การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 16

เรื่อง  การสร้างเครือข่ายเยาวชนและครอบครัวเพื่อเขตปลอดยาเสพติดอาเซียนปี 2015

IFNGO ASEAN NGOs Workshop on Youth and Family Network to ASEAN DRUG-FREE 2015
วันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ

บันทึกรายงานโดย นายมนัส  ศรีเพ็ญ กรรมการเลขาธิการสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ 

 

ความเป็นมา            จากการสนับสนุนการรวมกันขึ้นเป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศ องค์การภาคเอกชนด้านป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด มีชื่อย่อว่า  IFNGO ที่ปัจจุบันมีสมาชิก 87 องค์กรจาก 40 ประเทศ  

                               สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 16 ในวันที่  27 – 29  พฤศจิกายน พ.ศ.2549 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ มีผู้เข้าประชุมประมาณ 450 คน มีจำนวน 100 คนมาจากประเทศ Brunei Darussalam, Laos, Macau, Malaysia, Mauritius, Myanmar, Philippines, Singapore, SriLanka และ Vietnam. 50 คนจากนักวิชาการแพทย์ในกลุ่มประเทศสมาชิก 250 คน จากองค์การสมาชิกสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย และ 50 คนจากเยาวชนจากประเทศไทยและประเทศในกลุ่ม IFNGO. และยังมีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์จากองค์กรเอกชนและหน่วยราชการอีกจำนวนหนึ่

                                พิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 49 เวลาประมาณ 09.30 น. นายณัฐพัชร์ อินทุภูติ ประธานสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย กล่าวในนามประธานจัดประชุมและนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดประชุม ตามด้วยพิธีต้อนรับมีกลุ่มฟ้อนดนตรีกลองสะบัดไชยนำผู้เชิญธงประจำชาติและผู้แทนจากประเทศสมาชิกเดินขึ้นเวที ต่อด้วยคณะกรรมการจัดประชุมถ่ายภาพร่วมกับประธานเปิดงาน

                                การประชุมสัมมนา  วันที่ 27 พ.ย. 49 ครึ่งวันช่วงเช้าเป็นการบรรยายสรุปการประชุมครั้งที่ 15 ที่ประเทศสิงคโปร์ ได้นำเสนอโครงการ ฉันรักเธอที่รัก เพื่อสร้างเครือข่ายครอบครัว เนื่องจากสมาชิก BERSAMA   อินโดนีเซีย PEMADAM มาเลเซีย ได้เขียนหนังสือชื่อว่า  “ I Love You Darling ”   นำเสนอวิธีการปฏิบัติและดลใจสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์  โดยใช้พลังของความรักแบบ “ I Love You Darling ”  ขอให้พวกเราทำงานร่วมกันสร้างบรรยากาศแวดล้อมในทางบวกที่ดี โดยให้ทุกคนรู้สึกว่าตนเป็นที่ต้องการ ตนเป็นที่รัก ตนเป็นผู้มีคุณค่า ตนเป็นผู้น่าเคารพนับถือ ตนมีพลังทำให้เกิดประโยชน์ ตนมีศักดิ์ศรีเป็นที่น่ายกย่องสรรเสริญ ”

                                ภาคบ่ายการบรรยายหัวข้อ การนำบทบาทของชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการลดการใช้ยาเสพติด และบทบาทของครอบครัวในการเฝ้าระวังและป้องกันการใช้ยาเสพติด

                               การประชุมกลุ่มย่อย ในหัวข้อ การสร้างเครือข่ายเยาวชน, การสร้างเครือข่ายครอบครัว, การใช้ประโยชน์จากชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเพติด, การบูรณาการมาตรการป้องกันยาเสพติดเพื่อใช้ในกลุ่มบำบัดรักษา, การลดการติดยาเสพติดและการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง.

                                การประชุมสัมมนา  วันที่ 28 พ.ย. 49 บรรยายวิชาการหัวข้อ การป้องกันระดับต้นเกี่ยวกับการใช้สารแอมเฟตามีนในกลุ่มประเทศอาเซียน

                                การประชุมกลุ่มย่อย ในหัวข้อ อิทธิพลของสื่อมวลชนในการป้องกันยาเสพติด, การขยายบทบาทของสหพันธ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบชุมชนบำบัดแห่งภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย, ความสามารถของชุมชนในการลดการใช้ยาเสพติด, บทบาทของชุมชนในการป้องกันและลดการติดยาซ้ำในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด, การใช้ทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน. 

