การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนสัมมาชีวศิลป
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

กลับหน้าหลักสัมมาฯ

สารบัญ

2. วิสัยทัศน์ ภารกิจ, เป้าหมาย

 

คำนำ

เอกสารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ฉบับนี้ เป็นเอกสารที่ทางโรงเรียนได้กำหนดแนวการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ โดยมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เป็นการเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมตามความสนใจ ส่งเสริมและพัฒนาความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและเป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรมที่ดีงามตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หวังว่าเอกสารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของคณะครูโรงเรียนสัมมาชีวศิลป

โรงเรียนสัมมาชีวศิลป

 

 

1. ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงเรียน โรงเรียนสัมมาชีวศิลป จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2494 เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งตามวัตถุประสงค์ของสัมมาชีวศิลปมูลนิธิ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ผู้ก่อตั้งโรงเรียน ก่อตั้งในนามสัมมาชีวศิลปมูลนิธิในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระสังฆราช โดยมีผู้ก่อตั้งมูลนิธิ 5 ท่าน คือ พระยาอมรฤทธิธำรง, พระปวโรฬารวิทยา, พระสงครามภักดี, พระอร่ามรณชิต, หลวงปริญญาโยควิบูลย์.
สถานที่ตั้งโรงเรียนสัมมาชีวศิลป ตั้งอยู่เลขที่ 744 ซอย พญานาค ถนน พญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400 โทร. 02-215-9002 0-2611-1092 โทรสาร 0-2611-1092
สภาพปัจจุบัน ปีการศึกษา 2546
อาคารเรียน 3 หลัง ประกอบด้วย - ห้องเรียน 13 ห้อง - ห้องประกอบอาคารเรียน 12 ห้อง
จำนวนนักเรียนในปี การศึกษา 2546 จำนวนทั้งสิ้น 267
ระดับอนุบาล นักเรียนชาย 41 คน
นักเรียนหญิง 25 คน
ระดับประถม
นักเรียนชาย 117 คนนักเรียนหญิง 84 คน
จำนวนครู 24 คน

กลับสารบัญ

วิสัยทัศน์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เห็นคุณค่าของชีวิต รู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างจิตสำนึกภายใต้วิถีทางความเป็นไทยปรับตัวและปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุ
ภารกิจของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรมให้เกิดแก่ผู้เรียน
ส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
สร้างเสริมคุณลักษณะของความเป็นไทย เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีการใช้ภาษา และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนา
นักเรียนมีความสามัคคี และความรับผิดชอบร่วมกันในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก ตามแนวทางที่ถูกต้อง
นักเรียนมีระเบียบวินัย ยอมรับและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนตามวิถีของความเป็นไทย และนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการเรียนรู้ และสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

กลับสารบัญ


คุณลักษณะอันพึงประสงค

1. ศีลธรรม จริยธรรม
มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้กาลเทศะ
มีความกตัญญู โดยแสดงออกในการช่วยเหลือบุคคลที่บ้านและโรงเรียน
มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2. กล้าแสดงออก
ค้นคว้าข้อมูลและนำเสนอได้ถูกต้องตามขั้นตอน
แสดงออกด้วยความมั่นใจ
แสดงออกในการเป็นผู้นำและผู้ตาม

3. ปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตย
ปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่ของตนและผู้อื่น

ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนและสังคมส่วนรวม
ยอมรับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม

4. มีจิตสำนึกในความเป็นไทย
แสดงความเคารพตามวัฒนธรรมไทย
สื่อสารภาษาไทยได้ถูกต้องชัดเจน
ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม

กลับสารบัญ

ความหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นระบบประกอบด้วยรูปแบบกระบวนการ วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง มีความหมายและมีคุณค่าในการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม มุ่งสร้างเสริมเจตคติ คุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างจิตสำนึกในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ความสำคัญของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดแนวการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของบุคคล ทำให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีความสุขบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยืนจากจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็น คนดี คนเก่ง และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทยนั้น นอกจากการพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความรู้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญซึ่งได้กำหนดไว้ในโครงสร้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม หลักสูตรยังได้กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ในโครงสร้าง โดยมุ่งส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนเพิ่มเติมจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง ค้นพบความสามารถ ความถนัดของตนเองเพื่อการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ เห็นคุณค่าในการประกอบสัมมาชีพ ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ศีลธรรม จริยธรรม รู้จักบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ การบำเพ็ญประโยชน์ให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข โรงเรียนได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี เป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ โดยมุ่งเน้นปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต เคารพกฎกติกาของสังคม มีความ
เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ตลอดจนอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เสริมสร้างทักษะชีวิต การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี
3. กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนความสามารถพิเศษไปสู่ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ เช่น นักกีฬา นักดนตรี วิชาการ นักออกแบบเป็นต้น

กลับสารบัญ

หลักการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีหลักการจัดดังนี้
มีการกำหนดวัตถุประสงค์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม

    1. จัดให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียนและวัฒนธรรมที่ดีงาม

    2. บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริง ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรู้สึกสนุกกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน

    3. ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์จินตนาการ ที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่าง ต่อเนื่อง

    4. จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม

    5. มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับวิสัยทัศ และ เป้าหมายของสถานศึกษา

    6. ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา ถือเป็นหน้าที่และงานประจำโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

    7. ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

    8. มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับ กิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

โครงสร้างการจัดเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ปีการศึกษา 2546

จำนวนเวลา / ชั่วโมง

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 -3 )

ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 -6)

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

กิจกรรมแนะแนว

40

40

40

40

40

40

- กิจกรรมสุขใจที่ให้ทำ

- กิจกรรมความสุขของฉัน

- กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน

- กิจกรรมแสวงหาความรู้สู่อนาคต

กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี

40

40

40

40

40

40

กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

40

40

40

40

40

40

- กิจกรรมสัมมา – ภาษาพาสนุก

- กิจกรรมเยาวชน - พุทธมามกะ

- กิจกรรมนักประดิษฐ์

- กิจกรรมศิลปะ – ดนตรี

- กิจกรรมโภชนาการ

เวลารวม

120 ช.ม/ปี

120 ช.ม/ปี

120 ช.ม/ปี

120 ช.ม/ปี

120 ช.ม/ปี

120 ช.ม/ปี

เวลาเรียน

- กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 -3)

เรียน

1 ชั่วโมง / สัปดาห์

ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 -6)

เรียน

1 ชั่วโมง / สัปดาห์

- กิจกรรมแนะแนว

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 -3)

เรียน

1 ชั่วโมง / สัปดาห์

ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 -6)

