัตน์ ๑ เป็นหญิงชื่อ ประภา ๑
๒ เป็นหญิงชื่อ พิศ

๓ เป็นหญิงชื่อ  พต

๔ เป็นชายชื่อ  วาต

๕ เป็นชายชื่อ แดง

ทั้ง ๕ คนนี้มีบุตรหลานต่อมาแต่จำชื่อไม่ได้  ตามจดหมายเหตุว่า  พระยามหาอำมาตย์ ( หรุ่น ) ยังมีบุตรและอนุภรรยาอีก แต่หาได้ระบุนามไว้ไม่  พ่อก็ไม่รู้จัก 

                   ๑๒ สายคุณ ถึก บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงในรัชกาลที่ ๔  สุ่นเป็นมารดา   คุณถึก  มีบุตรจำได้เพียง ๓ คน

                             ๑ เป็นชายชื่อ โทน  เป็นร้อยตำรวจโทในรัชกาลที่ ๕

                             ๒ เป็นชายชื่อ โต   แต่จะมีภรรยาหรือบุตรจำไม่ได้

                             ๓ เป็นหญิงชื่อ สนิท ได้เป็นภรรยาหลวงประมาณมนูธรรม  รับราชการเป็นอัยการ  มีบุตรหญิงด้วย ๑ คนชื่อ ............  ได้แต่งงานกับนายพันตรี.............. บุตรหลวงบำรุงราชนิยม ( ซุ่นเบง ) ชาวเมื่องชล มีบุตรด้วยกันหลายคนจำไม่ได้ 

                    ๑๓ สายท่านพลัด  บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้เป็นภรรยาแต่งงานกับ พระพรหมาภิบาล ( จร ) มีบุตร ๒ คน ๆ หนึ่งเป็นหญิงชื่อ จำเริญ คนที่๒ ชื่อ ผาด

                   ๑๔ สายจมื่นวิเศษสมบัติ ( สนธิ์ )  บุตรพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) ได้สมรสกับ ต่วน มีบุตรชายคนหนื่งชื่อ สืบ  ได้เป็นหลวงมหาสิทธิ์โวหาร ได้สมรสกับเจิม บุตรีพระสุนทรภักดี  และมีบุตร ๕ คน

                             ๑ เป็นหญิงชื่อ สอิ้ง ถึงแก่กรรมแต่ยังเป็นสาว

                             ๒ เป็นชายชื่อ ชะยงค์ มีบุตรชื่อ พิชัย ๑ มาลินี ๑ ประภา ๑ มานิต ๑ มนัส ๑

                             ๓ เป็นหญิงชื่อ สอางค์    ( โสต )

                             ๔ เป็นชายชื่อ ประวัฒน์  ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์

                             ๕ เป็นชาย ชื่อ ถวัลย์ ( พลตรี ถวัลย์ ) แต่งงานกับ ยุพา  มีบุตร ๖ คน  คือ

                                      ๑ เป็นหญิงชื่อ สุวิมล ...............................................

                                      ๒ เป็นชายชื่อ สัญชัย ต่อมาชื่อเปลี่ยนเป็น ศัลย์ ( พลเอกศัลย์ ศรีเพ็ญ )

                                      ๓ เป็นหญิงชื่อสุภัทรา  ......................................

                                       ๔ เป็นชายชื่อ สิทธิพันธ์ ...................................

               ๕ เป็นหญิงชื่อ สุกัลญา ถึงแก่กรรมเมื่อยังสาว

              ๖ เป็นชายชื่อ ศัลยุทธ ..........................................

          ส่วนบุตรหลานพระยาศรีสหเทพ ( ทองเพ็ง ) สายอื่นๆ หรือแม้แต่เท่าที่เขียนมานี้  ก็อาจบกพร่องบ้าง เพราะพ่อไม่รู้จักและจำไม่ได้ก็คงมีอีกมาก ทั้งไม่แน่ใจว่า พ่ออาจลำดับอาวุโส  แห่งบุตรหลานของพระยาศรีสหเทพฯ ผิดไปบ้างก็คงมี

***********************************************************************************************************************************************************

