บ้านเจิมสุข(บางกระบือ)

..2489  

บ้านเจิมสุข เป็นชื่อเรียกเพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่คุณย่าเจิม มหาสิทธิโวหาร ณ บ้านเลขที่ 92 ถนนอำนวยสงคราม บางกระบือ ตำบลถนนนครชันศรี อำเภอดุสิต จังหวัดพระนครในช่วงปีนั้นมีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 9 คน ลำดับตามอายุดังนี้  
              1  คุณย่าเจิม มหาสิทธิโวหาร เป็นเจ้าบ้าน  2  นางสาวสอางค์  ศรีเพ็ญ   3. นายพิชัย ศรีเพ็ญ   3.  นางสาวสุวิมล ศรีเพ็ญ ( รามโกมุท )    4. ..สัญชัย  ศรีเพ็ญ  ( พลเอกศัลย์ ศรีเพ็ญ )  5. ..มาลินี  ศรีเพ็ญ  ( บุญจันทร์ ) 6.  .ญสุภัทรา ศรีเพ็ญ    ( อิศรางกูร ณ อยุธยา) 7.  ..ประภา  ศรีเพ็ญ  ( รามโกมุท )  8.  ..มานิจ  ศรีเพ็ญ  9.  ..มานัส ศรีเพ็ญ    
( ซื่อ  ณ ช่วงขณะนั้น )  หลังจากนั้น  ..สิทธิพันธ ศรีเพ็ญ  ..สุกัลยา ศรีเพ็ญ และ ด..ศัลยุทธ ศรีเพ็ญ  ก็เข้ามารับการศึกษาที่กรุงเทพฯ อยู่ที่บ้านหลังกลาง ( ก่อนย้ายไปอยู่บ้านหลังเดี่ยวด้านทิศตะวันตก )

บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม

ณ พื้นที่บริเวณบ้านบางกระบือ ( ซึ่งย้ายมาจากที่สร้างอยู่กลาง ถนนอำนวยสงครามก่อนจะถูกเวนคืน )  หน้าบ้านหันไปทางทิศใต้ด้านถนนอำนวยสงคราม  ตัวบ้านใหญ่มีลักษณะเป็นบ้านไม้แฝดสองชั้นใต้ถุนสูงแบบบ้านสมัยโบราณในต่างจังหวัด มีบันใดด้านกลางและด้านข้างบ้าน  ชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นที่ว่างใช้นั่งเล่นและทำครัว มีห้องเก็บของอยู่ส่วนกลาง ห้องน้ำ,ห้องสุขา ชั้นล่างมีโอ่งปูนเก็บน้ำใหญ่ ๆ ประมาณ 20 ใบ ปิดด้วยฝาปูนบ้าง สังกะสีบ้างใช้เก็บน้ำฝนจากหลังคาบ้าน ใช้เป็นน้ำดื่มได้ตลอดปี เนื่องจากไม่มีน้ำประปา ไม่มีน้ำขวดจำหน่ายอย่างปัจจุบัน ช่วงฤดูฝนหากฝนตกทุกคนจะต้องลงไปเอารางสังกะสียาวๆ ไปรองน้ำจากท่อรางน้ำจากหลังคาบ้าน ( ไม่มีท่อ พี.วี.ซี หรือท่อยางขายอย่างในปัจจุบัน  ซึ่งช่วงนั้นยังมีภัยสงคราม จะใช้โอ่งฝังดินหลายใบใช้เป็นหลุมหลบภัยเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัยว่าจะมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ) ชั้นบนมีห้องนอน 3 ห้อง มีระเบียง ด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างด้านทิศตะวันตกมีชานไม้เป็นลานเพื่อเชื่อมต่อระหว่างหลังใหญ่และเรือนไม้ชั้นบนอีก 1 ห้อง จากชานไม้ก็จะเป็นบันไดสูงเพื่อลงไปสวนต้นไม้รอบๆ บ้าน และเดินไปสู่บ้านเดี่ยวไม้สองชั้นใต้ถุนสูงอีกหลังที่อยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งต่อมาครอบครัวพลตรีถวัลย์ ศรีเพ็ญ ก็ได้เข้าอยู่ที่หลังนี้ ก่อนที่จะเกศียณอายุ พ.ศ.2510 ซึ่ง ติดบ้านพระยาสมุทร ( ปัจจุบันเป็นโรงเรียนกันตะบุตร  )   