เรียน

ั1 ชั่วโมง / สัปดาห์

- กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของ

ผู้เรียน

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1–3)

ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4–6)

เรียน

เรียน

1 ชั่วโมง / สัปดาห์

1 ชั่วโมง / สัปดาห์

ลักษณะกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

โรงเรียนได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1- 3 ) และช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 – 6 ) ดังนี้

ช่วงชั้นที่ 1

ช่วงชั้นที่ 2

  1. กิจกรรแนะแนว
  2. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสำรอง
  3. กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ
  1. กิจกรรมแนะแนว
  2. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญ
  3. กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ

กลับสารบัญ

แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1. กิจกรรมแนะแนว

กิจกรรมสุขใจที่ได้ทำ

กิจกรรมความสามารถของฉัน

กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน

กิจกรรมแสวงหาความรู้สู่อนาคต

  1. กิจกรรมนักเรียน

กิจกรรมลูกเสือ – เ นตรนารี

กิจกรรมสัมมา – ภาษาพาสนุก

กิจกรรมเยาวชน – พุทธมามกะ

กิจกรรมนักประดิษฐ์

กิจกรรมศิลปะ - ดนตรี

กิจกรรมโภชนาการ

หลักการและเหตุผลการจัดกิจกรรมและแนวเป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศัยกภาพ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น พึ่งตนเอง มีทักษะในการเลือกแนวทางการศึกษา การงานและอาชีพ ชีวิตและสังคม มีสุขภาพจิตที่ดีมีจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

จุดประสงค์การจัดกิจกรรมแนะแนว
1. เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบความถนัด ความสามารถ ความสนใจของตนเองและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้จากข้อมูล ข่าวสาร แหล่งการเรียนรู้ทั้งด้านอาชีพ ส่วนตัว สังคม เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนเลือกแนวทางการศึกษา อาชีพได้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของตนเอง
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพและปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะมีความคิดสร้างสรรค์ในงานอาชีพและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
5. เพื่อให้ผู้เรียนมีค่านิยมที่ดีงามในการดำเนินชีวิต เสริมสร้างวินัย คุณธรรมและจริยธรรมแก่ผู้เรียน
6. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
กลับสารบัญ

แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว
1. จัดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ และธรรมชาติของผู้เรียน
2. จัดให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ที่ตอบสนองจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2544
3. จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนทุกคน โดยครอบคลุมด้านการศึกษา การงานและอาชีพ ชีวิตและสังคม

4. จัดกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีอิสระในการคิดและตัดสินใจ
5. จัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ต้องการปฏิบัติจนเกิดทักษะหรือ
การเรียนรู้
6. ให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม โดยครูแนะแนวทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและประสาน
งาน

ขอบข่ายของกิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนวให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ควรจัดให้ครอบคลุมขอบข่าย ดังนี้

    1. การจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา
    2. การจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการงานและอาชีพ
    3. การจัดกิจกรรมด้านชีวิตและสังคม

กรอบความคิดการจัดกิจกรรมแนะแนว

จากขอบข่ายการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อให้สนองตอบตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ นั้น โรงเรียนได้จัดกิจกรรมทั้ง 3 ด้านคือ แบ่งออกเป็นกิจกรรมใหญ่ ๆ 4 กลุ่มตาม ตาราง ดังนี้

ตารางแสดงกรอบความคิดการจัดกิจกรรมแนะแนวของช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 –3) และช่วงชั้นที่2 (ป.4 – 6)

กลุ่มกิจกรรม

เนื้อหา / สาระการเรียนรู้

กิจกรรม

  1. รู้จัก เข้าใจและเน้นคุณ

ค่าในตนเองและผู้อื่น

  • การรับรู้ความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
  • การรู้จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง
  • การรู้และเข้าใจความสนใจความถนัดความสามารถทางด้านการเรียนและการงาน
  • ความภูมิใจในตนเองและชื่นชมผู้อื่น
  • การู้และเข้าใจความต้องการและปัญหาของตนเอง
  • กิจกรรมกลุ่ม (กลุ่มสัมพันธ์ , กลุ่มปฏิบัติ , กลุ่มฝึกอบรม)
  • บทบาทสมมุติ
  • เกม ละคร
  • การฝึกปฏิบัติจริง ฯลฯ
    1. การแสวงหารและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
    2.  

    3. การตัดสินใจและแก้ปัญหา
    4. การปรับตัวและการดำรงชีวิต
    • ความสามารถในด้านค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งที่อยู่ใกล้ตัว
    • ความสามารถเลือกและใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
    • ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาง่าย ๆ ของตนเอง
    • การรับรู้ความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
    • ความสามารถในการสื่อความรู้สึกและความต้องการของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้
    • การแสดงออกทางอารมณ์เหมาะสมกับวัย
    • การเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี
    • ความสามารถในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
    • สาธิต
    • ฝึกปฏิบัติจริง
    • สำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ฯลฯ
    • ฝึกโดยการใช้สถานการณ์จริง
    • บทบาทสมมติ
    • โครงงาน ฯลฯ
    • กิจกรรมกลุ่ม (กลุ่มสัมพันธ์ , กลุ่มปฏิบัติการ ,กลุ่มจิตวิทยา
    • บทบาทสมมุติ
    • เกมละคร
    • ฝึกปฏิบัติจริง
    • ฯลฯ
         

    ลักษณะของกิจกรรมแนะแนว

      1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความถนัด ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
      2. ส่งเสรมและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับความรู้ข่าวสารด้านการศึกษา การงานอาชีพชีวิตสังคม เพื่อใช้วางแผนการเรียน ศึกษาต่อ อาชีพที่เหมาะสม
      3. เสริมสร้างทักษะต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาบุคลิกภาพและปรับตัวเข้ากับสังคม
      4. เสริมสร้างค่านิยมที่ดีมีวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรม
      5. เพิ่มพูนประสบการณ์เพื่อเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะต่างๆ
      6. จัดกิจกรรม โดยอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้เรียน
      7. จัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ส่งเสริมพัฒนาการเรียนของผู้เรียน
      8. เป็นกิจกรรมไม่เน้นวิชาการ แต่เน้นการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
      9. วัดและประเมินผลในแต่ละกิจกรรม
      10. สรุปการประเมินผลพัฒนาการตามเกณฑ์ของสถานศึกษาที่กำหนด

    กระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว

      1. สำรวจปัญหาและความต้องการความสนใจของผู้เรียน
      2. ศึกษาวิสัยทัศน์ของโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน
      3. กำหนดสัดส่วนสาระของกิจกรรมในครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา อาชีพชีวิตและสังคม
      4. กำหนดแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว
      5. จัดทำรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม (ชื่อกิจกรรม – จุดประสงค์ , เวลา ,เนื้อหา / สาระ . วิธีการ ดำเนินกิจกรรม , สื่อ / อุปกรณ์ และการประเมินผล)
      6. ปฏิบัติตามแผน วัดประเมินผล การรายงาน

    การประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว

    ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมแนะแนวผู้เรียน และผู้ปกครองมีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้

    1. ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว
      1. จะต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และตามสภาพปัญหาของผู้เรียน
      2. ต้องรายงาน เวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
      3. ศึกษา ติดตาม และพัฒนาผู้เรียน กรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม
      4. ต้องประเมินผลผู้เรียน โดยดูพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
      5. บันทึกผลการติดตามและประเมินผลผู้เรียนไว้เป็นหลักฐาน
    2. ผู้เรียน
      1. เข้าร่วมกิจกรรมตามที่โรงเรียนกำหนดโดยมีหลักฐานแสดงเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม
      2. ต้องปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูผู้รับผิดชอบมอบหมาย ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ที่โรงเรียนกำหนด
    3. ผู้ปกครอง

    ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียน มีการบันทึกสรุปพัฒนาการ และการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน

    วิธีการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมแนะแนว ครูผู้จัดกิจกรรม สามารถเลือกใช้วิธีการประเมินผลที่เหมาะสมตามความเหมาะสม ดังนี้

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    หลักการและเหตุผลเป็นกิจกรรมอาสาสมัคร ที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนถ้วนหน้ากับทุกคน โดยมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและประเทศชาติ ซึ่งต้องอาศัยสาระสำคัญของลูกเสือที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ และวิธีการให้เป็นแนวปฏิบัติสืบต่อกันไป ตามที่องค์การของลูกเสือโลกได้กำหนดไว้ และประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก ต้องปฏิบัติตามหลักการ วัตถุประสงค์และวิธีการของลูกเสือเพื่อพัฒนาลูกเสือเนตรนารี ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของชาติ

    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อช่วยให้เยาวชนได้รับการพัฒนาศักยภาพทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ สังคมและสติปัญญา

    2. เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน ของชาติตาม บทบัญญัติของลูกเสือ

    การจัดกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีการจัดกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีในโรงเรียนได้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

      1. พิธีเปิด ( เชิญธง สวดมนตร์ สงบนิ่ง ตรวจ แยก )
      2. กิจกรรมเกมส์ / เพลง เตรียมความพร้อม
      3. การปฏิบัติกิจกรรมตามสาระ โดยแบ่งเป็นฐานต่าง ๆ
      4. การเล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์
      5. พิธีเปิด (นัดหมาย ตรวจ เชิญธงลง เลิก)

    การวัดประเมินผลกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี

    1. กิจกรรมบังคับเป็นการวัดประเมินผลเพื่อให้ลูกเสือเนตรนารี ผ่านช่วงชั้น หรือจบหลักสูตรโดยการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผ่านเกณฑ์ตามที่โรงเรียนกำหนด คือร้อยละ 80 ของเวลาเรียน มีการวัดผลตลอดภาคเรียน
    สังเกตพฤติกรรมตามสภาพจริง
    การทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
    วิชาพิเศษ เป็นการวัดและประเมินผลในแต่ละวิชาทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติโดยใช้เกณฑ์
    การประเมินดังนี้ คือ ผ่าน(ผ) ไม่ผ่าน (ผ)

    …………………………………………………

    กลับสารบัญ

    หลักสูตรกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี

    ระดับประถมศึกษา (ป. 1 – 6 )

    จุดประสงค์

      1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และกติกา คติพจน์ของลูกเสือสำรอง / สามัญ
      2. เพื่อให้มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือในการแก้ปัญหา และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
      3. เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย มีความสามัคคีเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
      4. เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ

    หลักสูตรลูกเสือสำรอง

    กิจกรรม

    หัวข้อเนื้อหา

    เตรียมลูกเสือสำรอง

     

     

     

     

     

     

    ดาวดวงที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 )

    ดาวดวงที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2)

    ดาวดวงที่ 3 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3)

    1. มีความรู้เกี่ยวกับนิยายเรื่องเมาคลี และประวัติการเริ่มกิจการลูกเสือสำรอง
    2. รู้จักการทำความเคารพเป็นหมู่ (แกรนด์ฮาวล์)และระเบียบแถวเบื้องต้น
    3. รู้จกการทำความเคารพเป็นรายบุคคล การจับมือซ้ายและคติพจน์ของลูกเสือ
    4. รู้จักคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง
    1. อนามัย
    2. ความสามารถในเชิงทักษะ
    3. การสำรวจ
    4. การค้นหาธรรมชาติ
    5. ความปลอดภัย
    6. บริการ



    กิจกรรม

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ลูกเสือตรี (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4)

     

    หัวข้อเนื้อหา

  • ธงและประเทศต่าง ๆ
  • การฝีมือ
  • กิจกรรมกลางแจ้ง
  • การบันเทิง
  • การผูกเงื่อน
  • คำปฏิญาณ
  • รียนในเวลาชั้นละ 2 วิชา (สำรอง (18 วิชา)

    1. จิตรกร
    2. นักกรีฑา
    3. นักอ่านหนังสือ
    4. นักจักรยานสองล้อ
    5. นักแสดงบันเทิง
    6. นักสำรวจ
    7. นักปฐมพยาบาล
    8. นักสารพัดช่าง
    9. งานอดิเรก
    10. การช่วยเหลืองานบ้าน
    11. นักอ่านแผนที่
    12. นักธรรมชาติศึกษา
    13. นักถ่ายภาพ
    14. นักว่ายน้ำ
    15. ผู้ช่วยคนตกน้ำ
    16. นักวิทยาศาสตร์
    17. นักกรีฑา
    18. การอนุรักษ์ธรรมชาติ
    19. เครื่องหมายลูกเสือสัมพันธ์

    แสดงว่ามีความรู้เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือ

    1 ประวัติสังเขปของลอร์ด เบเดน โพเอลล

    กิจกรรม

    หัวข้อเนื้อหา

     

    ลูกเสือตรี (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4)

     

     

     

     

     

     

     

     

    ลูกเสือโท ( ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 )

     

     

     

     

     

    ลูกเสือเอก (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6)

     

     

     

     

    เครื่องหมายวิชาพิเศษ ( 54 วิชา )