          ลำดับต่อมาก็คือคุณปู่ของพ่อ เป็นบุตรคนที่  ของเจ้าคุณทวด คือพระยาศรีสหเทพฯ ชื่อ อ้น ๆ นี้เกิดจากหม่อมบัวใหญ่  วึ่งเป็นอนุภรรยา ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง ในรัชการที่ ๓ ( สมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ )  พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงรักษสมบัติ  ในรัชกาลที่ ๔ อยู่กรมพระคลัง  นัยหนึ่งว่าอยู่กรมพระสุรัสวดี  ท่านจะเกิดเมื่อไร ไม่ทราบ  ทราบแต่ว่าท่านถึงแก่กรรมเมื่ออายุท่านได้ ๖๓ ปี ในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงเทพพระมหานครนี้  ขณะนั้นพ่อเกิดแล้ว  แต่ยังเยาว์มาก  จะได้ทำการฌาปนกิจที่ใหน  พ่อก็จำเรื่องราวอะไรไม่ได้เสียแล้ว 

          คุณปู่ของพ่อ มีบุตร ๓ คน เกิดจากคูณย่าสุก  นัยว่าเป็นคนบ้านกระเบื่อง  อยู่ในเขตอยุธยา  เป็นภรรยาหลวงมีบุตรคนหนึ่งเป็นหญิงชื่อ  เจียม  อีกคนหนึ่งเป็นชายชื่อ จอน นี้เป็นบิดาพ่อ  อีกคนหนึ่งชื่อ  เจิม  และยังมีบุตรซึ่งเกิดจากอนุภรรยาชื่อ  จีน  อีกคนหนึ่ง 

          บุตรหญิงที่ชื่อ  เจียม  จะได้ใครเป็นสามีจำไม่ได้ แต่เกิดบุตรีคนหนึ่งชื่อ เลี่ยมได้แต่งงานกับหลวงอภิบาลภูมิวิถี มีนามสกุลว่า  อุณหะนันท์ มีบุตรธิดาอีกหลายคน จำได้ว่าบุตรคนโตชื่อ มารค อุณหะนันท์  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระศิลปสิทธิวินิจฉัย  เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาเดี่ยวนี้ ( พ.ศ. ๒๔๙๘ ) และมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ มูล  อุหะนันท์ รับราชการเป็นอัยการอยู่ ณ บัดนี้  ( พ.ศ. ๒๔๙๘ ) ส่วนพระศิลปสิทธิวินิจฉัย ได้มีภรรยาชื่อ เนียร  มีบุตรด้วยกันซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในเวลานี้ ๗ คน คนหนึ่งเป็นหญิงชื่อ อรรณพ  มีสามีชื่อ  กุด  บุนนาค  เป็นบุตรพระยานรนารถ  ๒ เป็นหญิงชื่อ เรณู มีสามีอยู่ในสกุล  สุชีวะ   ๓ เป็นชายชื่อ บัญชา  อุณหะนันท์  เป็นนายร้อยตำรวจเอก ๔ เป็นชายชื่อ มนัสวี  อุณหะนันท์  เป็นนายแพทย์ชั้นปริญญา ๕ เป็นชายชื่อนายโกเมน  อุณหะนันท์ ๖ เป็นชายชื่อ  เอนก  อุณหะนันท์  ๗ เป็นชายชื่อ  อนันต์   อุณหะนันท์   ทราบว่าบรรดาบุตรชายของพระศิลปสิทธิวินิจฉัย ทุกคนได้รับการอบรมอย่างดี ทั้งมีวิชาการทุกคน ถึงได้ไปเล่าเรียนอยู่ ณ ต่างประเทศ ก็หลายคน