ถนนอำนวยสงคราม เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนพระรามที่ 5 กับถนนสามเสนบางกระบือ ตัดช่วงระหว่าง พ.. 2485     เป็นถนนปูเรียงด้วยหินก่อนใหญ่ๆ และเทหินคลุกบทอัดแน่นสีขาว กว้างประมาณ 4.5 เมตร มีลำคูน้ำสองข้าง น้ำใสสะอาดใช้เป็นน้ำอาบและใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ในน้ำหน้าบ้านปลูกผักบุ้งและผักกะเฉต  สองข้างถนนมีส่วนเป็นดินจะมีหญ้าขนและต้นไม้ขึ้นเป็นระยะตลอดถนน ชาวบ้านจะนำแพะมาเลี้ยงและทหารม้าจะนำม้ามากินหญ้าตามข้างถนน บางวันม้าตกลงไปในคลองต้องช่วยกันดึงหลายชั่วโมงกว่าจะนำขึ้นมาได้  ช่วงเวลากลางวันจะมีผีเสื้อและแมลงปอ  กลางคืนจะมีหิงห้อยบินเห็นแสงระยิบระยับสองข้างถนน เนื่องจากถนนยังไม่มีไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟฟ้าในบ้าน ใช้หลอดห้อยเพดาน 110 โวท์ แรงเทียน 20 วัตต์ สูงสุดมีเพียง 60 วัตต์ ก็สว่างมากแล้ว ถนนช่วงนั้นไม่ค่อยมีรถยนต์นอกจากรถจักรยานและรถถีบสามล้อ   จะเดินทางไปนอกบ้านต้องเดินไปขึ้นรถรางที่ถนนสามเสนตรงหน้าโรงเรียนราชินีบน

กิจกรรมของคนในบ้านมีคุณย่าเจิม เป็นผู้อาวุโสที่สุด    และคุณอาหรือคุณป้า สอางค์ของหลานๆ เป็นผู้ปกครองบ้านและดูแลหลานๆทั้งหมด เวลากลางวันมักจะอยู่ชั้นล่างใต้ถุนเรือน อากาศเย็นสบาย  ตกเย็นหน้าประตูบ้านจะมีม้ายาวสำหรับนั่งดูลำคลองและถนน พวกเด็กๆ ก็จะใช้พื้นที่ถนนอำนวยสงครามเป็นที่ขี่จักรยานหรือวิ่งเล่นทั่วๆไป สภาพบ้านเรือนทั่วๆไปในช่วงนั้น กลางวันไม่มีการเปิดไฟแสงสว่างทั้งบ้านอาศัยและที่สถานที่ทำงานเลยก็มีแสงสว่างเพียงพอ ช่วงกลางตืนหากไฟฟ้าดับต้องจุดเทียนหรือตะเกียงเจ้าพายุ ไม่รู้จักเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ต่างๆ เช่น เครื่องโทรทัศน์, คอมพิวเตอร์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า, ตู้เย็น โทรศัพท์โทรสาร จะมีแต่วิทยุ (ไม่มีแบบกระเป๋าหิ้ว หรือ ซี.ดี. )  พวกเด็กๆ จะสร้างบ้านโดยยึดมุมสวนด้านตะวันออกใต้ต้นชมพูใหญ่ มีกอต้นเฟื่องฟ้าเป็นหลังคาและฝา เหมือนถ้ำภายในเอาเสื่อปู จะผลัดกันเข้าออก