      1. พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
      2. วิวัฒนาการของขบวนการลูกเสือไทยและลูกเสือโลก
      3. การทำความเคารพการแสดงรหัส การจับมือซ้ายและคติพจน์ของลูกเสือ
    1. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ
    2. กิจกรรมกลางแจ้งมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่ลูกเสือนอกสถานที่
    3. ระเบียบแถว ทำมือเปล่า ท่าถือไม้พลอง การใชัสัญญาณมือและนกหวีด การตั้งแถวและการเรียกแถว
    1. การรู้จักดูแลตนเอง
    2. การช่วยเหลือผู้อื่น
    3. การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
    4. ทักษะในทางวิชาลูกเสือ
    5. งานอดิเรกและเรื่องที่น่าสนใจ
    6. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
    1. การพึ่งตนเอง
    2. การบริการ
    3. การผจญภัย
    4. วิชาการของลูกเสือ
    5. ระเบียบแถว
    1. นักจักสาน
    2. ช่างไม้
    3. ช่างหนัง
    4. ชาวนา
    5. ชาวสวน
    6. ชาวไร่

    กิจกรรม

    หัวข้อ

    เนื้อหา

    7. นักเลี้ยงสัตว์เลี้ยง

    37. นักเครื่องบินเล็กเบื้องต้น

    8. นักจักรยาน 2 ล้อ

    38. นักสะสม

    9. นักว่ายน้ำ

    39. บรรณารักษ์

    10. ผู้ช่วยคนดับเพลิง

    40. นักกรีฑา

    11. ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

    41. นักขี่ม้า

    12. ผู้ให้การปฐมพยาบาล

    42. มวยไทยเบื้องต้น

    13. นักสังเกตและจดจำ

    43. มวยสากลเบื้องต้น

    14. การพราง

    44. กระบี่กระบองเบื้องต้น

    15. ชาวค่าย

    45. นักยิงปืนเบื้องต้น

    16. ผู้ประกอบอาหารในค่าย

    46. การอนุรักษ์ธรรมชาติ

    17. ล่าม

    47. การหามิตร

    18. นักดนตรี

    48. มารยาทในสังคม

    19. นักผจญภัยในป่า

    49. นิเวศวิทยา

    20. นักสำรวจ

    50. การพัฒนาชุมชน

    21. มัคคุเทศก์

    51. การใช้พลังทดแทน

    22. ช่างเขียน

    52. ลูกเสือโทพระมงกุฎเกล้าฯ

    23. นักสัญญาณ

    53. ลูกเสือเอกพระมงกุฎเกล้าฯ

    24. นักบุกเบิก

    54. สายยงยศ

    25. นักธรรมชาติศึกษา

    26. ช่างเบ็ดเตล็ด

    27. ผู้บริบาลคนไข้

    28. นักจับปลา

    29. ผู้ช่วยต้นเด่น

    30. นักพายเรือ

    31. นายท้ายเรือ

    32. นักกรรเชียงเรือ

    33. นักเล่นเรือใบ

    34. นักดาราศาสตร์เบื้องต้น

    35. นักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น

    36. ยามอากาศเบื้องต้น

    กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ
    ……………………………………

    หลักการและเหตุผล

    กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนเป็นกิจกรรมนักเรียนกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ โดยมุ่งเน้นการเติมเต็มความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อค้นพบความถนัด ความสนใจของตนเอง และพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ โดยมีขอบข่ายครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมชุมนุม ชมรมต่าง ๆ กิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ 8 กลุ่ม กิจกรรมที่สนองนโยบายของรัฐกระทรวง ทบวง กรม และโรงเรียน และวันสำคัญต่างๆ การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะต้องดำเนินการดังนี้

    วัตถุประสงค์

    เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อให้ เกิดทักษะประสบการณ์ทั้งวิชาการและวิชาชีพตามศักยภาพ

    เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและค่านิยมที่พึ่งประสงค์

    เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพบุคลิกภาพทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดี
    เพื่อให้ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

    เพื่อให้ผู้เรียนมีมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ในระบอบประชาธิปไตย

    ……………………………………………….

     

    กลับสารบัญ

    แนวการจัดกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ
    โรงเรียนได้จัดกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนโดยมุ่งเน้นการเสริมสร้าง ศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยยึดหลักคุณลักษณะของคนไทยที่ประเทศชาติต้องการและค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้

      1. คุณลักษณะของคนไทยที่ประเทศชาติต้องการ
        1. มีระเบียบวินั

    1.2 มีความซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรม

    1.3 ขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาชีพ

    1.4 สำนักในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ

    1.5 รู้จักคิดริเริ่ม วิจารณ์ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

    1.6 กระตือรือร้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย รักเทิดทูนชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

      1. มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
      2. รู้จักพึ่งตนเองและมีอุดมคติ
      3. มีความภาคภูมิใจและรู้จักทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรของชาติ
      4. มีความเสียสละ เมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญและสามัคคีกัน

    2. ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ

    1. การพึ่งพาตนเอง ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ
    2. การประหยัดและรู้จักอดออม
    3. การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
    4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
    5. ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

    จากคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมพื้นฐานดังกล่าว ได้นำมากำหนดกรอบในการพัฒนา

    คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 ด้าน คือ 1. ด้านการพัฒนาตนเอง

      1. การพัฒนาการทำงานและการดำเนินชีวิต
      2. การพัฒนาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

      กลับสารบัญ

    การวัดและประเมินผลกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ

    การประเมินจากสภาพจริง
    - สังเกตพฤติกรรม
    - การเข้าร่วมกิจกรรมตามที่โรงเรียนกำหนด
    - การแสดงออก ผลการปฏิบัติกิจกรรม
    - ผลงานนักเรียน
    ……………………………………………..

    10. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยกำหนดให้ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่โรงเรียนกำหนด จึงจะผ่านเกณฑ์การประเมินช่วงชั้น ดังนี้

      1. กาประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นรายกิจกรรม

      2. มีการประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติกิจกรรมตามจุดประสงค์ของแต่ละกิจกรรมด้วยวิธีหลากหลายตามสถาพจริง

      3. ตรวจสอบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
      4. มีการประเมินเป็นระยะ ภาคเรียนละ 2 ครั้ง แล้วแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
      5. ตัดสินให้ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรม เมื่อเข้าเรียนครบตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ ถ้าหากไม่ผ่านต้องซ่อมเสริมข้อบกพร่องให้ผ่านเกณฑ์ก่อนจึงตัดสินให้ผ่านกิจกรรม
      6. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น
        1. กำหนดให้ผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมของทุกคนตลอดช่วงชั้น
        2. สรุปและประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นรายบุคคลตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
        3. นำผลการประเมินเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการโรงเรียนให้ความเห็นชอบ
        4. เสนอผู้บริหารโรงเรียน พิจารณาตัดสินอนุมัติผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้นต่อไป

    วิธีการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    1. ครูและผู้ดูแลกิจกรรมสามารถเลือกใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายอย่างเหมาะสมตามสภาพจริง ดังนี้
    - แฟ้มสะสมงาน
    - การสังเกต
    - การสัมภาษณ์
    - การเขียนรายงาน
    - บันทึกหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรม
    - การแสดงผลงานของนักเรียน
    - อื่น ๆ