ส่วนบุตรชายคนที่ ๓ ของคุณปู่ของพ่อชื่อเจิมนั้น  ไม่ได้ทำราชการงานเมืองอะไร ได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่อายุราวสัก  ๓๐ ปี ไม่มีบุตรภรรยาสืบสาย  ส่วนบุตรหญิงที่ชิ่อ จีน  นั้น ได้เข้าไปอยู่ในวังหลวงตั้งแต่ยังเยาว์  ครั้นออกมาจากวังหลวงแล้ว ก็อยู่กับพวกญาติ ภายหลังได้ไปอยู่กับพ่อที่จังหวัดชลบุรี และถึงแก่กรรมที่นั่น ไม่มีสามี  บุตรคนที่ ๒ ชื่อ จอน นั้นเป็นคุณพ่อของพ่อ ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ทำราชการมีหน้ามีตาอะไร แต่เป็นนายกองควบคุมเลขไพร่หลวงหลายเหล่า  พ่อจำไม่ได้ว่าอะไรบ้าง  คุณ ปู่ จอน เกิดปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๕ ( ในรัชกาลที่ ๔ ) ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ คุณปู่ได้แต่งงานกับคุณย่า ที่บ้านริมถนนอัษฎารค์  ตรงหน้าสวนสราญรมย์ ( ข้าม ) โดยมีเรือนหอเป็นเรือนอย่างไทย  มีหน้าจั่วแหลมเป็น ๓ เหลี่ยม  หลังคามุงด้วยกระเบื่องไทย เป็นกระเบื้องดินเผาแผ่นเล็กๆ ขนาดกว้าง ๔ – ๕ นิ้ว และยาว ๘ นิ้ว ฝาและพื้นกระดานเป็นไม้สักกับมีนอกชานกว้างราว ๔ วา ยาวขนานไปเท่ากับตัวเรือนไปทางทิศเหนือ  กับมีครัวอีกหลังหนึ่ง ขนาดย่อมกว่าเรือนหอ  แต่มี ๓ ห้องเล็กๆ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา  ฝาและพื้นใช้ไม้สักเหมือนกัน ปลูกสกัดทางด้านตะวันออก ส่วนพื้นแผ่นดินที่ปลูกเรือนหอและครัวนี้เป็นของคุณยาย  คุณตา ของพ่อ ให้แก่คุณย่าเจ้า ต่อจากคุณปู่คุณย่าของเจ้าได้แต่งงานกันแล้ว  ก็ได้อยู่ร่วมกันที่เรือนหอนี้เป็นสุขตลอดมา   คุณย่าของเจ้านั้นชื่อ สาย   เป็นบุตรีพระเทพาธิบดี  ( ทองคำ  ) กับทองอิน  ซึ่งเป็นยายของพ่อ พระเทพาธิบดี ( ทองคำ ) คุณตาของพ่อเป็นบุตรหลวงพิชัยเสนา ( น้อย ) เป็นบุตรของเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ( โต ) อยู่ในสกุล กัลยาณมิตร แต่เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้า  รัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานนามสกุลทางสายคุณตาว่า   “  เทพาคำ “ ซึ่งทรงเอาบรรดาศักดิ์กับนามเดิม ของคุณตามาประสมกันเหมือนดังนามสกุล  “ ศรีเพ็ญ “ ของพ่อ 

อนึง พ่อจะบอกเครือญาติเฉพาะที่ใกล้ชิดของคุณแม่ของพ่อ คือคุณย่าของเจ้าให้รู้ไว้บ้าง  คือคุณตาของพ่อ ( พระเทพาธิบดี – ทองคำ ) มีภริยา ๒ คน คนแรกชื่อพลูจีบ  มีบุตรด้วยคุณตา ๓ คน คนที่ ๑ เป็นชายชื่อ  สมบุญ  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภิบาลบุปผา  คนที่ ๒ เป็นหญิงชื่อ ลับ ได้สมรสกับขุนประชา ( ฉ่ำ ) มีบตรเป็นชายชื่อ ช่วง หญิงชื่อ ชุ่ม ๑ ชื่อทรัพย์ ๑ 

ภรรยาที่ ๒ ชื่อ ทองอิน เป็นผู้มีนิวาสสถานอยู่ ณ บ้านพะเยาว์  แขวงเมืองสระบุรี ท่านผู้นี้แหละเป็นคุณยายของพ่อ ได้มีบตรกับคุณตา ๕ คน คือ

          ๑ เป็นหญิงชื่อ สาย ได้กระทำการวิวาห์กับ  จอน  ศรีเพ็ญ มีบุตรคนเดียวชื่อ  สรวง  คือพ่อนี่แหละ

          ๒ เป็นหญิงชื่อ  มาลัย เป็นภรรยาหลวงสุนทรานุกิจ  มีบุตรหนึ่งคนเป็นหญิงชื่อ ทรัพย์

          ๓ เป็นชายชื่อ  บุตร เป็นที่ขุนสกล  นายกองคุมเลขส่วยต่างๆ ได้ภรรยาชื่อ พึ่ง มีบตรหนึ่งคนเป็นหญิงชื่อ แมว 