                                ภาคบ่ายเป็นการเดินทางไปศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลตุลาการเฉลิมพระเกียรติ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และโรงเรียนวัดมะเกลือ ที่จัดการเรียนแบบบูรณาการศีลธรรมตามโครงการพุทธบุตร,วิชาการและอาชีพ

                                การประชุมสัมมนา  วันที่ 29 พ.ย. 49  กำหนดไว้ในครึ่งวันช่วงเช้า เริ่มจากการนำเสนอผลสรุปการประชุมกลุ่มย่อยในวันที่ 27 – 28  ต่อด้วยผู้แทนจาก OFAPMacau  นำเสนอการจัดการประชุมระดับโลก ครั้งที่ 22 ( IFNGO World Conference 2007) ในระหว่างวันที่ 14 – 18 พฤษภาคม 2550  และพิธีส่งมอบธง  IFNGO ASEAN NGOs Workshop  เจ้าภาพจัดประชุมกลุ่มภูมิภาคอาเซียนครั้งที่ 17 ในปี 2550 ที่ประเทศบรูไน ตารุสซาลาม

                                 --------------------------------------------------------------------

สิ่งที่ได้รับจากการประชุมและความเห็นเพื่อสนับสนุนการประชุมดังกล่าว

                การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สืบเนื่องมานานกว่า 15 ปีแล้ว และต่อมาเมื่อปี 1990 หรือ พ.ศ.2533 ได้มีการทำโครงการ ด้านการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในภูมิภาคอาเซียน และก็ได้ประชุมติดตามต่อๆมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นองค์การเอกชนที่ทำงานด้านยาเสพติด แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์ต่อสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการศึกษาของเด็กและเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตลอดจนเผยแพร่ ความรู้แก่ครอบครัว ที่จะหาเลี้ยงชีพที่สุจริตตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา จะได้นำข้อมูลการสร้างเครือข่ายชุมชน, ครอบครัวและเยาวชน มาส่งเสริมเพื่อสร้างพลังแห่งความรักตามแบบ  “ I Love You Darling ”      ดังนั้นสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จะสามารถสนับสนุน นโยบาย การสร้างเครือข่ายเยาวชนและครอบครัวเพื่อเขตปลอดยาเสพติดอาเซียนปี 2015  โดยสนับสนุนสถานที่โรงเรียนสัมมาชีวศิลป ทั้งสองแห่ง ให้หน่วยงานรัฐและเอกชน เข้ามาใช้เป็นสถานที่ อบรม, ประชุมสัมมนาเพื่อระดมความคิดในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ความช่วยเหลือเยาวชน และครอบครัวตลอดจนชุมชน  จัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนและสถาบันครอบครัวสุขสันต์   สนับสนุนให้เยาวชนและคนในชุมชน มีบทบาทในการแก้ไขและป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้นแห่งสาเหตุ จนถึงปลายเหตุ  เพราะการจัดการศึกษาหรืออบรม เผยแพร่ความรู้จะเป็นการแก้ปัญหา และนำสิ่งดี ๆ ในวัฒนธรรมประเพณี การเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  จะนำไปสู่การยกระดับจิตใจเพื่อเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข  ข้อสำคัญสัมมาชีวศิลปมูลนิธิฯ จะต้องมีบุคลากรที่สามารถและผู้อาสาสมัครที่มีอุดมการณ์เข้าใจพลังแห่งความรักเกิดขึ้นหลายๆ กลุ่มประสบการณ์ โดยเฉพาะความสามรถในการวิเคราะห์ปัญหาเยาวชนและครอบครัวในปัจจุบัน ดังเช่น ข้อสรุปการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ 18  เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2548 เรื่องปัญหายาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยในปัจจุบัน  คือ

                 ด้านศาสนา ปัญหาเยาวชนห่างไกลศาสนา( ทุก ๆ ศาสนา ) , ประชาชนผู้ใหญ่ขาดศีลธรรมเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจ บ่อนทำลายกันและกัน ไม่ใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิต คนมักเห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่สำคัญ เหมือนกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ

                ด้านการศึกษา  หลักสูตรการศึกษาวิชาการศาสนาอ่อนแอและมีน้อย, ครูไม่มีความรู้หลักธรรม ไม่สนใจในศาสนา  แต่การศึกษา กลับให้ความสำคัญ กับวิชาการทฤษฎีสมัยใหม่ ส่งเสริมการแข่งขัน แก่งแย่ง ชิงดี ชิ่งเด่น เอาลัด เอาเปรียบกันและกัน