    ครูที่ปรึกษากิจกรรม ผู้เรียนและผู้ปกครองมีบทบาทในการประเมิน ดังนี้
    ครูที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          1. ต้องดูแลและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของ กิจกรรม
          2. ต้องรายงานเวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
          3. ต้องศึกษาติดตาม และพัฒนาผู้เรียนในกรณีผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม

    ผู้เรียน

          1. ปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
          2. มีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด พร้อมทั้งแสดงผลการปฏิบัติกิจกรรม และพัฒนาการด้านต่าง ๆ
          3. ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต้องปฏิบัติกิจกรรมที่เพิ่มเติมตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
          4. ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกิจกรรม

    ผู้ปกครอง

          1. ให้ความร่วมมือในการติดตามพัฒนาการของผู้เรียนกับสถานศึกษาเป็นระยะๆ
          2. ผู้ปกครองบันทึกความเห็น สรุปพัฒนาการและการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน

    เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

      1. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ตามที่โรงเรียนกำหนด
      2. ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์ที่สำคัญแต่ละกิจกรรมคือได้ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป

      กลับสารบัญ

    ภาคผนวก

    กิจกรรมแนะแนว

    1. ชื่อกิจกรรม ความสุขใจที่ได้ทำ ช่วงชั้นที่ 1 – 2

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูบุญรักษ์ จักรสิทธิ์

    3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนบอกสิ่งที่ตนสามารถทำได้

      1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ ในความสามารถของตนเอง
      2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสนใจความถนัดของตนเอง
      1. วิธีดำเนินการ

    - ขั้นเตรียม - ให้ผู้เรียนสำรวจตนเองว่ามีความสามารถทำอะไรได้บ้าง

    - ขั้นดำเนินกิจกรรม 1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 4 คน

      1. แจกใบงาน
      2. เขียนแสดงความสามารถของตน
      3. นำผลงานเสนอหน้าชั้นเรียน

    - ขั้นสรุป 5. ครูสอบถามความรู้สึกของผู้เรียน 5 –6 คน ถึงการทำงาน

      1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความสุขใจที่ได้ทำ
      2. การวัดผลและประเมินผล

    วิธีประเมินผล 1. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

      1. ประเมินจากผลงาน
      2. เครื่องมือประเมิน

      1. เกณฑ์การประเมิน

    แบ่งเป็น 3 ระดับ เกณฑ์การผ่านตั้งแต่ 2 ระดับขึ้นไป

      1. ดีมาก

      1. พอใช้

      1. ปรับปรุง

    หลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ช่วงชั้นที่ 1 – 2

    กิจกรรม

    เข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

    หัวข้อเนื้อหา

    “ ความสุขใจที่ได้ทำ”

    1. รู้และเข้าใจความต้องการ และปัญหาของตนเอง
    2. อธิบายความต้องการหรือปัญหาของตนเอง
    3. บอกจุดเด่น จุดด้อยของตนและแสดงความสามารถที่เป็นจุดเด่น
    4. ภูมิใจในตนเอง และชื่นชมผู้อื่น

    - บอกความภูมิใจในสิ่งที่ตนทำ

    - บอกความสามารถและความดีของผู้อื่น

    - แสดงความชื่นชมผู้อื่นพร้อมเหตุผล

     

    แบบประเมินกิจกรรมแนะแนวความสุขใจที่ได้ทำ

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี (3)

    พอใช้ (2 )

    ปรับปรุง(1)

    1. เกิดความพัฒนาในด้านการเรียนรู้

    คะแนนระหว่าง 10 - 15 ระดับ 3

    2. กล้าแสดงออกในความเป็นผู้นำ

    คะแนนระหว่าง 5 - 9 ระดับ 2

    3. เกิดความรู้ความเข้าใจในกิจกรรม

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    4. นำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในชีวิต

    ประจำวัน

    5.เกิดความภูมิใจและชื่นชมผลงานของ

    ตนเองและผู้อื่น

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

     

    กิจกรรมแนะแนว ช่วงชั้น 1 – 2

    1. ชื่อกิจกรรม “ความสามารถของฉัน”

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูประไพ ทองพัฒน์

    3. จุดประสงค์

      1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
      2. เพื่อให้นักเรียนยอมรับความสามารถของตนเอง
      3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง

    4. วิธีดำเนินการ

    ขั้นเตรียม

      1. แจกกระดาษ และสีเมจิก
      2. เขียนหรือวาดภาพแสดงบอกถึงความสามารถของตน

    ขั้นดำเนินการ

      1. ให้ผู้เรียน สำรวจตนเองว่าตนเองมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง
      2. แจกใบงาน เขียนแสดงความสามารถของตน ลงในกระดาษ
      3. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงาน

    ขั้นสรุป

      1. ครูและนักเรียนร่วมกันติชมผลงานของนักเรียน
      2. สอบถาม ความรู้สึกถึงความสามารถของการเขียนผลงาน
      3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการทำกิจกรรมที่แสดงถึงความสามารถของตน

    5. การวัดและประเมินผลงาน

    วิธีประเมิน

      1. สังเกตจากการตอบคำถามบอกแสดงถึงความสามารถ
      2. สังเกตจากการบอกถึงความรู้สึก
      3. สังเกตจาการสรุปข้อคิด
      4. ตรวจผลงาน

    6. เครื่องมือประเมิน

    1. เกณฑ์การประเมิน

    แบ่งเกณฑ์ประเมินเป็น 3 ระดับ

    ดีมาก = 3

    พอใช้ = 2

    ปรับปรุง = 1

    หลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ช่วงชั้น 1 –2

    กิจกรรม / การตัดสินใจและแก้ปัญหา

    หัวข้อเนื้อหา

    “ความสามารถของฉัน”

    1. การตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองและแก้ปัญหาง่าย ๆ
    2. เข้าร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว และโรงเรียน
    3. กำหนดวางแผน เป้าหมาย ในการดำเนินการ
    4. บอกทางเลือกในการแก้ปัญหา
    5. แนวทางที่นำไปปฏิบัติตามการเลือกที่ตัดสิน

    แบบประเมินกิจกรรมแนะแนวความสามารถของฉัน

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี

    พอใช้

    ปรับปรุง

    1. นักเรียนรู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา

    ด้วยตนเอง

    คะแนนระหว่าง 10 - 15 ระดับ 3

    2. นักเรียนยอมรับความสามารถของ

    ตนเอง

    คะแนนระหว่าง 5 - 9 ระดับ 2

    3. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในความ

    สามารถของตนเอง

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมแนะแนว ช่วงชั้นที่ 1 – 2

    1. ชื่อกิจกรรม “ร่วมด้วย ช่วยกัน”