ช่วงเวลากลางคืนจะมานั่งรวมกันหน้าประตูห้องคุณย่า เปิดวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ( มีสถานีเดียว )    หลานๆจะช่วยตำหมากและอ่านหนังสือให้คุณย่าเจิมฟัง  และบางคนก็นั่งเล่นที่ระเบียงด้านหน้าดูถนนอำนวยสงครามมืดมากนานๆจะมีคนเดินเป็นกล่มๆ หลังกลับจากไปดูภาพยนตร์ หรือไปทานอาหารแผงลอยมีหลายร้านที่หัวมุมสี่แยกบางกระบือกับโรงภาพยนตร์บางกระบือเทียเตอร์ อยู่ประมาณ 20.00. ก็เข้ามุ้งนอนกันหมดแล้ว( ต้องปูที่นอนผูกเชือก กางมุ้งกันทุกวัน ( ไม่รู้จักห้องมุ้งลวด ) จะไปห้องสุขาต้องเดินลงบ้านไปชั้นล่าง 

 

 

บ้านเจิมสุขบางกระบือจะมีผู้ใหญ่เพื่อนบ้านใกล้ ๆ โดยเฉพาะคุณนายเทียนไขฯ บ้านคุณถนอม สาคเรส บ้านตรงข้ามถนน คุณนายเล็ก ซอยทองหลาง และคุณนายเยือน ฯ บ้าน ช.นิลเสนา หัวถนนอำนวยสงครามและญาติมาเยี่ยมกันเป็นประจำโดยเฉพาะคุณหลวงบุญปาลิตวิชชาสาสก์  พี่ชาย คุณอานพ บุญปาลิต บ้านอยู่ปทุมวัน ที่เป็นเพื่อนรักกับคุณป้าสอางค์  คุณหลวงบุญปาลิตฯ จะขับรถยนต์รุ่นเก่าแต่ทันสมัยในขณะนั้น พากันมา 3 – 4 คน มาที่บ้านบางกระบือช่วงวันหยุด  ขณะผู้ใหญ่นั่งล้อมวงสังสรรค์ พวกหลานๆ ก็จะมานั่งกันอยู่ใกล้ ๆ และฟังวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  คุณหลวงบุญปาลิต ฯ มักจะแปลเป็นภาษาอังกฤษ ให้ฟังกัน

ซึ่งต่อมาหลังจากการถึงแก่กรรมของคุณยาเจิมมหาสิทธิโวหาร ประมาณปี พ.ศ. 2507  คุณป้าสอางค์ฯ ซึ่งเป็นผู้อาวุโสของครอบครัวบ้านเจิมสุขบางกระบือ มีความเห็นว่าที่บ้านบางกระบือเริ่มคับแคบ จึงรื้อบ้านทั้งสองหลัง ( นำไม้บางส่วนมาสร้างบ้านคุณป้า สอางค์ฯ ต่อมายกให้นางประภา รามโกมุท จะมีส่วนที่เป็นบ้านเก่าให้เห็นได้แก่ บันไดและประตู หน้าต่าง ) และสร้างเป็นตึกแถว 3 ชั้น มีชื่อตึกว่า “ ศรีเพ็ญ ” จะเห็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนครอบครัวบ้านบางกระบือก็ย้ายมาอยู่ที่แขวงบางซื่อ   ( เตาปูน ) เขตบางซื่อ เนื่องจากเป็นที่คุณย่าเจิมฯ ให้เจ้าของที่ติดกันเช่าทำนามาหลายสิบปี  มีพื้นที่ 5 ไร่เศษที่สามารถแบ่งกันปลูกบ้านแยกเป็นอีก 10 ครอบครัว มีทางออกด้านถนนประชาชื่น เรียกว่า “ บ้านเจิมสุข ตะวันออก ” และด้านถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี เรียกว่า “ บ้านเจิมสุข ตะวันตก” มาจนปัจจุบัน  

 ------------------------------------------------------