          ๔ เป็นชายชื่อ กมล   ( กรี  ) รับราชการอยู่ในกรมพระตำรวจหลวง  เป็นที่นายสวัสดิ์ภักดี  ได้จีนเป็นภรรยา มีบุตรคนหนึ่งและถึงแก่กรรมยังเยาว์

  เป็นหญิงชื่อ  วัน  ได้สามีชื่อ  ดิษ  มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ ชม ได้นามสกุลว่า  เทพทอง 

          ส่วนพระยาอภิบาลบุปผา ( สมบุญ ) บุตรคนใหญ่ชึ่งเป็นพี่คุณแม่ของพ่อนั้น มีภรรยาเฉพาะที่มีบุตรถึง ๕ คน คือ  

                   ๑ ท่านโหมดภรรยาหลวง  มีบุตร ๔ คน  ๑ เป็นชายชื่อสวัสดิ์  เป็นพระลิปิกรดกศล  ได้กลีบเป็นภรรยา มีบตรคนหนึ่งชื่อ แสวง  เป็นนายพลจัตวา  มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนเสนาทิพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก 

                   ๒ เป็นชายชื่อ  สว่าง  เป็นพระเสนาพิพิธ  มีบุตรภรรยาหลายคนจำไม่ได้

                   ๓ เป็นหญิงชื่อ วงษ์  แต่งงานกับหลวงวิจิตรวาทการ ( ชื่น  รัตแพทย์ )  มีบุตรหญิงด้วยกันคนหนึ่งชื่อ  ขจร  สมรสกับร้อยโทสมพันธ์  ขันธชะวะนะ 

                   ๔ เป็นหญิงชื่อ ไสว ได้กับร้อยโท  ตั้ง  มีบุตรชื่อ  แต่ง 

          ๒ ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อ  จำเริญ ชาวเมืองพนัสนิคม  มีบุตรชาย ชื่อ  สวง มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชาญชาติเกไดศวรรค์  ได้แต่งงานกับ  นวล  เป็นน้องหลวงวิจิตรวาทการ  ( ชื่น  รัตแพทย์  ) ไม่มีบุตรสืบเชื้อสาย

          ๓ ภรรยาคนที่ ๓ ชื่อ  ดาว  เป็นบุตรหลวงอนัม  ( ถ่อ ) มีบุตร ๔ คนคือ

                   ๑ เป็นชายชื่อ  สมถวิล  เป็นหลวงคณานุรักษ์ 

                   ๒ เป็นชายชื่อ  ทวี

                   ๓ เป็นหญิงชื่อ  บุบผา

                   ๔ เป็นหญิงชื่อ มาลี 

          ๔ ภรรยาคนที่ ๔ ชื่อบุญปัน  เป็นชาวบ้านป่าซาง เมืองลำพูน  มีบุตร ๓ คน คือ

                   ๑ ชายชื่อ  บุญศิริ

                   ๒ ชายชื่อ สมศักดิ์

                   ๓ หญิงชื่อ  สังวาล 

๕ ภรรยาคนที่ ๕ จำชื่อไม่ได้  มีบุตรคนหนึ่งชื่อ  แสงจันทร์  

          คุณย่าเจ้าเกิดปีมะแม  พ.ศ. ๒๓๙๙  เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ อายุ ๒๑ ปีได้แต่งงานกับคุณปู่ของเจ้า  ขณะนั้นคุณปู่อายุ ๒๕ ปี  คือท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕  ปีเถาะ ครั้นอยู่กันมา ๒ – ๓ ปี ก็ไม่มีบุตร  คุณปู่ หรือ หญาติทางใดไม่ทราบปรารภกันอยากใคร่ให้มีลูกไว้สืบเชื้อสาย  ปัญหาก็เกิดขึ้นว่าจะทำกันอย่างไร  ดูเหมือนว่าคุณปู่เจ้าก็ออกจะหมดปัญญา เพราะพิจารณาในทางพืชพันธ์  ทั้ง ๒ ฝ่ายก็มีลูกกันออกเยอะแยะ  จะว่าฝ่ายใดเป็นหมันก็ไม่เชิง  เมื่อรวมหมู่ญาติพิเคราะห์ไม่เห็นเหตุ  ก็เลยเดา ๆกัน  โดยโทษเทวดา  ผีสาง  เจ้านาย  ไปตามคติในสมัยนั้น 

                            ---------------------------------------------------------------------- 

  ( กลับหน้าหลัก ครอบครัวศรีเพ็ญ )