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูเสาวลักษณ์ พลารชุน

    3. วัตถุประสงค์

      1. เพื่อให้ผู้เรียน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
      2. เพื่อให้รู้จัก การปฏิบัติตามคำสั่ง
      3. เพื่อให้ผู้เรียน กล้าแสดงออกในความรู้สึกนึกคิด

    4. วิธีดำเนินการ

    ขั้นเตรียม

      1. แจกใบงาน
      2. ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันเขียนกฎระเบียบ ของบ้าน โรงเรียน ชุมชน
      3. นำผลงานเสนอหน้าชั้นเรียน

    ขั้นสรุป

      1. ครูสอบถามนักเรียนถึงการปรับตัวและการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบ
      2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงผลดีของการปฏิบัติตนเข้ากับสังคมและผลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

    5. การวัดและประเมินผล

    วิธีประเมินผล

      1. การสังเกตจากความสนใจและการเข้าร่วมกิจกรรม
      2. การสังเกตจากการอภิปรายสรุปข้อคิดจากบทเรียน
      3. ตรวจผลงาน การเขียนกฎระเบียบ
    1. เครื่องมือประเมิน
      1. แบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียน
      2. แบบสอบถาม
      3. แบบประเมินผลงาน
    1. เกณฑ์การประเมิน

    แบ่งเป็น 3 ระดับ

    ระดับ 3 ดีมาก

    ระดับ 2 พอใช้

    ระดับ 1 ปรับปรุงแก้ไข


    หลักสูตรกิจกรรมแนะแนว

    “ร่วมด้วย ช่วยกัน”

    กลุ่มกิจกรรม

    การปรับตัวและดำรงชีวิต

    หัวข้อเนื้อหา

    “ร่วมด้วย ช่วยกัน”

    1. การยอมรับความรู้สึกความต้องการของผู้อื่น
    2. การปฏิบัติตามคำสั่งขอร้องของครู ผู้ปกครอง
    3. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของบ้าน โรงเรียน และชุมชน
    4. การแลกเปลี่ยน ความรู้คิดเห็นของกลุ่ม
    5. สามารถสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้

    แบบประเมินกิจกรรมแนะแนว “ร่วมด้วย ช่วยกัน”

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี (3)

    พอใช้(2)

    ปรับปรุง(1)

    1. เกิดทักษะในด้านการเรียนรู้

    คะแนนระหว่าง 10 - 15 ระดับ 3

    2. กล้าแสดงออกเป็นผู้นำ

    คะแนนระหว่าง 5 - 9 ระดับ 2

    3. เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดี

    ในการเข้าร่วมกิจกรรม

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    4. เกิดความสามัคคี มีความสนุกสนาน

     

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมแนะแนว ช่วงชั้นที่ 2

    1. ชื่อกิจกรรม “แสวงหาความรู้สู่อนาคต”

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูบุญเรือน พงษ์ปรีชา

    3. จุดประสงค์

      1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยวิธีหลากหลาย
      2. มีความสามารถในการเลือกและใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

    4. วิธีดำเนินการ

    ขั้นเตรียมการ

      1. กระดาษ
      2. ข้อมูล
      3. แหล่งความรู้

    ขั้นดำเนินกิจกรรม

      1. ให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ตามข้อมูลที่

    กำหนด

      1. จดบันทึกข้อมูล
      2. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

    ขั้นสรุป 4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปข้อคิดจากการค้นคว้า

    5. การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรม
      2. ซักถาม โดยการถามตอบ
      3. ตรวจผลงาน

    1. เครื่องมือประเมิน

    7. เกณฑ์การประเมิน

    ดีมาก = 3

    พอใช้ = 2

    ปรับปรุง = 1

    หลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ช่วงชั้น 2

    กิจกรรม

    การแสวงหาและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ

    หัวข้อเนื้อหา

    “แสวงหาความรู้สู่อนาคต”

    1. ค้นหา รวบรวมข้อมูล จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
    2. แสวงหาข้อมูลจากบุคคล สถานที่และจากสื่อเทคโนโลยี
    3. จำแนกข้อมูลของข่าวประเภทต่างๆ
    4. เขียน สรุป ข้อมูล ข่าวสาร และนำไปเผยแพร่
    5. เลือกและใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์

    แบบประเมินกิจกรรม แสวงหาความรู้สู่อนาคต

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี

    พอใช้

    ปรับปรุง

    1. สามารถค้นหารวบรวมข่าวสารจาก
    2. แหล่งต่าง ๆ ได้

    คะแนนระหว่าง 8 – 10 ระดับ 3

  • สามารถแยกประเภทของข้อมูลและ
  • เขียนสรุปได้

    คะแนนระหว่าง 5 – 7 ระดับ 2

  • การเลือกใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  • คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1

    1. ชื่อกิจกรรม ลูกเสือ เนตรนารี

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูบุษกร สาเรือง

    ครูบุญเรือน หานุสิงห์ และคณะ

    3. จุดประสงค์

      1. มีความรู้ เกี่ยวกับขบวนการ ลูกเสือ – เนตรนารี
      2. ฝึกปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารีได้
      3. พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือตนเองได้
      4. มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

    4. วิธีดำเนินงาน

    4.1 1. ขออนุมัติ กิจกรรม

    2. ประชุมวางแผน

    3. แบ่งกลุ่มหน้าที่รับผิดชอบ

    4. เตรียมสื่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

    4.2 ขั้นดำเนินการ

      1. ชี้แจงระเบียบรายละเอียด
      2. ปฏิบัติตามขั้นตอนและระยะเวลา
      3. สรุป ประเมินผล (นักเรียน – ครูร่วมกันประเมิน)

    5. การวัดผลประเมินผล

      1. 1. สังเกตการร่วมกิจกรรม

    2. สัมภาษณ์

    3. การเล่าเรื่องประสบการณ์

    4. การตอบคำถาม

    5.2 เครื่องมือประเมิน

    ให้ประเมินจาก 1. แบบสังเกต

    2. แบบสอบถาม

    5.3 เกณฑ์การประเมิน

    - ความรับผิดชอบ

    - การร่วมกิจกรรม

    แบบประเมินกิจกรรมเยาวชน ลูกเสือ – เนตรนารี

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี

    พอใช้

    ปรับปรุง

    1. การทำความเคารพ
    2. คติพจน์ของลูกเสือ

    คะแนนระหว่าง 1-12

  • ปฏิบัติตามระเบียบแถว
  • กฎของลูกเสือ
  • คะแนนระหว่าง 5-8 ได้เกรด 2

  • ความรักชาติศาสนา พระมหากษัตริย์
  • 6. เล่าเรื่องสั้นมีคติธรรม

    คะแนนต่ำกว่า 5 ได้เกรด 1

    7. การปลูก ดู แลรักษาต้นไม้

     