             ด้านสังคม  เกิดลัทธิตามกระแสอบายมุขและบริโภคนิยมแบบโลกาภิวัฒน์, ปัญหายาเสพติด, ปัญหาการใช้ความรุนแรง จากการได้รับ โอกาสทางสังคม ที่ไม่เท่าเทียม, การที่เด็กและเยาวชน ขาดความอบอุ่นไม่ได้รับการแนะนำให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของจิตใจ ไม่ได้รับตัวอย่างที่ดีและปลูกฝังคุณธรรม จากผู้ใหญ่  พ่อแม่  ผู้ปกครอง ฯลฯ ซึ่งกลายเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมที่มีปัญหาทั้ง บ้าน,  วัด, โรงเรียน, ชุมชน ไม่ทำหน้าที่ที่เหมาะสม   เด็กและเยาวชนจึงขาดระเบียบวินัย พ่อ แม่ ครอบครัวต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจ ไม่มีเวลาเอาใจใส่ บุตรธิดา         ปัญหาจากความเชื่อของคนที่เปลี่ยนไปทางวัตถุนิยมได้เข้ามาเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ ทำให้เกิดเอาอย่าง ขาดการวิเคราะห์ ว่าเหมาะสม กับวัฒนธรรมและจารีตประเพณีอันดีงามหรือไม่ ขาดการแยกแยะว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เป็นต้น .  

                                              -----------------------------------------------------------

Background Information

            The International of Non-Government Organization for the Prevention of Drug and Substance Abuse ( IFNGO ) comprises non-governmental organizations which are engaged in anti-drug and substance abuse activities. IFNGO now has a total of 87 members from 40 countries.

            IFNGO recognizes drug and substance abuse as a major problem that transcends age, geographic, political, cultural and religious boundaries. NGOs have an important role to play in assisting their respective governments in the implementation of the national strategies, policies and programs as well as the provisions of the international treaties.

            All ASEAN countries are the members of IFNGO ASEAN NGOs Workshop is held every year on rotation basis among NGOs members in ASEAN.

            The first IFNGO ASEAN NGOs Workshop was held in Kuala Lumpur, Malaysia on 28 – 30 June 1990, on ASEAN NGOs Workshop on CMO – ASEAN NGOs Initiatives” , in commemorating the United Nations International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking ( U.N.IDADAIT ) and the ASEAN Week Against Drug Abuse and Illicit Trafficking ( AWADAIT ). Representatives from six ASEAN NGOs ( BASMIDA – Brunei Darussalam, BERSAMA-Indonesia, PEMADAM-Malaysia, PHILCADSA-Philippines, SANA-Singapore, and NGO-ANCC/NCSWT-Thailand )  came together for the first time to review implementation of the Comprehensive Multidisciplinary Outline of Future Activities in Drug Abuse and Control ( C.M.O. ), to identify problems, share ideas and to plan for the UN DECADE AGAINST RRUG ABUSE 1991 – 2000.

            During the past 15 years, ASEAN NGOs ,by rotation, hosted and organized 15  IFNGO ASEAN NGOs Workshop.

            NGO-ANCC hosted two Workshops in Bangkok: the 4 th. IFNGO ASEAN NGOs Workshop during 23 th.– 25 th. August, 1993, on “ Developing & Utilizing Sustainable Community Resources for Demand Reduction in Drug Abuse” and the 10 IFNGO ASEAN NGOs Workshop during 27 – 29 April 2000 on “ ASEAN Solidarity on the Prevention of Drug and Substance Abuse ”.

            The 16 th. IFNGO ASEAN NGOs Workshop, hosted by ANCC, National Council on Social Welfare of Thailand in collaboration with ASPAC-NGO, ONCB, Colombo Plan Bureau, on the theme “ Youth and Family Networking for ASEAN DRUG-FREE 2015 ”, will be held on 27 th. - 29 th. November, 2006 at Siam City Hotel, Bangkok, Thailand. This Workshop is sponsored by Bureau for International Narcotics and Law Enforcement Affairs, US Department of State.

            2. Objectives    

                        2.1 To provide a forum for the exchange of information, ideas and new technologies for ASEAN members.

                        2.2 To review the extent of implementation of the 15 th. IFNGO ASEAN NGOs Workshop recommendations and to identify problems addressed by members of NGOs in implementing them.

                        2.3 formulate recommendations for the continuity and sustainability of drug and substance abuse prevention programs.

                        2.4 To mobilize ASEAN member contries working on drug prevention and treatment in order to enhance co-operation of information exchange and expertise to reduce drug abuse and its hazardous consequences for ASEAN DRUG-FREE 2015.

                        2.5 To involve youths as role models in drug abuse prevention in schools and communities and to support friend-for-friend project in school.

                        2.6 To recognize families as essential units in helping youth to stay away from drugs and expand youth and family networking for ASEAN DRUG-FREE 2015.

                              ---------------------------------------------------------