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมนักเรียน (ช่วงชั้นที่ 2)

    1. ชื่อกิจกรรม ลูกเสือ – เนตรนารี (ช่วงชั้นที่ 2 )

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูบุญเรือน หานุสิงห์

    ครูบุษกร สาเรือง

    ครูวิไลลักษณ์ เหนี่ยวผึ้ง

    3. จุดประสงค์

      1. มีความรู้เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือ – เนตรนารี (ลูกเสือสำรอง)
      2. ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางลูกเสือ – เนตรนารีได้
      3. พึ่งตนเอง ประหยัด อดออม
      4. มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

    4. วิธีดำเนินงาน

    4.1 1. ขออนุมัติกิจกรรม

      1. ประชุมวางแผน
      2. แบ่งกลุ่มหน้าที่ความรับผิดชอบ
      3. เตรียมสื่อ อุปกรณ์ ต่าง ๆ

    4.2 ขั้นดำเนินการ

      1. ชี้แจงระเบียบรายละเอียด
      2. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนทั้งกลุ่มและเดี่ยว
      3. สรุปประเมินผล (ครูนักเรียนช่วยกันประเมิน)

    5. การวัดประเมินผล

        1. 1. สังเกต การร่วมกิจกรรม

    2. สัมภาษณ์

    3. การเล่าเรื่องจากประสบการณ์

    4. การตอบคำถาม

    5.2 เครื่องมือประเมิน

      1. แบบสังเกต
      2. แบบสอบถาม

    5.3 เกณฑ์การประเมิน

    แบบประเมินกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ – เนตรนารี ช่วงชั้นที่ 2

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี 3

    พอใช้ 2

    ปรับปรุง 1

    1. ปฏิบัติตนตามระเบียบแถวทำมือ

    เมล่า ท่าถือพลอง

    คะแนนระหว่าง 1-12

    2. ปฏิบัติตามกฎและคำปฏิญาณ

    คะแนนระหว่าง 5 – 8 เกรด 2

    3. ท่องคำปฏิญาณ กฎและคติพจน์ได้

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    4. การทำความเคารพและแสดงรหัส

    การจับมือซ้าย

    5. เล่าเรื่องสั้นที่มีประโยชน์

    6. การผูกเงื่อน

    7. การประดิษฐ์สิ่งของ (ว่าว)

    8. การปลูกต้นไม้

    9. การปั้น แกะสลัก

    10. การเลี้ยงสัตว์ (สัตว์เลี้ยง)

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2

    1. ชื่อกิจกรรม สัมมา - ภาษาพาสนุก

    2. ผู้รับผิดชอบ บุญเกิด และคณะ (สมพร , เพชรา , บุษกร ,บุญเรือน)

    3. จุดประสงค์

      1. เพื่อให้เกิดทักษะทางภาษา
      2. เพื่อให้นำภาษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
      3. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
      4. เพื่อให้เกิดความสนใจและร่วมกิจกรรม
      5. เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

    4. วิธีดำเนินกิจกรรม

    4.1 ขั้นเตรียม

      1. ขออนุมัติกิจกรรม
      2. ประชุมวางแผนและกำหนดวัด เวลาในการจัดกิจกรม
      3. แบ่งงานผู้รับผิดชอบ
      4. เตรียมสื่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

    4.2 ขั้นดำเนินการ

      1. ประกาศรับสมัคร
      2. คัดเลือกนักเรียนและแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม
      3. ชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรม
      4. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนและตามระยะเวลาที่กำหนด

    4.3 สรุปและประเมินผล

    ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลจากการปฏิบัติกิจกรรม

    5. การวัดและประเมินผล

      1. การตอบคำถามของนักเรียน
      2. การสัมภาษณ์
      3. การตอบแบบสอบถาม
      4. การเล่าเรื่องจากประสบการณ์
      5. การออกเสียงคำและประโยค
      6. การร่วมกิจกรรมของนักเรียน
      7. การแสดงออกเกี่ยวกับกิจกรรม

    เครื่องมือประเมิน 4 ระดับ

      1. ปรับปรุง
      2. พอใช้
      3. ดี
      4. ดีมาก

    เกณฑ์การประเมิน

    ตั้งแต่ 1 ขึ้นไป ผ่าน

    แบบประเมินกิจกรรม สัมมา ภาษาพาสนุก

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี 3

    พอใช้ 2

    ปรับปรุง 1

    1. เกิดทักษะทางภาษา

    คะแนนระหว่าง 10 – 15 ระดับ 3

    2. นำภาษาไปใช้ในชีวิตประจำวัน

    คะแนนระหว่าง 5 – 9 ระดับ

    3. เกิดความคิดสร้างสรรค์

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    4. เกิดความสนใจ และร่วมกิจกรรม

    5. เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 และ 2

    1. ชื่อกิจกรรม เยาวชน – พุทธมามกะ

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูกิติมาศ และคณะ

    (ครูชลอ , ครูประไพ , ครูบุญเรือน (หา) , ครูบุญเรือน (พงษ์) , ครูบุญเกิด

    3. จุดประสงค์

      1. เพื่อให้เกิดความพร้อมในการร่วมกิจกรรม ทางพระพุทธศาสนา
      2. เพื่อให้มีความรู้และเกิดทักษะในการปฏิบัติตนตามหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนา
      3. เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการร่วมกิจกรรม
      4. เพื่อให้นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

    5. วิธีการดำเนินงาน

    4.1 ขั้นเตรียม

      1. ขออนุมัติกิจกรรม
      2. ประชุมวางแผน – กำหนดวัด – เวลา
      3. แบ่งงานผู้รับผิดชอบ
      4. เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ

    4.2 ขั้นดำเนินการ

      1. ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรม
      2. แบ่งกลุ่มนักเรียนเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรม
      3. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด

    4.3 สรุปและประเมินผล

    ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรมที่ปฏิบัติ

    5. การวัดและการประเมิน

      1. สังเกตความพร้อมในการร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
      2. การนำเสนอต่อสาธารณชน
      3. การปฏิบัติคนเป็นผู้นำและผู้ตาม

    เครื่องมือ 3 ระดับ เกณฑ์ ตั้งแต่ 1 ขึ้นไป

    ปรับปรุง 0 – 4 คะแนน

    พอใช้ 5 – 8 คะแนน

    ดี 9 – 12 คะแนน

    แบบประเมินกิจกรรม เยาวชน พุทธมามกะ

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี (3)

    พอใช้(2)

    ปรับปรุง (1)

    1. ความพร้อมในการร่วมกิจกรรมทาง
    2. พระพุทธศาสนา

    คะแนนระหว่าง 9 – 12 ระดับ 3

  • มีความรู้ และเกิดทักษะในการ
  • ปฏิบัติตนตามหลักปฏิบัติของ

    พระพุทธศาสนา

    คะแนนระหว่าง 5 – 8 ระดับ

    3. เกิดเจตคติที่ดีต่อการร่วมกิจกรรม

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    4. นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 – 2

    1. ชื่อกิจกรรม นักประดิษฐ์

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูสมพร ครุฑศรัทธา และคณะ ครูบุญเกิด , ครูเพชรา

    3. จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

    2. เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

    3. เพื่อให้เกิดผลงานที่สวยงามและเรียบร้อย

    4. เพื่อให้นำผลงานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    4. วิธีดำเนินการ

    ขั้นเตรียม

      1. ขออนุมัติกิจกรรม
      2. ประชุมวางแผน – กำหนดวันเวลา
      3. แบ่งงานให้ผู้รับผิดชอบ
      4. เตรียมสื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ

    ขั้นดำเนินการ

      1. แบ่งกลุ่มนักเรียน
      2. ชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรม
      3. เตรียมอุปกรณ์การปฏิบัติกิจกรรม
      4. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด

    สรุปผลและประเมินผล

    1. ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลจากการปฏิบัติกิจกรรม

    การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตการประดิษฐ์ผลงาน
      2. การตอบคำถามเกี่ยวกับการประดิษฐ์
      3. การนำเสนอและสาธิตขั้นตอนการประดิษฐ์
      4. ตรวจผลงานการประดิษฐ์

    เครื่องมือประเมิน 4 ระดับ เกณฑ์การประเมิน

      1. ปรับปรุง ตั้งแต่ 1 ขึ้นไป ผ่าน
      2. พอใช้
      3. ดี
      4. ดีมาก

    แบบประเมินกิจกรรม นักประดิษฐ์

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี (3)

    พอใช้(2)

    ปรับปรุง (1)

    1. เกิดความคิดสร้างสรรค์

    คะแนนระหว่าง 9 – 12 ระดับ 3

    2. เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

    คะแนนระหว่าง 5 – 8 ระดับ

    3. เกิดผลงานที่สวยงามและเรียบร้อย

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    4. นำผลงานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 และ 2

    1. ชื่อกิจกรรม ศิลปะ – ดนตรี

    2. ผู้รับผิดชอบ เพชรา และคณะ (พรสวรรค์ , ชมเดือน)

    3. จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน

    2. เพื่อให้เกิดทักษะและจินตนาการในการเรียนรู้

    3. เพื่อให้นำเสนอผลงานและเกิดความภาคภูมิใจ

    4. วิธีดำเนินการ

        1. ขั้นเตรียม
      1. ขออนุมัติกิจกรรม
      2. ประชุมวางแผน – กำหนดวันเวลาในการจัดกิจกรรม
      3. แบ่งงานให้ผู้รับผิดชอบ
      4. เตรียมสื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ

    4.2 ขั้นดำเนินการ

      1. แบ่งเป็นกลุ่มงาน
      2. ชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรม
      3. เตรียมอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม
      4. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน และตามระยะเวลาที่กำหนด

    4.3 สรุปและประเมินผล

    ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลจากการปฏิบัติกิจกรรม

    5. การวัดและประเมินผล

      1. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรม
      2. ตรวจผลงานทางศิลปะ
      3. สังเกตการแสดงออกทางดนตรี
      4. การจัดนิทรรศการแสดงผลงานและการประกวดนอกสถานที่

    เครื่องมือประเมิน 4 ระดับ เกณฑ์การประเมิน

      1. ปรับปรุง ตั้งแต่ 1 ขึ้นไป ผ่าน
      2. พอใช้
      3. ดี
      4. ดีมาก

    แบบประเมินกิจกรรม ศิลปะ – ดนตรี

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี (3)

    พอใช้(2)

    ปรับปรุง (1)

    1. มีทักษะและจินตนาการในการ

    เรียนรู้

    คะแนนระหว่าง 10 - 15 ระดับ 3

    2. เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน

    คะแนนระหว่าง 5 – 9 ระดับ 2

    3. นำเสนอผลงานและเกิดความภาค

    ภูมิใจ

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ

    กิจกรรมนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2

    1. ชื่อกิจกรรม โภชนาการ

    2. ผู้รับผิดชอบ ครูประไพ ทองพัฒน์ , ครูเสาวลักษณ์ และคณะ

    3. จุดประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจทักษะต่างๆ ในการประกอบอาหาร

    2. เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสกับอุปกรณ์การประกอบอาหาร

    3. เพื่อให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    4. วิธีดำเนินการ

    ขั้นเตรียม

      1. ขออนุมัติกิจกรรม
      2. ประชุมวางแผน
      3. แบ่งงานให้ผู้รับผิดชอบ
      4. เตรียมสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ

    ขั้นดำเนินการ

      1. ประกาศรับสมัคร
      2. คัดเลือกนักเรียนและแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม
      3. ชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรม
      4. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนและตามระยะเวลาที่กำหนด

    ขั้นสรุปและประเมินผล

    ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลจากการปฏิบัติกิจกรรม

    5. การวัดและประเมินผล

      1. จากการปฏิบัติจริง
      2. ตรวจสอบผลงานของนักเรียน
      3. ความร่วมมือและความสามัคคีในหมู่คณะ

    เครื่องมือประเมิน 4 ระดับ เกณฑ์การประเมิน

    ระดับ 0 ปรับปรุง ตั้งแต่ 1 ขึ้นไปผ่าน

    ระดับ 1 พอใช้

    ระดับ 2 ดี

    ระดับ 3 ดีมาก

    แบบประเมินกิจกรรม โภชนาการ

    ชื่อ -นามสกุล…………………………………………………………………ชั้น………………………………

    ผู้ประเมิน ครู

    นักเรียน

    รายการพฤติกรรม

    ระดับเกณฑ์การประเมิน

    เกณฑ์การประเมิน

    ดี (3)

    พอใช้(2)

    ปรับปรุง (1)

    1. เข้าใจทักษะต่าง ๆ ในการประกอบ
    2. อาหาร

    คะแนนระหว่าง 9-12 ระดับ 3

  • การสัมผัสและรู้จักอุปกรณ์การ
  • ประกอบอาหาร

    คะแนนระหว่าง 5 – 8 ระดับ 2

  • ปฏิบัติตามขั้นตอนของการ
  • ประกอบอาหาร

    คะแนนต่ำกว่า 5 ระดับ 1

    4. นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    สรุปผลการประเมิน

    ดี พอใช้ ปรับปรุง

    กลับสารบัญ